Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์ภัยแล้งพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำยมยังคงรุนแรง ล่าสุดอ่างเก็บน้ำหนองคลองล้น อำเภอเมืองอ่างทอง แห้งขอดในรอบ 25 ปี ขณะชาวนาต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการขุดน้ำบาดาลมาหล่อเลี้ยงต้นข้าว

วันที่ 7 ม.ค.2563 พื้นที่กว่า 100 ไร่ของอ่างเก็บน้ำหนองคลองล้น หมู่ที่ 8 ตำบลโพสะ อำเภอเมืองอ่างทอง อยู่ในสภาพน้ำแห้งขอดจนดินแตกระแหง ส่งผลให้กับชาวตำบลหัวไผ่ ตำบลบ้านอิฐ และ ตำบลโพสะ อำเภอเมืองอ่างทอง หลายร้อยครัวเรือนที่ใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำดังกล่าวอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ชาวบ้านบอกว่าตั้งแต่เกิดมาจนอายุป่านนี้เพิ่งเห็นหนองคลองล้นแห้งไม่มีน้ำมาสองครั้ง แต่ครั้งนี้ถือว่ารุนแรงที่สุด และเดือดร้อนกันหมด สาเหตุเพราะชลประทานไม่ปล่อยน้ำเข้ามาในหนองคลองล้น ทำให้น้ำแห้ง ชาวนาชาวสวนต้องเร่งเจาะบ่อบาดาลเพื่อช่วยเหลือตัวเองไม่ให้พืชที่ปลูกไว้เสียหาย ถือว่าแล้งสุดในรอบ 25 ปี น้ำเริ่มไม่มีตั้งแต่ตุลาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งปกติประมาณต้นเดือนมกราคมชลประทานจะปิดน้ำ แต่ปีนี้ไม่มีเลย ชาวนาหลายคนที่ทำนาไปแล้วต้องหาแหล่งน้ำมาช่วยเหลือตัวเอง

ขณะที่ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยายังลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดสถานีชลมาตร C7A สำนักชลประทานที่ 12 บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง อยู่ที่ 0.64 เมตร จากระดับตลิ่ง 10 เมตร

ส่วนที่ จ.พิจิตร แม่น้ำยมที่ไหลผ่านที่บริเวณบ้านวังเทโพ ตำวังจิก อำโพธิ์ประทับช้าง แห้งจนเห็นผืนทรายในท้องแม่น้ำยม ภาพของแม่น้ำยมเมื่อมองบนพื้นราบคล้ายใกล้เคียงกับทะเลทรายเนื่องจากมองเห็นท้องแม่น้ำที่เป็นผืนทรายเป็นทางยาวตลอดทั้งลำน้ำ โดยเฉพาะในช่วงกลาง ผืนทรายจะร้อนจัดคล้ายกับทะเลทราย  ส่งผลกระทบระบบนิเวศน์ในพื้นที่แม่น้ำโดยเฉพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และส่งผลกระทบกับเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนาที่ไม่มีน้ำต้นทุนในการทำการเกษตร

สำหรับแม่น้ำยมไหลผ่านพื้นที่ 4 อำเภอของ จังหวัดพิจิตร ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอบึงนาราง และ อำเภอโพทะเล ความยาว 127 กม. และจากสถานการณ์แม่น้ำยมที่ลดระดับและแห้งขอด ส่งผลกระทบระบบนิเวศน์และเกษตรกร เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุนในการทำการเกษตร โดยเฉพาะนาข้าวที่ยังมีการลงมือเพาะปลูกตลอดทั้งสองฝั่งแม่น้ำยม รวมไปถึงน้ำในการอุปโภค และระบบนิเวศสัตว์น้ำที่จะขาดที่อยู่อาศัยจากน้ำที่แห้งขอด

ปภ.รายงาน 14 จังหวัดประสบภัยพิบัติแล้ว เร่งแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคต่อเนื่อง

ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครราชสีมา และอุตรดิตถ์ รวม 69 อำเภอ 420 ตำบล 3,785 หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่ง ปภ.ได้จัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน พร้อมกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำที่เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ รวมถึงขอความร่วมมือประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 14 จังหวัด รวม 69 อำเภอ 420 ตำบล 3,785 หมู่บ้าน/ชุมชน แยกเป็น ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ รวม 22 อำเภอ 125 ตำบล 965 หมู่บ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และนครราชสีมา รวม 31 อำเภอ 215 ตำบล 2,151 หมู่บ้าน 20 ชุมชน ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และอุทัยธานี รวม 16 อำเภอ 80 ตำบล 649 หมู่บ้าน

ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยสนับสนุนการแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประสานจังหวัดเตรียมพร้อมแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้วยการจัดชุดปฏิบัติการสำรวจข้อมูลสถานการณ์น้ำ ข้อมูลแหล่งน้ำและประมาณการใช้น้ำในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ โดยแยกเป็น น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงสำรวจและจัดทำบัญชีแหล่งน้ำ ควบคู่กับการปรับปรุงบัญชีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งให้เป็นปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้ตรวจสอบภาชนะกักเก็บน้ำให้ใช้การได้เพียงพอ พร้อมกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคที่เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ ตลอดจนรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนเกษตรกรให้ปรับวิถีทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้ง

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า