Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Meta ประเทศไทย แถลงมาตรการรับมือการเลือกตั้งทั่วไปในไทย ที่จะเกิดขึ้นวันที่ 14 พ.ค. นี้ โดยเน้นที่มาตรการการโฆษณาการเมืองและการเลือกตั้งบนแพลตฟอร์ม โดยมีผู้ให้ข้อมูลคือ คุณแคลร์ อมาดอร์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์, คุณอิง ศิริกุลบดี ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะ Facebook ประเทศไทย จาก Meta และ Khwan Rueangkham, Government & Social Impact Partner Manager

ใจความสำคัญคือ นักการเมือง พรรค หน่วยงาน หรือแม้แต่เพจสื่อมวลชน ถ้าอยากจะซื้อโฆษณาเพื่อโปรโมทพรรคและนักการเมือง ต้องผ่านขั้นตอนการขออนุญาตที่ต้องยืนยันตนเองด้วยบัตรประชาชน พร้อมรูปภาพที่ออกบัตรโดยรัฐบาล และระบุข้อความ “ได้รับสปอนเซอร์จาก” บนโฆษณาของพวกเขา เพื่อให้ผู้คนในประเทศไทยรับรู้ว่าใครเป็นผู้สนับสนุนโฆษณาดังกล่าว

นโยบายนี้ครอบคลุมถึงการซื้อบูสต์โพสต์ด้วย นั่นหมายความว่า เพจสื่อถ้าต้องบูสต์คอนเทนต์ที่มีหน้านักการเมือง โลโก้พรรคติดอยู่ ไม่ว่าจะทั้งในเนื้อหา ภาพนิ่ง วิดีโอ ก็ต้องเข้าขั้นตอนการขออนุญาตจาก Meta ก่อน 

การยืนยันตัวตนเพื่อขออนุญาตนั้นใช้ช่องทางเดียวกับการยืนยันเพื่อซื้อโฆษณา แต่โฆษณาการเมืองจะใช้เวลาตรวจสอบเพื่ออนุมัติราว 3 วัน 

สำหรับหน้าตาของโพสต์ที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโฆษณาโปรโมทนักการเมือง จะมองเห็นข้อความกำกับว่า Sponsored ซื้อโดยใคร พรรคอะไร มีผลทั้งบน Facebook และ Instagram 

นอกจากนี้ คนไทยยังสามารถค้นหาโฆษณาที่ถูกดำเนินการอยู่บน Facebook ได้จากคลังโฆษณา (Ad Library) ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป เพื่อตรวจสอบว่าโฆษณาถูกโพสต์ลงเมื่อใด ในแพลตฟอร์มใด และใครเป็นคนสปอนเซอร์โฆษณานั้นๆ ซึ่งถ้าเป็นโฆษณาการเมือง สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด 7 ปี โดยแสดงข้อมูลหลายอย่างตั้งแต่ โฆษณานี้ยังแอคทีฟอยู่หรือไม่ รันบนแพลตฟอร์มไหนบ้าง มีคนเห็นกี่คน จำนวนงบประมาณที่ใช้ซื้อโฆษณา กลุ่มเป้าหมายคือใคร เจาะโลเคชั่นไหนบ้าง

ทาง Meta ประเทศไทยยังบอกด้วยว่ามีการตั้งทีมความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อจัดการเครือข่ายออนไลน์ที่มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยและอาจมีการแทรกแซงความโปร่งใส เช่น การมีพฤติกรรมร่วมกันในการสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตนบนโลกออนไลน์ (coordinated inauthentic behavior หรือ CIB) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ไอโอ ซึ่งในช่วงการเลือกตั้ง CIB มุ่งบงการชักใยและสร้างอิทธิพลต่อความเห็นของสาธารณชนเพื่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ผ่านบัญชีปลอม และร่วมกันให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับตัวตนและเจตนาของพวกเขา

นอกจากนี้ยังพยายามจัดเทรนนิ่ง อบรมให้กับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเฝ้าระวังการเลือกตั้ง องค์กรไม่หวังผลกำไร และผู้สมัครรับเลือกตั้ง เกี่ยวกับนโยบาย บริการ เครื่องมือ และระบบการรายงานของ Meta แต่ไม่ได้ทำงานร่วมกับ กกต. (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง) โดยตรง 

เปิดที่มา ทำไม Facebook คุมเข้มโฆษณาการเมือง 

เรื่องโฆษณาการเมืองบน Facebook ต้องเล่าย้อนหลังไปถึงปี 2016 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คาดว่า รัสเซียจะใช้ช่องโหว่บน Facebook ในการซื้อโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลโจมตีการเมืองในสหรัฐฯ 

และหลังจากนั้นในปี 2018 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็ต้องเจอกับการสอบสวนครั้งใหญ่ เมื่อมีการขุดคุ้ยจนพบว่า Facebook  ทำข้อมูลของผู้ใช้ 87 ล้านคนรั่วไหลสู่มือของ บริษัทเอกชน เคมบริดจ์ อะนาไลติก้า (Cambridge Analytica)

ซึ่งข้อมูลถูกนำไปใช้ประโยชน์ในแคมเปญหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับบลิกัน จนทรัมป์ชนะเลือกตั้ง 2016

โดยวิธีที่ทั้งรัสเซีย และ เคมบริดจ์ อะนาไลติก้า ใช้ในการเผยแพร่เนื้อหาเท็จและโฆษณาชวนเชื่อคือช่องทางโฆษณาของ Facebook ที่สามารถเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ เจาะกลุ่ม target ได้ 

นี่จึงเป็นที่มา ทำให้ Facebook ต้องกลับมาจัดการตัวเอง ทำมาตรการโฆษณาการเมืองให้รัดกุมยิ่งขึ้น และเริ่มเปิดใช้มาตรการยืนยันตัวตนถ้าจะซื้อโฆษณาการเมืองในปี 2018 เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ลงโฆษณาเป็นใคร อยู่ในประเทศอะไร 

ปัจจุบัน Facebook ใช้มาตรการนี้กับการเลือกตั้งในหลายประเทศ และล่าสุดก็ใช้มาตรการนี้กับประเทศไทย เพื่อรับมือกับการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า