Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีผู้แจ้งเบาะแสรายหนึ่งเผยแพร่งานวิจัยและเอกสารภายในหลายหมื่นหน้าเกี่ยวกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง ‘เฟซบุ๊ก’ ที่ทำให้เฟซบุ๊กถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักตลอดช่วงที่ผ่านมา

ล่าสุด ผู้แจ้งเบาะแสดังกล่าวได้เปิดเผยตัวตนของตนเองแล้วว่าชื่อ ‘ฟรานเซส ฮาวเกน’ อดีตผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊กนั่นเอง

ฮาวเกน วัย 37 ปี เปิดเผยตัวตนผ่านการให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ ’60 Minutes’ ที่ออกอากาศทางช่อง CBS เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา (ตามเวลาท้องถิ่น) ว่าเอกสารที่รั่วไหลออกมาพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าเฟซบุ๊กนั้นให้ความสำคัญกับ ‘การเติบโตของบริษัท’ มากกว่า ‘ความปลอดภัย’ ของผู้ใช้งาน

โดยเฟซบุ๊กมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพอัลกอริธึมที่ใช้ในการช่วยแพร่กระจายเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง, ความรุนแรง และข้อมูลผิดๆ ซึ่งบริษัทได้พยายามซ่อนหลักฐานเหล่านั้นไว้

ฮาวเกนระบุว่า เธอออกจากเฟซบุ๊กตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลังจากทำงานที่นี่มาตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งก่อนออก เธอก็ได้คัดลอกเอกสารและบันทึกภายในบริษัทออกมาด้วย จากนั้นก็แชร์ข้อมูลเหล่านี้ให้กับ Wall Street Journal ก่อนข้อมูลเหล่านั้นหรือที่เรียกว่า ‘ไฟล์เฟซบุ๊ก’ จะถูกเผยแพร่ในเวลาต่อมา

เอกสารดังกล่าวยังแสดงให้เห็นอีกว่า เซเลบริตี้, นักการเมือง และผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีชื่อเสียง ได้รับการปฏิบัติจากบริษัทอย่างแตกต่างกัน

โดยนโยบายการกลั่นกรองข้อมูลถูกนำไปใช้อย่างแตกต่างกัน ที่ไม่ใช่ว่าทุกบัญชีผู้ใช้จะได้รับการกลั่นกรองที่เท่าๆ กันหมด ซึ่งระบบดังกล่าวเรียกว่า XCheck (ครอสเช็ก)

ฮาวเกนกล่าวว่า เธอเชื่อว่า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊ก ไม่ได้มีเป้าหมายจะสร้างแพลตฟอร์มที่สร้างความเกลียดชัง แต่เขาก็อนุญาตให้เนื้อหาสร้างความเกลียดชังเหล่านี้ไปได้ไกลมากขึ้น และได้รับการเข้าถึง (reach) มากขึ้น

ขณะที่ในปี 2561 ซัคเคอร์เบิร์กเคยระบุว่าอัลกอริทึมของเฟซบุ๊กนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก “เรารู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริการของเราไม่ใช่เอาไว้ใช้เพื่อความสนุกเท่านั้น แต่ยังดีสำหรับสวัสดิภาพของผู้คนด้วย”

ข้อมูลที่รั่วไหลออกมาในครั้งนี้ ยังรวมไปถึงกรณีที่เฟซบุ๊กกำลังเผชิญกับคดีความจากกลุ่มผู้ถือหุ้น, การจ่ายเงิน 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับคณะกรรมการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ เพื่อแก้ไขกรณีข้อมูลฉาว Cambridge Analytica

รวมไปถึงกรณีงานวิจัยภายในของเฟซบุ๊ก (ที่เป็นเจ้าของอินสตาแกรม) พบว่า อินสตาแกรมเป็นแพลตฟอร์มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่น แต่เฟซบุ๊กกลับไม่เผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยชิ้นนี้ในตอนที่ออกมาระบุว่าอินสตาแกรมนั้นเป็นแพลตฟอร์มที่ ‘เป็นพิษ’ ต่อเด็กๆ จำนวนมาก

ทั้งนี้ ฮาวเกนจะไปเป็นพยานต่อคณะอนุกรรมการวุฒิสภาในวันอังคารนี้ ในการพิจารณาคดี ‘ปกป้องเด็กๆ จากโลกออนไลน์’ ซึ่งเกี่ยวกับกรณีงานวิจัยของบริษัทที่ระบุว่าอินสตาแกรมกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้งาน

“มันมีความขัดแย้งกันอยู่ระหว่างสิ่งที่ดีต่อสาธารณะ และสิ่งที่ดีต่อเฟซบุ๊ก แต่เฟซบุ๊กก็เลือกที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสิ่งที่ตัวเองสนใจอยู่เช่นเดิม เช่น การทำเงินได้มากขึ้น” ฮาวเกนกล่าว

เธอยังกล่าวอีกว่า การจลาจล Capitol Hill ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมานั้น เฟซบุ๊กก็ช่วยกระตุ้นความรุนแรง

นอกจากนี้ เธอยังระบุอีกว่าเฟซบุ๊กได้เปิดระบบความปลอดภัยเพื่อลดข้อมูลผิดๆ ระหว่างการเลือกตั้งในสหรัฐฯ เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น

“เพราะทันที่การเลือกตั้งสิ้นสุดลง บริษัทก็หันกลับมาเปลี่ยนการตั้งค่าให้เป็นแบบเดิม ซึ่งก็คือแบบที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของบริษัทมากกว่าความปลอดภัย นั่นจึงให้ความรู้สึกเหมือนทรยศประชาธิปไตย” ฮาวเกนระบุ

ขณะที่ ‘นิค เคล็กก์’ รองประธานฝ่ายกิจการโลกของเฟซบุ๊ก กล่าวว่า “เรื่องความเกี่ยวข้องกับการจลาจลนั้นฟังดูน่าตลกไปหน่อย ผมคิดว่ามันคงเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้คนรู้สึกสบายใจขึ้น ที่ได้ยินคำอธิบายทางเทคนิค หรือมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นแบ่งขั้วทางการเมืองในสหรัฐฯ”

ด้านฮาวเกนสิ้นสุดการให้สัมภาษณ์ด้วยการเสนอให้รัฐบาลออกกฎเกณฑ์ควบคุมการทำงานของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่างเข้มงวดมากขึ้น

ที่มา:

https://www.bbc.com/news/technology-58784615

https://edition.cnn.com/2021/10/03/tech/facebook-whistleblower-60-minutes/index.html

https://www.theverge.com/2021/10/3/22707860/facebook-whistleblower-leaked-documents-files-regulation

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า