Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จับตาอนาคตประเทศไทย ทั้งคนไทย และสื่อมวลชนต่างประเทศ ต่างให้ความสนใจกับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้

เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ซึ่งมีผลออกมาอย่างเป็นทางการว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ยังไม่ผ่านด่านเสียงกึ่งหนึ่งจากรัฐสภา โดยมีผู้เห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 เสียง ชาวไทยจึงต้องจับตามองกันต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้ว ใครจะได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย

ไม่เพียงแต่ชาวไทยที่ติดตามเรื่องนี้ แต่สื่อต่างประเทศก็ได้ให้ความสนใจอย่างท่วมท้น ทั้งฝั่งเอเชีย ยุโรป รวมไปถึงสื่ออเมริกาอีกหลายแห่ง และยังมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในสถานการณ์ทางการเมืองของไทยอีกด้วย

โดยสื่อตะวันตกหลายแห่งเห็นตรงกันว่า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของไทยนั้นไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็นเพราะมีสาเหตุมาจากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ชื่อดังอย่าง New York Times พาดหัวข้อข่าว ‘ พันธมิตรคณะรัฐประหารปฏิเสธผลการเลือกตั้งไทย ทำพรรคฝ่ายค้านตกราง ’ พร้อมชี้ว่า สมาชิกวุฒิสภาที่เป็นผลพวงจากคณะรัฐประหาร ขัดขวางแคนดิเดตนายกฯ หัวก้าวหน้าที่ชนะการเลือกตั้ง ส่งผลให้จะต้องมีการลงคะแนนเสียงอีกครั้ง

ในขณะที่นิตยสารข่าว Times พาดหัว ‘ผู้ชนะการเลือกตั้งของไทย พ่ายแพ้ในการโหวตครั้งแรกเลือกนายกฯ ของรัฐสภา’ และระบุว่า แม้พรรคก้าวไกลชนะคะแนนเสียงช่วงเลือกตั้งในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา แต่การลงคะแนนโหวต พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายก กลับถูกปฏิเสธจากสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

ด้านสำนักข่าว CNN ระบุในหัวข้อข่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวานเป็น ‘วิกฤตการณ์ประชาธิปไตยไทย หลังรัฐสภาไม่สามารถเลือกนายกฯ คนใหม่ได้’

พร้อมทั้งมองว่า พรรคน้องใหม่อย่าง ก้าวไกล ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และสามารถกวาดที่นั่งมาได้มากที่สุดเป็นผลพลอยได้จากความโกรธเคืองของคนไทยต่อระบอบการปกครอง พร้อมให้ความเห็นว่า ถึงแม้จะชนะการเลือกตั้งอย่างชัดเจน แต่พิธาก็ยังห่างไกลจากความแน่ชัด และตั้งคำถามว่า ‘สรุปแล้ว ใครจะได้เป็นนายกฯ ไทยคนต่อไป? ’

นอกจากนี้ CNN ยังระบุอีกว่า หากการโหวตเลือกนายกฯ นัดถัด ๆ ไปยังไม่สำเร็จ มีโอกาสที่พรรคร่วมรัฐบาลจะระส่ำระสายและเกิดการหยุดชะงักทางการเมือง ซึ่งมีโอกาสจุดชนวนการประท้วงของภาคประชาชน

ในขณะที่ สำนักข่าว ABC มองว่า มีความกังวลตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งแล้วว่า ฝ่ายอนุรักษนิยมของไทยที่กุมอำนาจอยู่อาจใช้สิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองคิดว่าเป็น ‘การเล่นสกปรก’ ในการกุมอำนาจต่อไป

ABC เอง มองตรงกับนักวิชาการในไทยหลายคนว่า (กลุ่มอนุรักษนิยมของไทย) มักใช้ศาลและองค์กรอิสระอย่าง กกต. ในการตัดสินคำวินิจฉัยเพื่อทำลายหรือโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ขณะที่ฝั่งเอเชีย สำนักข่าวชื่อดังแห่งสิงคโปร์อย่าง CNA ชี้ว่าความพยายามของพิธาในการทำตามนโยบายของพรรคทำให้เขาตกที่นั่งลำบากท่ามกลางสายสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอนุรักษนิยมกับกลุ่มคนรวยที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยมาหลายทศวรรษ และเชื่อว่าพวกเขาเองคือกลุ่มคนที่พยายามจะขัดขวางเขาไม่ให้อยู่ในสภา

ด้าน Kyunghyang Shinmun สำนักข่าวจากเกาหลีใต้ ให้ความเห็นว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้สถานการณ์การเมืองไทยตกอยู่ในม่านหมอกมากขึ้น คาดว่านักการเมืองจะสู้กันอย่างดุเดือด เพื่อเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งต่อไป และมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดความวุ่นวายจากการประท้วงของกลุ่มผู้สนับสนุนพิธา

นอกจากนี้ ยังคาดการณ์อีกว่า หากพิธาถอยจากตำแหน่ง พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคอันดับสอง อาจจัดตั้งรัฐบาลร่วมและเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งในกรณีนี้ อาจนำไปสู่หลายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่น เพื่อไทยอาจจะหันไปจับมือกับกลุ่มทหาร หรืออาจจะยังคงความเป็นพันธมิตรกับก้าวไกลต่อ

นักวิชาการด้านไทยศึกษาแห่งสถาบัน ISEAS–Yusof Ishak ประเทศสิงคโปร์ Michael Montesano ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมกับสำนักข่าว ABC ว่า สุดท้ายแล้ว ระบบการเมืองไทยและกลุ่มคนที่มีอำนาจต้องหันมาสนใจความเป็นจริงของสังคมไทยและความทะเยอทะยานของเหล่านักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาให้เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาไทย ได้เคาะวันโหวตครั้งต่อไป และออกหนังสือนัดประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 19 ก.ค. นี้ จึงต้องลุ้น และจับตามองสถานการณ์การเมืองไทยต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้ว ผลสรุปการเลือกตั้งครั้งนี้ จะลงเอยแบบใด

ที่มา

The New York Times, Time, CNN, abcnews, cna, naver

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า