Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมสรรพากรแนะขั้นตอนยื่นคำขอออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) รับมาตรการช้อปดีมีคืน 2566 ทั้งระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Tax Invoice by Email

ตามที่รัฐบาลได้ออกมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 แก่ประชาชน ซึ่งโครงการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 2566 โดยประชาชนที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยใช้ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ตามเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีนั้น

กรมสรรพากรแนะนำช่องทางสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีหน้าที่ออกใบ สามารถยื่นคำขอจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) เพื่อเข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืน 2566 ดังนี้

1.ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 

สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมีหน้าที่ออกใบรับ มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และมีระบบควบคุมภายในที่ดี โดยมีวิธีการสร้างส่งและเก็บรักษาข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งระบบนี้เหมาะกับการออกใบกำกับภาษีจำนวนมากและเป็นระบบบัญชีขนาดใหญ่ โดยเป็นการจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี รวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, PDF หรือ PDF/A-3 ที่ได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ส่วนการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต้องจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในรูปแบบ XML File ตามมาตรฐานเท่านั้น

ขั้นตอนการยื่นคำขอจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังนี้

1.เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th) เพื่อยื่นคำขอ

2.ดาวน์โหลดโปรแกรม Ultimate Sign & Viewer Free และติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์

3.เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่จัดเก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์กับเครื่องคอมพิวเตอร์

4.กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและตรวจสอบข้อมูล

5.ลงลายมือชื่อใน บ.อ.01 และข้อตกลง

6.ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งาน

7.ตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ บ.อ.01 ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร

2. ระบบ e-Tax Invoice by Email

สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ระบบนี้เหมาะกับการออกใบกำกับภาษีจำนวนน้อยและเป็นระบบบัญชีขนาดเล็กโดยเป็นการจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดในรูปแบบ PDF/A-3 มีข้อมูล XML ตามรูปแบบที่กำหนด รับรองเอกสารโดยการประทับรับรองเวลา (Times tamp) จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการผ่าน e-mail ส่วนการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ

ขั้นตอนการยื่นคำขอจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ระบบ e-Tax Invoice by Email มีดังนี้

1.เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th เพื่อยื่นคำขอ

2.กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและตรวจสอบข้อมูล พิมพ์เอกสาร ก.อ.01 เพื่อลงนาม

3.สแกน ก.อ.01 และเอกสารเกี่ยวข้องเพื่ออัปโหลดเอกสาร

4.กรมสรรพากรตรวจสอบความถูกต้องและจัดส่งเอกสารยืนยันทางไปรษณีย์ พร้อมรหัสยืนยัน (Activate Code)

5.ยืนยันตัวตนผ่านทางเว็บไซต์ และกำหนดรหัสผ่านภายใน 15 วันทำการ

6.แจ้งอีเมลที่ประสงค์จะใช้ในการส่งใบกำกับภาษีและใบรับ

7.ตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ ก.อ.01 ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร

ผู้ประกอบการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://etax.rd.go.th/ หรือสายด่วน โทร.1161

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า