Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน เอลนีโญเตรียมเข้าอาเซียนช่วงครึ่งปีหลังนี้ หลายฝ่ายคาดไทยแล้งหนัก เศรษฐกิจถดถอย และอาจประสบหมอกควันข้ามพรมแดนจากไฟป่าอาเซียน

เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา คนไทยประสบกับอากาศร้อนจัด โดยในวันที่ 15 เมษายน สถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยาจังหวัดตากวัดค่าอุณหภูมิสูงสุดได้ 44.6 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าสถิติที่สูงที่สุดนับตั้งแต่สถิติในปี 2559 และเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้ออกมาประกาศเตือนถึงปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทว่ายังไม่มีการคาดการณ์ถึงความรุนแรงและระยะเวลาของเอลนีโญ 

แม้ว่าในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 – กุมภาพันธ์ 2566  ภูมิภาคของเราเผชิญกับสภาวะลานีญา แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยนั้นดูเหมือนจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น เนื่องจากเราอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัดมาโดยตลอดดังจะเห็นได้จากสถิติอุณหภูมิสูงสุดที่เริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนของปี 2564 มาจนถึง 2566 

แล้วเอลนีโญและลานีญาคืออะไร?

เอลนีโญ (El Niño) คือ ปรากฏการณ์ที่กระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทาง โดยพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ไปยังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ซึ่งเอลนีโญจะส่งผลทำให้พื้นที่บริเวณทวีปเอเชียและทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียประสบกับสภาวะแห้งแล้ง ในขณะที่ทวีปอเมริกาใต้จะเกิดฝนตกชุก 

ในขณะที่ลานีญา (La Niña) คือ ปรากฏการณ์ที่กระแสลมที่ไหลพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ไปยังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเช่นเดิม หากแต่มีกำลังแรงมากกว่าปกติ ทำให้ภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคออสเตรเลียและโอเชียเนียจะเกิดฝนตกชุก ในขณะที่ทวีปอเมริกาใต้จะประสบปัญหาความแห้งแล้งแทน 

กรมอุตุนิยมวิทยาออกมาประเมินว่าไทยมีแนวโน้มจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมนี้ ซึ่งส่งผลให้ไทยอาจเผชิญปัญหาฝนทิ้งช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม และอาจทำให้ไทยประสบภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น 

จากปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ผลผลิตข้าวนาปีนั้นอาจลดลงอย่างน้อย 4.1-6% หรือคิดเป็น  25.1-25.6 ล้านต้น และถ้าหากเอลนีโญส่งผลกระทบร้ายแรงและยาวนานมากกว่าปกติ อาจทำให้ผลผลิตข้าวโดยรวมทั้งประเทศอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ให้ความเห็นว่าเอลนีโญอาจสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจถึง 36,000 ล้านบาท 

เอลนีโญไม่เพียงสร้างผลกระทบต่อประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น หากแต่อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นไฟป่าในอินโดนีเซียให้รุนแรงมากขึ้น จนเกิดหมอกควันมลพิษข้ามพรมแดน 

โดยศูนย์เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาเฉพาะทางอาเซียนประเมินว่า เอลนีโญในปีนี้จะทำให้แล้งหนักและนานกว่าที่เคยเป็น และอาจกระตุ้นให้เกิดหมอกควันข้ามพรมแดนในพื้นที่ของบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของไทยตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมนี้ 

ด้านรัฐมนตรีของอินโดนีเซียระบุกับผู้สื่อข่าวว่า ทางอินโดนีเซียได้เตรียมทำฝนเทียม ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอสำหรับการดับไฟป่าแล้ว ปัญหาหมอกควันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป 

ดังนั้น เราต้องมาจับตาดูกันว่า เอลนีโญในปีนี้จะทำให้เกิด ไฟป่าในอินโดนีเซียจริงหรือ แล้วไฟป่าจะทำให้เกิดหมอกควันข้ามพรมแดนอีกครั้งหรือไม่ เป็นสิ่งที่เรา ประชาชนต้องจับตาดูกันต่อไป

ที่มา: Gistda, KasikornResearch, PublicWMO , ChannelNewsAsia , PPTV


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม The World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาออนไลน์แบบ 1:1 ในวันที่ 25 มิ.ย. 2023

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ ทั้งเรื่องสภาพอากาศ รัสเซีย-ยูเครน ความเท่าเทียม ผู้อพยพ และประเด็นอื่นๆ

โดยระบบจะทำการจับคู่คุณกับคนที่มีแนวคิดไม่เหมือนกับคุณ ซึ่งอาจมาจากประเทศใดก็ได้ในโลก เพื่อที่จะได้มีโอกาสพูดคุยกันผ่านทางช่องทางออนไลน์

สำหรับกิจกรรม World Talks จะมีขึ้นในวันที่ 25 มิ.ย. 2023 ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกว่า 5,000 คน จากกว่า 100 ประเทศแล้ว

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite *คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า