Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จับตาอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 66 วงเงิน 3.18 ล้านล้านบาท นายกฯ มั่นใจตอบได้ทุกคำถาม ย้ำคณะรัฐมนตรีร่วมอภิปรายเตรียมพร้อมชี้แจง

วันที่ 31 พ.ค. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เดินทางมาถึงรัฐสภา เพื่อชี้แจงร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ระหว่างวันที่ 31 พ.ค. – 2 มิ.ย.นี้ โดยมีรัฐมนตรี และส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐให้การต้อนรับ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์ กำชับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เข้าร่วมรับฟังการอภิปราย รวมถึงเตรียมความพร้อมต่อการตอบคำถามและชี้แจงทุกข้อสงสัยให้กระจ่างชัดเจน ให้ประชาชนคลายความกังวล โดยเฉพาะงบประมาณของกระทรวงต่าง ๆ ต้องมีคำตอบสร้างความเข้าใจต่อประชาชนให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ มั่นใจรัฐบาลสามารถตอบทุกข้อซักถามด้วยข้อเท็จจริง ประชาชนที่ติดตามการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ ยังจะได้ทราบแนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาล รวมทั้งโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ด้วย

ขอความร่วมมือฝ่ายค้านให้อภิปรายอย่างสร้างสรรค์ อย่าหวังเพียงแค่ผลประโยชน์ทางการเมือง นายกรัฐมนตรีย้ำว่าภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบัน รัฐบาลมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทำงบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และขอให้ประชาชนมั่นใจว่า งบประมาณจะถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ถือเป็นโอกาสสำคัญที่นายกรัฐมนตรีจะได้ชี้แจงถึงความจำเป็นและแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย แผนงานโครงการต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และแก้ไขปัญหาสืบเนื่องจากความท้าทายต่าง ๆ โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในช่วงหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งครอบคลุมด้านความมั่นคง การสร้างความสามารถทางการแข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ วงเงินงบประมาณรวม 3.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 78.2% และรายจ่ายลงทุน 21.8%

สำหรับการดำเนินการของปี 2566 รัฐบาลได้กำหนดแผนงาน/โครงการที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า งบประมาณรวม 2.7 แสนล้านบาท เกี่ยวข้อง 14 กระทรวง 265 โครงการ มีเป้าหมายคนจนในประเทศไทยลดลงอย่างยั่งยืน แบ่งเป็น 5 ด้าน ตัวอย่างของแต่ละด้าน มีเป้าหมายดังนี้

1) ด้านรายได้ งบประมาณ 1.73 แสนล้านบาท อาทิ การช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความยากลำบาก ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.4 ล้านคน คนพิการไม่น้อยกว่า 2.09 ล้านคน เด็กเล็ก 2.58 ล้านคน ผู้ป่วยเอดส์ 8.8 แสนคน ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร เพิ่มพื้นที่ชลประทานแก่เกษตรกร เป็นต้น

2) ด้านการศึกษา งบประมาณ 1.81 หมื่นล้านบาท อาทิ การสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ 2.62 ล้านคน ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6.6 แสนคน เป็นต้น

3) ด้านสุขภาพ งบประมาณ 7.01 หมื่นล้านบาท อาทิ การดูแลค่ารักษาผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 13.45 ล้านคน ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสถานพยาบาล 494 แห่ง

4) ด้านความเป็นอยู่ งบประมาณ 7.16 พันล้านบาท อาทิ จัดที่ดินทำกินแก่ประชาชนที่ยากจน ขยายการเข้าถึงน้ำประปาเพิ่ม 2 แสนครัวเรือน ส่งเสริมโอกาสให้คนจนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

5) ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ 2.16 พันล้านบาท อาทิ คุ้มครองผู้ประสบภัยทางสังคม แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ สนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนผ่านกองทุนสวัสดิการชุมชน

รองโฆษกรัฐบาล เชิญชวนประชาชนติดตามการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ เพื่อจะได้ทราบแนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาล รวมทั้งโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ เป็นโอกาสการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจสอบของภาคประชาชน อีกทั้ง งบประมาณรายจ่ายนี้เป็นงบที่ใช้ดูแลคนไทยทั้งประเทศภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ รัฐบาลจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การติติงและข้อเสนอจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การใช้งบประมาณอันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดของบ้านเมือง

ติดตามถ่ายทอดสด https://fb.watch/dlgj6sORWn/

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า