Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.สั่งคุมเข้มเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก เผยพบเด็กแรกเกิด – 4 ปี ป่วยแล้ว 81% แนะ 5 วิธีป้องกันติดและแพร่กระจายเชื้อ ย้ำผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของเด็กและเฝ้าระวังการป่วยอย่างต่อเนื่อง 

รูปที่แสดง เป็นโรคมือเท้าปาก เชื้อ CA6 FB.Yong Poovorawan

จากข้อมูลเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 20 ส.ค. 2565 พบเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 35,074 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต เป็นเด็กอายุแรกเกิด – 4 ปี ร้อยละ 81.85 รองลงมาคือเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 9.38 และเด็กอายุ 6 ปี ร้อยละ 3.75

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อโดยตรงจากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าทางปาก ส่วนใหญ่เชื้อไวรัสจะติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน ซึ่งจะพบผู้ป่วยมากในกลุ่มเด็กเล็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

หากได้รับเชื้อระยะเริ่มต้นจะมีอาการไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย และต่อมา 1-2 วัน จะมีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปากที่เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น ต่อมาจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีไข้ขึ้นสูง ซึมลง เดินเซ ชักเกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเป็นเชื้อชนิดรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

สำหรับการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก มีดังนี้

  1. ผู้ปกครองควรคัดกรองอาการของเด็กก่อนไปเรียน หากเด็กไม่สบายหรือมีไข้ ควรพาไปพบแพทย์และให้พักอยู่ที่บ้าน
  2. ให้เด็กสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ซึ่งเชื้อโรคมือ เท้า ปาก จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือเมื่อผู้ป่วยไปจับของเล่นของใช้ จะทำให้เชื้อกระจายสู่ผู้อื่นได้ หากลดการสัมผัสจะสามารถป้องกันการรับเชื้อได้
  3. ให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังเล่นของเล่น เพื่อลดการสะสมของเชื้อบนฝ่ามือ
  4. หมั่นทำความสะอาดของใช้ ของเล่นและพื้นที่ที่เด็กใช้ร่วมกันเป็นประจำ เพื่อลดเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม
  5. สำหรับสถานศึกษาควรจัดให้มีพื้นที่ในการเข้าแถวทำกิจกรรม หรือเล่นเป็นกลุ่มย่อย จำนวน 5-6 คน มีการเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร และหากพบเด็กป่วยขอให้แยกออกจากเด็กปกติและแจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน หากอาการไม่ดีขึ้นให้พาไปพบแพทย์โดยเร็ว แยกของใช้ส่วนตัวเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ และไม่ควรคลุกคลีกับคนอื่นๆ ในครอบครัว

รูปที่แสดง เป็นโรคมือเท้าปาก เชื้อ CA6 FB.Yong Poovorawan

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่ชื่อว่า “วัคซีนป้องกันไวรัสเอนเทอโร ชนิด 71” สามารถป้องกันได้เฉพาะไวรัสสายพันธุ์เอนเทอโร 71 เท่านั้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มักพบได้บ่อยและก่อให้เกิดอาการรุนแรง แต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก ชนิดอื่น เช่น ไวรัสคอกแซกกี ไวรัสเอคโค เป็นต้น

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนัก ส่งผลให้อากาศเย็นลง ประกอบกับสถานศึกษาและศูนย์เด็กเล็กมีการเปิดภาคเรียนมาในระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเด็กมีการทำกิจกรรมที่รวมกลุ่มใกล้ชิดกัน ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคมือ เท้า ปากได้ง่าย จึงขอความร่วมมือผู้ปกครองหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของเด็กและเฝ้าระวังการป่วยอย่างต่อเนื่อง ส่วนสถานศึกษาให้คัดกรองและสังเกตอาการของเด็กก่อนเข้าเรียน

ทั้งนี้ นพ.โอภาส ยืนยันก่อนหน้านี้ว่ากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดมะเขือเทศที่ประเทศอินเดียอย่างใกล้ชิด ขณะนี้ยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยในประเทศไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า