Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“มีความรู้สึกว่าเราก็น่าจะมีโอกาสได้เปิด เราก็เลยเริ่มโพสต์ว่าเราลุ้นว่าเรากำลังจะเปิด พนักงานฉีดวัคซีนหมดแล้ว เตรียมมาตลอดเวลา แต่แล้วก็แห้วไป”

เสียงสะท้อนจาก พัณณิน กิติพราภรณ์ กรรมการผู้จัดการสวนสนุกดรีมเวิลด์ เล่าถึงความรู้สึกในมุมผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเปิดกิจการได้ เพียงเพราะไม่ได้อยู่ในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวอย่างกรุงเทพมหานคร

โดยหลังประเทศเกิดการรบาดโควิด-19 สวนสนุกดรีมเวิลด์ ปิดมา 2 ครั้ง รวมระยะเวลานานกว่า 10 เดือน ทั้งที่ไม่เคยพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่

“เมื่อปีที่แล้วเราก็ได้เปิดประมาณ 6 เดือน ปีนี้ก็ได้อีก 4 เดือน แล้วก็มาปิดตอนปลายเดือนเมษายน ปีที่แล้วเขาจะมีการติดตามไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อ เราเปิด 6 เดือน ก็มีคนมาเที่ยวระดับหนึ่ง เราก็ไม่ได้ไปอยู่ในไทม์ไลน์ของผู้ป่วย ของคนไหน อีกทั้งบางเครื่องเล่นเปิดเฉพาะที่ไม่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เราเลือกที่จะปิดหรือเราก็เลือกที่จะไม่มีพาเหรด เราก็คิดว่าเราปฏิบัติทุกอย่างที่เราควรจะทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการ” พัณณิน กล่าว

พัณณิน เล่าว่า ระหว่างที่ปิดทางสวนสนุก เตรียมพร้อมรอการเปิดมาตลอด ทั้งปรับปรุงสถานที่ ให้พนักงานฉีดวัคซีนจนครบ เพื่อรอคำสั่งเปิด ที่สำคัญยังต้องทำการคอยตรวจสอบเครื่องเล่น เปิดเครื่องให้มีการใช้งานอยู่สม่ำเสมอ เพื่อมาตรฐานความปลอดภัย ไม่ให้เกิดการเสื่อมสภาพ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ที่ต้องแบกรับ เช่น ค่าจ้างพนักงานที่ยังต้องจ่ายให้บางส่วนจากประกันสังคม นอกจากนี้ยังมีค่าไฟฟ้า ค่าดูแลอุปกรณ์ ค่าตกแต่งพื้นที่

“เรามีพนักงานประมาณ 400 ชีวิต คือในช่วงแรกเราก็อาจจะโชคดีที่รัฐบาลช่วยเรา ประกันสังคมก็ช่วยเรา หนึ่งเราไม่ได้ปลดพนักงานเลยในรอบนี้ สองเราก็ให้ประกันสังคมกับพนักงานแล้วก็เติมไปอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ว่าเราจะปิดเครื่องเล่น เราก็ต้องเข้ามาดูแลเขา เหมือนกับรถยนต์ เครื่องเล่นสวนสนุกมันไม่ได้แค่สตาร์ท มันต้องเข้าไปดูว่าตรงนั้นตรงนี้ เขาก็มีข้อกำหนดว่าเราต้องทำอะไรบ้าง เพื่อที่เมื่อเปิดมาแล้วเปิดได้เลย ค่าไฟ ปกติคนอื่นเขาก็คิดว่าเราไม่ต้องเสียค่าไฟเยอะ โดยเฉพาะเราจะต้องเก็บหิมะของเราไว้ หิมะนี่ค่าไฟเดือนหนึ่งก็มี 200,000 กว่า ปิดครั้งแรกเราเคยแล้ว ละลายหิมะ เพราะเราเสียดายค่าไฟ พอเปิดมาต้องทำหิมะใหม่หมด เสียไปเกือบ 2 ล้าน”

โดยเฉพาะในการเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ย. ที่ผ่านมาสวนสนุกดรีมเวิลด์ คิดว่าจะได้เปิดเหมือนสถานที่อื่น แต่กลับไม่มีคำสั่งออกมา

“สิ่งที่ทารุณเราอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เราไม่รู้จะเปิดหรือเปล่าไงคะ เขาจะอนุญาตไหม เราก็ต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเตรียมพร้อมตลอดเวลานี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายก้อนหนึ่งที่ถ้าเรารู้ว่าเขาไม่เปิด เราก็ไม่ต้องมาเสียก้อนนี้ ” พัณณิน กล่าว

พร้อมส่งเสียงสะท้อนถึงรัฐบาล ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ฟังเสียงผู้ประกอบการธุรกิจสวนสนุก ที่อาจจะเป็นเป็นธุรกิจเล็กๆ มีอยู่ไม่กี่ราย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า