Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

วานนี้ (11 ม.ค. 66) เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2566  101 องค์กร จัดกิจกรรม ‘เข้าคูหาจับตาเลือกตั้ง 2566’ ณ ห้องประชุม ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ โดยจำลองการเลือกตั้งปี 66 ถกปมเลือกตั้ง 62 พร้อมแถลงการณ์ถึงประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ให้สังเกตการณ์การเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้น

ภายในงานประกอบด้วยการเสวนานำโดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พงษศักดิ์ จันทร์อ่อน เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง หรือ We watch และ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (Ilaw – ไอลอว์)

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ถกประเด็นบัตรเลือกตั้งปี 62 โดยมองว่าบัตรเลือกตั้งแบบ 1 ใบหาร 500 ทำให้มีผู้ลงสมัครเลือกตั้งแต่ละเขตเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยเขตละ 28 คนใน 350 เขต บางเขตมีผู้ลงสมัครสูงถึง 44 คน ส่งผลให้ข้อมูลภายในบัตรเลือกตั้งดูยิบย่อย ทั้งยังส่งผลให้กกต.ทำงานผิดพลาด นอกจากนี้การสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 62 ยังถูกแทนที่โดยผู้ตรวจการเลือกตั้ง ทั้งยังห้ามประชาชนถ่ายรูปบริเวณหน่วยเลือกตั้ง เป็นผลให้เกิดปัญหาด้านความโปร่งใส 

รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน จากคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงปัญหาการเลือกตั้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น 

1.การไล่เรียงระบบเลือกตั้ง โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเปลี่ยนระบบเลือกตั้งถึง 5 ครั้ง ซึ่งเป็นผลเสียต่อประชาชนที่ต้องทำความเข้าใจระบบเลือกตั้งใหม่ สำหรับการเลือกตั้งปี 62 ตนจะไม่ขอเรียกว่า “ระบบเลือกตั้ง” แต่จะเรียกว่า “เทคนิคเลือกตั้ง” เพราะไม่มีประเทศใดในโลกใช้ระบบเลือกตั้งนี้

2.ปัญหาการจัดการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา รศ.ดร.สิริพรรณ กล่าวว่า เหตุที่มีส.ส.พรรคปัดเศษนั้น ไม่ได้เป็นการคำนวณผิดพลาดของกกต.แต่อย่างใด เพราะมีระบบการคำนวณมาแต่แรก อย่างไรก็ตามตนยังคงยืนยันว่ากกต.ทำงานผิดพลาดเช่นกัน และเพื่อความโปร่งใส กกต.ต้องประกาศระบบการเลือกตั้งปี 66 ให้นักการเมือง นักวิชาการ และประชาชนได้รับทราบ 

3.สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดสำหรับการเลือกตั้งปี 2566 รศ.ดร.สิริพรรณ กล่าวว่า คือการถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลชุดใหม่โดยสันติ หากมองย้อนไปเมื่อ 20 ปีก่อน ประเทศไทยไม่เคยถ่ายโอนอำนาจกันอย่างสันติ เรามีการรัฐประหาร​ การชุมนุมทางการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเสมอ 

ด้านพงษ์ศักดิ์ จันทร์อ่อน เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง กล่าวว่า รากเหง้าของปัญหาในการเลือกตั้งปี 62 แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโครงสร้าง ได้แก่ ข้อกฎหมายประกอบการเลือกตั้ง  และระบบคิดของผู้ที่ทำงานในสถาบันที่มีส่วนในการเลือกตั้ง อาทิ กกต.  ซึ่งการที่กกต. ไม่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสังเกตุการณ์การเลือกตั้งปี 62 รวมถึงการประกาศผลคะแนนประจำหน่วยของกกต. ไม่ครบ โดยอ้างเหตุผลเรื่องความชัดเจนของผลการนับคะแนน ทำให้ประชาชนมองว่าการเลือกตั้งปี 62 ไม่โปร่งใส 

ผู้ร่วมเสวนาคนสุดท้าย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (Ilaw – ไอลอว์)

กล่าวว่า การเลือกตั้งปี 2562 ที่เสร็จสิ้นไป เป็นการเลือกตั้งของคสช. โดยคสช. เพื่อจะให้คสช.สืบทอดอำนาจ เนื่องจากกติกาการเลือกตั้งถูกเขียนโดยคสช. รวมทั้งการแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ และกกต. ก็มาจากอำนาจของคสช.เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2562 ไม่ใช่การเลือกตั้ง เป็นเพียงพิธีกรรมที่คสช.จัดฉากความชอบธรรมในการขึ้นสู่อำนาจ 

แต่ใน 4 ปีที่ผ่านมามีประมาณ 3 ปัจจัยที่เปลี่ยนไป ปัจจัยแรก คืออำนาจเต็มของคสช.ในการใช้ม.44 ควบคุมสื่อหรือออกคำสั่งควบคุมสิ่งต่างๆ ได้หายไปแล้ว ปัจจัยที่สอง คือภาวะทางเศรษฐกิจที่ พ.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่สามารถควบคุมได้ และประชาชนตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหา ส่งผลให้ พ.อ.ประยุทธ์สูญเสียความนิยมแก่พรรคการเมืองที่เข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ ปัจจัยที่สาม หลังผ่านมา 4 ปี คนรุ่นใหม่มีสิทธิ์เลือกตั้งเพิ่มขึ้น และคะแนนเสียงเหล่านี้ พ.อ.ประยุทธ์ไม่สามารถควบคุมได้ ยิ่งชีพ กล่าว

ในช่วงท้ายของกิจกรรมของเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2566  มีการจำลองการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งภายในห้องประชุม ซึ่งจำลองสถานการณ์การนับคะแนนรายหน่วยเลือกตั้งเมื่อปี 2562 โดยมีประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์การจำลองสถานการณ์นับคะแนนเสียงเลือกตั้งกันเป็นจำนวนมาก   

 

นอกจากนี้ยังมีการออกแถลงการณ์ข้อเรียกร้องต่อการเลือกตั้ง เนื้อหาของแถลงการณ์ระบุว่า “การเลือกตั้งเป็นกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนทุกคน นักการเมืองหรือชนชั้นนําไม่มีความชอบธรรมใดๆ ในการครอบงำหรือบงการการเลือกตั้งให้บิดเบี้ยวไปจากหลักสากลว่าด้วยการเลือกตั้งที่เป็นธรรม อิสระ และโปร่งใส น่าเสียดายที่การเมืองไทยถูกแทรกแซงอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่การเมืองไทยกลับยิ่งถอยห่างออกจากประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี ยังไม่สายเกินไปหากประชาชนจะร่วมกันทวงคืนการเลือกตั้งให้กลับเข้าสู่ร่องสู่รอยโดยเร็ว”

เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566 จึงมีข้อเรียกร้องต่อประชาชนและฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

  1. ขอให้ กกต. ทำหน้าที่อย่างโปร่งใส เป็นธรรม เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งต่อสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งเขตเลือกตั้ง, การเปิดเผยผลคะแนนรายหน่วยผ่านระบบออนไลน์, สนับสนุน ให้ความสำคัญ และร่วมมือกับประชาชนทุกฝ่ายที่ต้องการเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้ง และร่วมมือกับประชาชนทุกฝ่ายที่ต้องการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เลือกตั้ง ประชาธิปไตย และเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้ง
  2. ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาลสร้างบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยในช่วงก่อนวันเลือกตั้งนับต่อจากนี้ไป เช่น คุ้มครองให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่โดยไม่ถูกคุกคาม, ให้พรรคการเมืองใช้พื้นที่และสิ่งอํานวยความสะดวกในความดูแลของรัฐ เพื่อรณรงค์การเลือกตั้ง, คุ้มครองให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่โดยไม่ถูกคุกคาม, ให้พรรคการเมืองใช้พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ในความดูแลของรัฐอย่างเท่าเทียมในการหาเสียงเลือกตั้ง และควบคุมมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
  3. ขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนในทุกเขตเลือกตั้งเข้าร่วมการสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไปที่กําลังจะมาถึง โดยลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครฯ หรือส่งข้อมูลความผิดปกติหรือสถานการณ์การเลือกตั้งในเขตของตนเอง ทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังวันเลือกตั้ง แก่เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566 ผ่านทางเว็บไซต์ Vote62.com” แถลงการณ์เครือข่ายฯ ระบุ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า