Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผ่านโหวต สว. รับหลักการ ร่าง ‘สมรสเท่าเทียม’ ด้วยคะแนน 147 ต่อ 4 งดออกเสียง 7 ตั้ง กมธ.วิสามัญ แปรญัตติ 7 วัน

วันนี้ (2 เม.ย. 67) มติวุฒิสภา โหวตรับหลักการ ร่าง สมรสเท่าเทียม หรือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

โดยผลการลงมติของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในวาระ 1 ได้ลงคะแนนเสียง เห็นชอบ 147 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ไม่ลงคะแนน 0 คน จากจำนวนผู้ลงมติ 158 คน

ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย จำนวน 27 คน แปรญัตติ 7 วันทำการ จากนั้นจะมีประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาในวาระ 2-3 ต่อไป

ตัวแทนผู้เสนอร่างกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ ภาคประชาชน แสดงความยินดีที่ สว. โหวตรับหลักการ : ภาพ ธนัญชัย แก้วโสวัฒนะ / Thai News Pix

ก่อนการลงมติ ได้มี สว. ขออภิปราย จำนวน 5 คน ได้แก่

1. เสรี สุวรรณภานนท์

2. พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร

3. ธานี สุโชดายน

4. สุรเดช จิรัฐิติเจริญ

5. พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม

ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายฉบับนี้ ที่ประเทศไทยจะได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศที่ 3 ในเอเชีย ที่เปิดให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศสามารถสมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.ศานิตย์ รวมทั้ง พล.อ.ต. เฉลิมชัย อภิปรายห่วงเรื่องสิทธิในการรับบุตรบุญธรรม รวมถึงเรื่องการอุ้มบุญ ต้องพิจารณาให้รอบคอบ

ด้าน นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้แทนคณะรัฐมนตรี ชี้แจงข้อสงสัยของ สว. ประเด็นการรับบุตรบุญธรรม โดยสรุปว่า การนำเสนอ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมนี้เป็นการจดทะเบียนสมรสของบุคคล 2 คนที่จะมาใช้ชีวิตครอบครัว ส่วนเรื่อง ‘บุตรบุญธรรม’ ยังคงเป็น พ.ร.บ.การรับบุตรบุญธรรม ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รับผิดชอบ พ.ร.บ. ฉบับนี้จะระบุเพียงว่า สิทธิของคู่สมรสจากการได้สิทธิฉบับนี้จะได้สิทธิรับบุตรบุญธรรม แต่ไม่ได้ไปก้าวล่วงไปถึง พ.ร.บ.การรับบุตรบุญธรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

‘สมรสเท่าเทียม’ ผ่านสภาฯ แล้ว โหวตฉลุย 400 ต่อ 10 เสียง ส่งไม้ต่อให้ สว.

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า