Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดเผยผลการศึกษาภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้เพราะโควิด-19 “เด็กประถมต้น” มีพัฒนาการถดถอยเทียบเท่าอนุบาล และภาวะกล้ามเนื้อบกพร่อง หากไม่เร่งฟื้นฟู โอกาสล้มเหลวในอนาคตสูง เครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง กสศ. แนะแนวทางฟื้นฟูก่อนกลายเป็น Lost Generation

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. ชี้ว่า ในขณะที่สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 กำลังจะจบ ยังมีวิกฤตซึ่งเกิดจากผลกระทบในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งต้องเร่งรับมือและแก้ไข จากการศึกษาของ กสศ.พบว่า เรากำลังก้าวสู่ภาวะวิกฤตทางการเรียนรู้ และใน 1 ภาคเรียนที่ผ่านมาเราพบภาวะฉุกเฉินการเรียนรู้ที่เกิดกับเด็กทั้งประเทศ โดยเฉพาะเด็กช่วงชั้นประถมศึกษาตอนต้น เนื่องจากผลผลวิจัยสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (Thailand SchoolReadiness Survey: TSRS) เพื่อประเมินว่า เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อเข้าสู่ระดับประถมศึกษาหรือไม่

กสศ.ร่วมวิจัยกับ รศ. ดร.วีระชาติ กิเลนทอง สถาบันสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วัดทักษะพื้นฐานด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ และ Executive Functions (EFs) ของเด็กระดับอนุบาล 3 จำนวน 73 จังหวัด ระหว่างปี 2563 – 2565 พบว่า เด็กอนุบาล 3 ยุคโควิด-19 ขาดความพร้อมเข้าเรียนประถมต้นในปัจจุบัน ผลกระทบนี้ทำให้เด็กปฐมวัยรุ่นนี้ มีโอกาสเป็นเด็กหางแถวมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

“เด็กปฐมวัยที่มีภาวะการเรียนรู้ถดถอย มีโอกาสสูงที่จะประสบปัญหาการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา เพราะพวกเขาคือเด็กอนุบาลยุคโควิด-19 ที่ข้ามมาเรียนชั้นประถมต้นในปัจจุบัน ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมา การปิดเรียนแต่ละวันในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้เด็กปฐมวัย-อนุบาลเสียโอกาสในการเรียนรู้ไปกว่าร้อยละ 90 ของระดับการเรียนรู้ที่ควรจะได้ จึงส่งผลให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้ขึ้น ที่เด็กประถมต้นในวันนี้ มีพัฒนาการเท่าเด็กชั้นอนุบาล อย่างไรก็ตามแม้เด็กและเยาวชนได้รับผลกระทบจากการเรียนรู้ถดถอยทุกระดับชั้น แต่ช่วงประถมตอนต้นคือพื้นฐานสำคัญของการเรียน การอ่าน การคิดเลข ถ้าเริ่มต้นไม่ดี เรียนไม่รู้เรื่องตั้งแต่เล็ก โอกาสที่จะล้มเหลวในอนาคตสูง ด้วยพื้นฐานที่ไม่แข็งแรง ทำให้มีโอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาได้ ”

ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าวว่า สถานการณ์ฉุกเฉินนี้เกิดขึ้นทั่วโลก รายงานล่าสุดในการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 2022 ระบุว่า เด็กเล็กมากกว่า 167 ล้านคนทั่วโลกสูญเสียโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาก่อนปฐมวัย เด็กอายุ 10 ปีจากประเทศยากจนและรายได้ปานกลางไม่สามารถอ่านหนังสือหรือเข้าใจเรื่องราวง่ายๆ ได้ เพิ่มขึ้นจาก 53% เป็น 70% ขณะที่ 34% ของเด็กทั่วโลก มีภาวะความเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวลเพิ่มขึ้น นักการศึกษาทั่วโลกต่างเป็นห่วงกับสถานการณ์นี้ และพยายามกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ลงทุนในการแก้ปัญหาและมีแผนฟื้นฟูอย่างจริงจังโดยเร่งด่วน มิเช่นนั้นแล้ว เราอาจสูญเสียเด็กรุ่นนี้ไปทั้งรุ่น หรือ Lost Generation ”

ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพ ครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กสศ. กล่าวว่า โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง มุ่งปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนในเมืองกับชนบทที่มีช่องว่างของการเรียนรู้ห่างกันถึง 2 ปีการศึกษา โดยสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนให้มีขีดความสามารถสูงในการจัดการศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งจากข้อค้นพบดังกล่าว กสศ.โดยโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง เครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้วิจัยเชิงพื้นที่เพื่อหาแนวทางฟื้นฟูพัฒนาการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนที่ผ่านมา จำนวน 74 โรงเรียน ใน 6 จังหวัด ได้แก่ สตูล ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา และนราธิวาส พบว่า

การทดสอบวัดสมรรถภาพความแข็งแรงกล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1,918 คน ด้วยการวัดแรงบีบมือ นักเรียนจำนวน 98% มีแรงบีบมือต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในวัยเดียวกัน ผ่านเกณฑ์เพียง 1.19% เท่านั้น และมากกว่า 50% จับดินสอผิดวิธี ซึ่งสะท้อนว่ากล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรง ส่งผลให้เขียนหนังสือช้า ควบคุมทิศทางการเขียนไม่ได้ การทรงตัวนั่งเขียนไม่ดี ทำงานเสร็จช้าไม่ทันเพื่อน เรียนไม่รู้เรื่อง มีภาวะเครียด ขาดเรียนบ่อยและจากการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน 74 โรงเรียน ได้สรุปเป็น 14 สัญญาณเตือน “กล้ามเนื้อบกพร่อง” ในเด็กประถมต้น และข้อค้นพบจากห้องเรียนฟื้นฟูที่เด็กๆ มีพัฒนาการที่ค่อยๆ ดีขึ้นได้ภายใน 2 สัปดาห์ หรือ 14 วัน

สำหรับ 14 สัญญาณเตือน ที่ค้นพบ อาทิ เด็กพูดเป็นคำๆ ไม่เป็นประโยค, เล่าเรื่องไม่ได้, ท่าทางจับดินสอผิด เกร็งเมื่อยล้า, เขียนได้ช้าหรือเขียนไม่เสร็จ, ตอบคำถามเป็นคำๆ หรือประโยคสั้นๆ, อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้แม้คำพื้นฐาน, กระโดดขาเดียว และกระโดดสองขาพร้อมกันไม่ได้, เด็กบางคนมีอาการทางจิตใจ เช่น เครียด ไม่โต้ตอบ ไม่สื่อสาร แยกตัวจากเพื่อน งอแง ขาดเรียนบ่อย ไปห้องน้ำบ่อยและไปครั้งละนานๆ บางคนขอไปห้องพยาบาลเพราะปวดหัว ปวดท้องบ่อยจนผิดสังเกต ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้โรงเรียนและครอบครัวสังเกตบุตรหลานหรือลูกศิษย์ของตนเอง และช่วยกันฟื้นฟูให้ทันท่วงที

“การแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดร่วมกับครูและโรงเรียนโดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้บูรณาการและสอดคล้องกับการพัฒนาฐานกาย ทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ให้เวลา ให้กำลังใจ ให้โอกาสเด็ก และขยายผลไปยังป.1 และป.3 ด้วยการฟื้นฟูฐานกายและการเรียนรู้จะเห็นผลแบบค่อยเป็นค่อยไป หากได้ฝึกอย่างจริงจัง 2 สัปดาห์หรือ 14 วัน เด็กส่วนใหญ่มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างชัดเจน มีค่าแรงบีบมือจาก 7.6 กิโลกรัม เพิ่มเป็น 9.8 กิโลกรัม ถือเป็นแนวโน้มที่ดีในการฟื้นฟู การทำเช่นนี้คาดว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียเด็กรุ่นนี้ในระยะยาวได้”

ผศ.พรพิมล คีรีรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ โค้ชโครงงานฐานวิจัย โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) กสศ. เสริมว่า การฟื้นฟูฐานกายและการเรียนรู้จะเห็นผลแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เด็กมั่นใจในการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวแบบต่างๆ มีการทรงตัวที่มั่นคง จนเด็กรู้สึกไว้วางใจในศักยภาพของร่างกายตนเอง 1 สัปดาห์พบว่า เด็กมั่นใจขึ้น ร่าเริงสื่อสารดีขึ้น มีสมาธิจดจ่อในการฟังมากขึ้นทานอาหารมากขึ้น เริ่มเล่นกับเพื่อนและคิดวิธีเล่นต่อยอดจากกิจกรรมที่ฝึก จดจำ ได้เร็วขึ้น มากขึ้น จำได้นานขึ้น ไม่ขาดเรียน ตื่นตัวรอคอยที่จะได้เล่นกิจกรรม สนุกและมุ่งมั่นกับการทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบท้าทาย กำกับตัวเองได้ดีขึ้น ล้วนเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความพร้อมในการเรียนรู้ได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว เป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ที่คุ้มค่ามากๆ

รายงานห้องเรียนฟื้นฟูหลังโควิด-19 ได้สรุปแนวทางการฟื้นฟูพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษาตอนต้นระดับโรงเรียนและครอบครัวไว้ ดังนี้

1. สังเกต วิเคราะห์พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่เคยทำได้ แต่ไม่สามารถทำได้เหมือนเดิม

2. สำรวจสุขภาพจิตใจของเด็กๆ ว่ามีความสุขในการเรียนหรือไม่

3. หยุดการเร่งสอนเร่งเรียน ชะลอ 8 สาระวิชาเมื่อพัฒนาการและสมองยังไม่พร้อมเรียนรู้ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะจะส่งผลเสียให้การเรียนเป็นความทุกข์และทำให้เด็กหันหลังให้กับห้องเรียน

4. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ให้บูรณาการและสอดคล้องกับการพัฒนาฐานกาย เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กระดูก ข้อแขน ขา ลำตัว และระบบประสาทสัมพันธ์ ทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่องในช่วงชั้นประถมต้น

5. ฟื้นฟูได้เร็ว ครอบครัวกับโรงเรียนต้องทำงานประสานกัน จะเป็นภาระใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้

ดาวน์โหลดรายงานฉบับพิเศษ ห้องเรียนฟื้นฟูหลังโควิด-19 ได้ที่ : www.eef.or.th

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า