Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังให้บริการในไทยมาครบ 10 ปี และไม่เคยเปลี่ยนผู้บริหารเลย ล่าสุด ‘ฟู้ดแพนด้า’ แต่งตั้ง MD คนใหม่แล้ว โดยได้ ‘ศิริภา จึงสวัสดิ์’ ขึ้นแท่นเป็น MD คนไทยคนแรก และผู้บริหารหญิงคนแรกด้วย

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2555 หรือเมื่อ 10 ปีก่อน แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เข้ามาทำตลาดในไทยตอนนั้นคงหนีไม่พ้น ‘ฟู้ดแพนด้า’ (foodpanda) โดยมี ‘อเล็กซานเดอร์ เฟลเดอร์’ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการมาตั้งแต่แรก

ภายใต้การนำของ ‘อเล็กซานเดอร์’ ฟู้ดแพนด้ามีการขยายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ให้บริการครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ แต่ฟู้ดแพนด้ายังขยายไปสู่บริการอื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากส่งอาหาร คือ

-บริการส่งของกินของใช้ผ่าน pandamart และ foodpanda shops

-บริการรับเองที่ร้าน (Pick-up)

-บริการทานที่ร้าน (Dine-in)

-บริการแพ็กเกจสมาชิก pandapro

“10 ปีมานี้ เราเดินทางมาไกลมาก ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนในการซื้ออาหารและของกินของใช้ จนตอนนี้บริการของเรา ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันของลูกค้าหลายล้านคนทั่วประเทศ

“เมื่อมองย้อนกลับไป ผมภูมิใจมากกับสิ่งที่ทีมงานฟู้ดแพนด้าได้สร้างขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผมขอบคุณจริงๆ ที่มีโอกาสได้ร่วมงานกับทีมงานที่ดีที่สุด และได้นำพาฟู้ดแพนด้ามาสู่ความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้” อเล็กซานเดอร์ กล่าว

แม้จะขยายการเติบโตในแง่ของพื้นที่และบริการ แต่ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ฟู้ดแพนด้า’ ก็เป็นบริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่อีกรายที่ยังไม่สามารถทำกำไรได้

โดยหากดูผลประกอบการของบริษัท เดลิเวอรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งให้บริการฟู้ดแพนด้า ตามข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปี 2561-2563 มีผลการดำเนินงานดังนี้

ปี 2561 รายได้ 259 ล้านบาท ขาดทุน 139 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 818 ล้านบาท ขาดทุน 1,265 ล้านบาท

ปี 2563 รายได้ 4,375 ล้านบาท ขาดทุน 3,596 ล้านบาท

เข้าสู่ปีที่ 10 ทั้งที ฟู้ดแพนด้าเลยประกาศการเปลี่ยนแปลงต้อนรับทศวรรษใหม่ ด้วยการดึง ‘ศิริภา จึงสวัสด์’ ขึ้นมานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ (Managing Director: MD)

ซึ่งนับได้ว่าเธอเป็น MD คนไทยคนแรก แถมยังเป็น MD หญิงคนแรกของฟู้ดแพนด้า ประเทศไทยด้วย

‘ศิริภา’ เผยมุมมองว่า ช่วงโควิด-19 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นการเติบโตให้แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ รวมถึงฟู้ดแพนด้าได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสร้างพฤติกรรมใหม่ให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการสั่งอาหาร รวมถึงของกินของใช้มากขึ้น

ประกอบกับตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยที่ยังมีแนวโน้มเติบโตดี ฟู้ดแพนด้าเองก็ไม่ได้ทำแค่เดลิเวอรี่แล้ว แต่มีบริการอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติม ทำให้ฟู้ดแพนด้ายังมีโอกาสเติบโตอยู่แน่นอน

แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีความท้าทายมากมายรอเธออยู่

‘ศิริภา’ เผยว่าความท้าทายข้อแรกคือเรื่อง ‘กำไร’ ที่ผ่านมาฟู้ดแพนด้าลงทุนและเติบโตเยอะมาก แต่ปัจจุบันยังไม่ได้อยู่ในช่วงที่ทำกำไรได้

สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ จะนำเทคโนโลยีมาทำอย่างไรให้แอปพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้าเป็นที่รักของผู้บริโภค และสามารถทำกำไรในระยะยาวได้

ความท้าทายข้อต่อมาคือการที่ฟู้ดแพนด้าเป็น ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่’ ที่ผู้บริโภครู้จักมานานแล้ว แต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้คนรู้จักฟู้ดแพนด้าในพาร์ทอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่รับส่งอาหารเท่านั้น

ความท้าทายที่ว่านำมาสู่ ‘เรื่องเร่งด่วน 3 ข้อ’ ที่ MD คนใหม่จะต้องเร่งทำ คือ

1.ทำยังไงให้ฟู้ดแพนด้าอยู่ในใจลูกค้ามากขึ้น ซึ่งต้องเร่งศึกษาความต้องการของลูกค้า ร้านค้า และไรเดอร์มากขึ้น เพื่อจะได้ดูว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่สุด จากนั้นก็พัฒนาบริการให้เป็นที่ประทับใจ เพิ่มจำนวนร้านค้าให้มากขึ้น หลากหลาย ตอบรับกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุดนั่นเอง

2.สื่อสารในธุรกิจใหม่ๆ ที่ฟู้ดแพนด้ามีมาซักพักแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งของกินของใช้, บริการรับเองที่ร้าน เป็นต้น

3.ทำยังไงให้ลูกค้าคิดถึงฟู้ดแพนด้า ซึ่งตรงนี้ฟู้ดแพนด้าก็มีบริการแพ็กเกจสมาชิก pandapro ซึ่งลูกค้าสามารถสะสมแต้มแล้วนำไปใช้เป็นส่วนลดได้

“การมารับไม้ต่อจากอเล็กซานเดอร์ในฐานะกรรมการผู้จัดการเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่และท้าทายอย่างมาก สำหรับวิสัยทัศน์ที่จะสร้างการเติบโตให้ฟู้ดแพนด้า เราจะต่อยอดความเชี่ยวชาญที่เป็นรากฐานของธุรกิจ ซึ่งก็คือความเชี่ยวชาญด้านอาหารและของกินของใช้ มาพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ให้กับผู้คนนับล้านในระบบนิเวศของเรา ซึ่งรวมถึงลูกค้า ร้านค้า และไรเดอร์”

นอกจากในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจแล้ว ภายใต้การนำของศิริภา ฟู้ดแพนด้าก็ยังคงเดินหน้าสานต่อแนวคิดในเรื่องการยอมรับสังคมที่หลากหลาย

ที่ฟู้ดแพนด้าเชื่อว่าความเท่าเทียมและความหลากหลายจะช่วยผลักดันให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จในแง่ธุรกิจ และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

ทให้บริษัทมีนโยบายที่ตอบโจทย์พนักงานหลากหลายกลุ่มอย่างเท่าเทียม อาทิ สวัสดิการ “วันลาเพื่อพนักงานข้ามเพศ” 10 วัน เพิ่มจากวันลาปกติ เพื่อให้พนักงานข้ามเพศสามารถไปทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านเพศสภาวะได้

นอกจากนี้ ในฝั่งไรเดอร์ ฟู้ดแพนด้าก็มีนโยบายเปิดรับสมัครไรเดอร์ที่เป็นผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการพูด เพื่อสร้างการยอมรับในตัวเอง ให้พวกเขาสามารถทำงานสร้างรายได้ และมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสังคม

นอกจากนี้ยังตั้งเป้าเพิ่มจำนวนไรเดอร์ผู้หญิงจาก 13.9% เป็น 15% เพราะฟู้ดแพนด้าเชื่อว่าทุกคนควรได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ วัฒนธรรม

“ในอีโคซิสเต็มของฟู้ดแพนด้า เราให้ความสำคัญกับผู้คนมากที่สุด เราเชื่อมั่นว่าประสบการณ์และความเชี่ยวชาญกว่า 10 ปี ของเรา จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับลูกค้า ร้านค้า และไรเดอร์ พร้อมทำให้ฟู้ดแพนด้าเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนจะเติบโตและก้าวเดินไปพร้อมๆ กัน” ศิริภา กล่าวทิ้งท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า