Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พอใจ หลังผู้ประกอบการใช้สิทธิส่งออกทุเรียนด้วยเอฟทีเอมากเป็นอันดับต้น ดันส่งออกทุเรียนโตต่อเนื่อง ครองอันดับ 1 ของโลก เผยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ไทยส่งออกทุเรียนสดสู่ตลาดโลกถึง 817 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ตลาดจีนโตสูงสุด ขยายตัวถึง 70%

 

วันนี้ (23 ส.ค.62) นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า การส่งออกผลไม้ของไทยไปตลาดโลก พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ทุเรียนยังคงเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด โดยมีสัดส่วนการส่งออกทุเรียนสด คิดเป็นร้อยละ 44 ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมด และมีมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดของไทยสู่ตลาดโลกพุ่งถึง 817 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2561 ถึงร้อยละ 45 มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีนและอาเซียน ปัจจุบันไทยครองเป็นแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนได้เป็นอันดับที่ 1 ของโลก นำหน้าฮ่องกงและมาเลเซียกว่าเท่าตัว

 

นางอรมน กล่าวว่า ความตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ มีส่วนส่งเสริมให้การส่งออกทุเรียนของไทยเติบโตเพราะช่วยขจัดอุปสรรคภาษีนำเข้าในประเทศคู่ค้า ทำให้ทุเรียนไทยได้แต้มต่อจึงมีโอกาสในการส่งออกและแข่งขันมากขึ้น

ปัจจุบันทุเรียนของไทยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าใน 16 ประเทศคู่ค้าที่ไทยมีเอฟทีเอด้วย ได้แก่ จีน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ บรูไน อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 2 ประเทศ คือ มาเลเซียและเกาหลีใต้ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทย แต่ได้ปรับลดอัตราภาษีลง โดยมาเลเซียเก็บที่ร้อยละ 5 ขณะที่เกาหลีใต้ปรับภาษีนำเข้าลงจากร้อยละ 45 เหลือร้อยละ 36 ซึ่งสอดคล้องกับสถิติการใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอในการส่งออกปี 2561 และช่วงครึ่งปี 2562 ที่พบว่าทุเรียนเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการขอใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสูงมากเป็นอันดับต้น โดยเฉพาะในการส่งออกไปจีนและอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย สัดส่วนการส่งออกทุเรียนไปยังสองตลาดนี้ คิดเป็นร้อยละ 79 ของการส่งออกทุเรียนของไทยทั้งหมด

 

สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ไทยส่งทุเรียนไปจีนแล้วถึง 425 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ถึงร้อยละ 70 ส่วนตลาดอาเซียน ไทยส่งออกทุเรียนมูลค่า 219 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 19 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถิติมูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยในปี 2561 พบว่า การส่งออกทุเรียนไปจีน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41,840 เมื่อเทียบกับปี 2545 ซึ่งเป็นปีก่อนหน้าที่จีนยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ส่วนตลาดอาเซียนอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8,416 เมื่อเทียบกับปี 2535 ซึ่งเป็นปีก่อนที่อาเซียนจะลดภาษีนำเข้าทุเรียนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน

 

นางอรมน เสริมว่า ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ทำให้การค้าผลไม้มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากผลไม้สดแล้ว คาดการณ์ว่าตลาดผลไม้แปรรูปในลักษณะขนมขบเคี้ยว จะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน จึงเป็นโอกาสทองที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะเพิ่มรูปแบบสินค้าส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ทุเรียนแปรรูป เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอาหาร ทั้งนี้ เพื่อให้สินค้าทุเรียนของไทยครองความเป็นหนึ่งในตลาดอย่างยั่งยืน เกษตรกรและผู้ประกอบการควรรักษามาตรฐานสินค้าและพัฒนาคุณภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเพาะปลูก การบรรจุหีบห่อ และมีใบรับรองสุขอนามัยพืช รวมทั้งควรลดการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงเนื่องจากปัจจุบันตลาดในหลายประเทศมีความเข้มงวด ประกอบกับผู้บริโภคนิยมผลไม้ปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้ กรมฯ พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากความตกลงเอฟทีเอ กฎระเบียบทางการค้า มาตรการทางภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี  โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลอัตราภาษีศุลกากร กฎระเบียบทางการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศคู่เอฟทีเอ หรือข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับความตกลงการค้าเสรีได้ที่เว็บไซต์กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ http://ftacenter.dtn.go.th หรือศูนย์ FTA Center ชั้น 3 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โทร. 0 2507 7555

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า