Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

6 ม.ค. 2565 เปิดรับสมัครวันแรก เลือกตั้งซ่อม ส.ส. กทม. เขต 9 เขตหลักสี่และเขตจตุจักร ยกเว้นแขวงจตุจักรและแขวงจอมพล แทน ‘สิระ เจนจาคะ’ ที่ศาลรัฐธรรมนูญให้พ้นจากตำแหน่ง ส.ส.

หลายพรรคใหญ่ เปิดตัว “ว่าที่ผู้สมัคร” คัดคนเด็ดๆ มาชิงคะแนนเสียงอย่างดุเดือด เหมือนประลองกำลังกันก่อนศึกใหญ่ ทั้งเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ เลือกตั้งใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นในปี 2565

พรรคก้าวไกล ส่ง กรุณพล เทียนสุวรรณ หรือ เพชร กรุณพล นักแสดงและพิธีกร วัย 45 ปี ที่สนใจและเคลื่อนไหวแสดงความเห็นเรื่องการเมืองในโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่องในรอบปีที่ผ่านมา โดยนี่เป็นการลงสนามเลือกตั้งครั้งแรก ‘เพชร กรุณพล’ จบการศึกษาปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พรรคกล้า ส่ง อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรค ที่มีฐานเสียงในเขตจตุจักร มาลงสนาม อรรถวิชช์ อายุ 43 ปี จบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท กฎหมายการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา

พรรคไทยภักดี ส่ง พันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชต์ CEO บริษัทร่วมทุนในหลายประเทศ วัย 43 ปี หน้าใหม่ทางการเมืองลงสนามเลือกตั้งครั้งแรก พันธุ์เทพ จบปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พรรคพลังประชารัฐ ส่ง สรัลรัศมิ์ เจนจาคะ ภรรยาของ สิระ เจนจาคะ วัย 50 ปี ลงรักษาเก้าอี้ ส.ส. ‘สรัลรัศมิ์’ จบปริญญาตรีและปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก และกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

พรรคเพื่อไทย ส่ง สุรชาติ เทียนทอง ผู้สมัครคนเดิมที่แพ้ สิระ เจนจาคะ ไปอย่างฉิวเฉียดจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ‘สุรชาติ’ เป็นลูกชายของ ‘เสนาะ เทียนทอง’ อายุ 42 ปี จบปริญญาตรี ด้านการเงินและการจัดการ แลพปริญญาโท สาขาผู้นำองค์กร มหาวิทยาลัยจอห์นสัน แอนด์ เวลส์ สหรัฐอเมริกา

พรรคไทยศรีวิไลย์ โดย มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ประกาศ ส่ง รุ่งโรจน์ อิบรอฮีม รองเลขาธิการพรรคไทยศรีวิไลย์ วัย 42 ปี  อดีตผู้เชี่ยวชาญประจำตัว นายพิเชษฐ สถิรชวาล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธรรมไทย ที่ล่าสุดเข้าสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ‘รุ่งโรจน์’ จบปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

สำหรับ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก็มีฐานเสียงเดิมจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ล่าสุด นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน ส.ส. และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ workpointTODAY ยืนยันแล้วว่า ไม่ส่งผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมหลักสี่ (อ่านเพิ่มเติมข่าวนี้ : ปชป. ไม่ส่งเลือกตั้งซ่อมหลักสี่ ‘องอาจ’ เผย เคลียร์ ‘ผู้การแต้ม’ เรียบร้อย เดินหน้าสนามเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. )

ก่อนหน้านี้ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีตผู้สมัคร ส.ส. เขตนี้ ที่แพ้การเลือกตั้งให้กับ ‘สิระ เจนจาคะ’ ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ในวันที่ 29 ธ.ค. 2564 ว่า นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และรองหัวหน้าพรรคที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ กทม. เป็นตัวแทนผู้ใหญ่ในพรรคมาบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องรักษามารยาททางการเมือง อย่างไรก็ตามกรรมการบริหารพรรคยังไม่ได้ประชุมว่าสุดท้ายแล้วจะส่งหรือไม่

“แต่เท่าที่คุยกับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็บอกว่า เราจะต้องคิดให้หนัก เพราะเราต้องรักษามารยาททางการเมืองต่อไป ถ้าเราไม่รักษาแล้วยื้อส่งไปมันก็ยุ่งหมด” พล.ต.ต.วิชัย กล่าว

นักวิชาการทางการเมือง วิเคราะห์ “เลือกซ่อม ส.ส. กทม. เขต 9”  คือการประลองยกแรกกำลังก่อนศึกใหญ่

นายวันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เป็นการประลองกำลังยกแรก เพราะยังไม่มีหลักประกันว่า จะมีการเลือกตั้งสนามใหญ่ๆ เกิดขึ้น ในเร็วๆ นี้ พรรคการเมืองต้องการทดสอบคะแนนเสียงของตัวเองเพื่อใช้ประเมินทำยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เท่ากับว่า อาจจะได้มาตรฐานใหม่ในการคัดกรองตัวบุคคล

พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีความได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกันไป เพราะพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง เมื่อปี 2562 ส่วนหนึ่งที่ชนะ มาจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้คะแนนเทมาที่พรรคพลังประชารัฐ แต่เวลาผ่านไป 2 ปีกว่า จะเห็นว่า นายสิระ เจนจาคะ ที่ชนะการเลือกตั้งมาไม่ได้ทำอะไรให้ประชาชนรู้สึกว่า เกิดประโยชน์ มีแต่เรื่องราวอื่นๆ เกิดขึ้นมากมาย ส่วนผู้แพ้จากพรรคเพื่อไทย คือ นายสุรชาติ เทียนทอง ยังลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง น้ำหนักเฉลี่ยจึงมาที่ทางเพื่อไทยน่าจะได้เปรียบ ดังนั้นเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้จะได้ทราบว่าคะแนนที่พรรคพลังประชารัฐได้รับครั้งที่แล้วนั้นแท้จริงแล้วมาจากฐานเสียงหรือไม่

ส่วนพรรคก้าวไกลที่วางตัว นายกรุณพล เทียนสุวรรณ ถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ที่ใช้ดาราคนมีชื่อเสียง ที่แสดงจุดยืนทางการเมืองในโซเชียลมีเดียมาตลอด ซึ่งอาจมองเห็นกลุ่มฐานคะแนนคนรุ่นใหม่ ที่อาจจะออกมาใช้สิทธิ์เป็นจำนวนมากขึ้น

ขณะที่นายอรรถวิทย์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า เคยเป็น ส.ส. เก่าในพื้นที่จตุจักร อาจเชื่อในคะแนนนิยมส่วนตัว และพรรคกล้าเองก็พยายามลงแข่งขันทุกสนามที่มีเปิด เพื่อเป็นการเปิดตัวพรรคให้เป็นที่รู้จัก

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังนิ่งในขณะนี้ เป็นไปได้ว่า ไม่พร้อมในการส่งผู้สมัคร เนื่องจากอดีตผู้สมัครเดิม คือได้ไปช่วยงานการเมือง ทำให้ร้างพื้นที่ และอาจจะรอหยั่งเชิงพรรคอื่นๆ ก่อน

ด้าน นายสติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า มองสอดคล้องกันว่าเป็นเหมือนสนามทดสอบการเลือกตั้งใน กทม. พรรคการเมืองจึงให้ความสนใจ ทดสอบว่า จะมีฐานเสียงเท่าใด เพราะการเลือกตั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ อาจจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ขณะที่พรรคเล็กๆ ที่ส่งผู้สมัครเป็นการหาพื้นที่ในสนามจริง เพราะถ้าไม่ลงเลยในอนาคตอาจไม่มีคนรู้จัก

ส่วนการหาเสียงเลือกตั้งในระยะเวลาสั้นๆ พรรคการเมืองอาจต้องเดินเข้าหาประชาชนแบบทั้งเคาะประตูบ้าน และใช้โซเชียลมีเดียไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากสังคมมีทั้งแบบปิดและแบบเปิด คืออยู่ทั้งในบ้านที่เคาะเรียกได้ ไปจนถึงคอนโดมิเนียมที่มีความเป็นส่วนตัว

แต่ยังคิดว่าคนที่ทำพื้นที่ต่อเนื่องน่าจะมีความได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะประชาชนเห็นผลงาน และการเลือกตั้งซ่อม ไม่ได้ใช้กระแสพรรคเป็นตัวตัดสินใจมากนัก เป็นเรื่องตัวบุคคลมากกว่า พร้อมกันนี้คาดว่าจะมีผู้ออกมาใช้สิทธิประมาณ 50-60% ไม่มากไม่น้อย เพราะผลเลือกตั้งไม่ว่าจะออกมาอย่างไร ไม่ได้สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวน ส.ส. จนทำให้เกิดผลกับการบริหารประเทศ แต่เป็นเรื่องการวัดฐานเสียงกันมากกว่า

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2564 อนุมัติให้มีร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 9 (เขตหลักสี่และเขตจตุจักร ยกเว้นแขวงจตุจักรและแขวงจอมพล) แทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายสิระ เจนจาคะ สิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ทำให้สมาชิกเขตนี้ว่างลง ต้องดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ทำแผนจัดการเลือกตั้ง โดยคาดว่าจะมีการจัดเลือกตั้งได้ในวันอาทิตย์ที่ 30 ม.ค. 2565

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า