Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก นับเป็นวิกฤตใหญ่ที่วัดความแข็งแกร่งของทุกวงการ โดยเฉพาะ “ด้านสุขภาพ” ที่นอกจากต้องค้นคว้าวิธีรักษาและป้องกันแล้ว ยังต้องคงมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในแบบปกติไว้ให้ได้ ทำให้เราได้เห็นนวัตกรรมการแพทย์มากมายเกิดขึ้นจากวิกฤตนี้ workpointTODAY ชวนฟังประสบการณ์ตรงจาก นพ.ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช จากเวทีทอล์คความรู้ THAILAND TOMORROW by workpointTODAY ที่เล่าถึงการใช้เทคโนโลยีการแพทย์รับมือกับวิกฤตไปพร้อมกับการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ และดีขึ้นกว่าเดิม

โดยหยิบยก 4 เรื่องสำคัญที่ไทยต้องเรียนรู้และนำไปปรับใช้ ดังนี้

เมื่อเรามีเทคโนโลยี เจ็บป่วยอะไรก็ไม่ต้องไปถึงโรงพยาบาล

นพ.ชัยรัตน์ กล่าวถึง ทิศทางการแพทย์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นหลังวิกฤต COVID-19 โดยกล่าวถึงพฤติกรรมการใช้บริการด้านการแพทย์ของคนไทยว่า นิสัยของคนไทยไม่ว่าจะเจ็บป่วยด้วยโรคอะไรจะวิ่งเข้าหาโรงพยาบาล (Sick Care) แต่ในอนาคตจะกลายเป็นแบบ Home Care คือดูแลตัวเองที่บ้าน และ Early Care หรือการดูแลก่อนป่วย และ Self Care คือ การดูแลตัวเองลดการพึ่งพาแพทย์ โดยที่มีแพทย์เป็นคนคอยให้คำปรึกษาแนะนำในการดูแลตัวเอง คาดว่าจะเป็นทิศทางการแพทย์ในอนาคตในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ โดยมีเทคโนโลยี Self Care อาทิ Samitivej Engage Care, Gate Care, BODY Censor, Alexa ซึ่วเป็น Virtual Hospital ที่เหมือนการยกโรงพยาบาลไปที่บ้าน Telemedicine รักษาผ่านสมาร์ทโฟน รักษาผ่านรีโมท โดยไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์ แต่อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปโรงพยาบาลก็ยังคงมีอยู่ แต่จะมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากขึ้น เช่น Smart ER เอาโรงพยาบาลมาไว้ในรถฉุกเฉินของพยาบาล รวไปถึงการใช้ AI ในการเอ็กซเรย์เป็นผู้ช่วยแพทย์

แต่อย่างไรก็ตาม Sick care โรงพยาบาลก็ยังมีความจำเป็น แต่จะมีลักษณะของการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยี้ข้ามาช่วยมากขึ้น เช่น Smart ER เอาโรงพยาบาลมาไว้ในแอปฯ AI ในการรักษา Telehealth

ดันสตาร์ทอัพด้านสุขภาพไทย ให้เท่าทันโลก

ปัจจุบันสตาร์ทอัพด้านสุขภาพไทยมีอยู่ไม่น้อย แต่หากพูดถึงสตาร์ทอัพที่โดดเด่นเป็นรูปเป็นร่าง นอกจากสมิติเวชแล้ว ยังมี“Arin Care” ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการยา “Diamate” แอปพลิเคชันช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน “Ooca” แพลตฟอร์มวีดิโอคอลปรึกษาสุขภาพจิต และยังมีอีกจำนวนมากที่กำลังเริ่มต้น และแม้ว่าสตาร์ทอัพด้านสุขภาพในไทยจะมีมากขึ้นจริง แต่ถามว่าพอหรือไม่นั่น นพ.ชัยรัตน์ มองว่ายังไม่พอ เพราะหากมองไปทั่วโลกสตาร์ทอัพด้านสุขภาพเติบโตไปไกลแล้ว

วงการสุขภาพในระดับโลกที่จะเขย่าวงการสาธารณสุขไทย

นพ.ชัยรัตน์ ยกตัวอย่างเทคโนโลยีด้านสุขภาพของต่างประเทศ อย่าง Amazon ที่เริ่มทำ Telehealth (รักษาทางไกล) Health Lake (เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ) ร้านขายยา หรือ Google ที่ทำเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับบสุขภาพ ทำ AI คัดกรองความเสี่ยงก่อนป่วย, Apple ที่ทำแอปบันทึกข้อมูลสุขภาพ ทำเรื่องหัวใจ หอบหืด และฟิตเนส อย่าง Apple Watch ซึ่งทำได้ดีมาก รวมไปถึง Microsoft ที่ไม่ยอมแพ้และทำ Telehealth การจัดกเก็บข้อมูลผู้ป่วย และทำ Precision medicine (การแพทย์แบบเจาะจง)
“เมื่อมองเห็นภาพแบบนี้แล้ว คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้วิ่งเข้ามาในไทย นี่ขนาดยังไม่รวมจีนที่มี Alibaba Health มี Good Doctor และ WeDoctor ซึ่งก้าวหน้าไปมาก และเมื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่วิ่งเข้าไทย สิ่งที่จะกระทบกับพวกเราคือ โรงพยาบาลต่างๆ จะเริ่มสั่นคลอน ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอกจะหายไป โดยเฉพาะผู้ป่วยนอก เพราะมีการปรึกษาแพทย์ทางไกลได้ และหากพบโรคก็อาจไม่ต้องส่งตัวไปที่โรงพยาบาลไทย เพราะสามารถผ่าตัดข้ามทวีปได้แล้ว ดังนั้นก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยในลดลง เพราะฉะนั้นต้องระวัง อย่าสร้างโรงพยาบาลใหม่เยอะ เพราะอนาคตจะมีเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ โรงพยาบาลจะว่าง แต่อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลไม่ได้ว่างทั้งหมด ว่างแค่บางส่วนเพราะคนไข้ยังมี 2 กลุ่ม คือ Old Norm Customer และ New Norm Customer ซึ่งในอนาคตคนไข้ที่มาพบหมอรูปแบบเก่าจะลดลง ดังนั้นโรงพยาบาลจำเป็นต้องมีอีกทีมที่ทำเรื่องสตาร์ทอัพ เรื่องนวัตกรรมขึ้นมาควบคู่กัน เพื่อทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปจากผู้ป่วยกลุ่มเดิมที่เดินทางมาพบแพทย์น้อยลง”

แต่การจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาไม่ใช่ทำทันที แต่ต้องจัดระบบองค์กรใหม่ให้เข้าที่ ปรับความคิดให้เท่าทันนวัตกรรมพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้หมายความว่าบุคลากรของโรงพยาบาลจะต้องเปลี่ยนทุกคนทั้งหมด อาจใช้วิธีเปลี่ยนเฉพาะคนที่พร้อม ส่วนคนที่ไม่พร้อมให้ดูแลคนไข้รูปแบบเก่าแต่ต้องมีการพัฒนาทักษะให้มากขึ้น โรงพยาบาลจะมีบุคลากรมี 2 ส่วน คือที่ดูแล Old Norm Customer และดูแล New Norm Customer ที่ทำงานประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะการพัฒนาเทคโนโยยีสนับสนุนการแพทย์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ในระยะเวลาสั้นๆ จำเป็นต้องสังคยานาองค์กร จัดระบบบริหารจัดการใหม่จากความเชื่อที่ว่า “นวัตกรรมไม่สามารถเกิดขึ้นบนกองขยะได้”

ต่อกรสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้า

ภาพวงล้อระบบเศรษฐกิจ (Economics System) ที่มีลูปของ Medical Hub และ Med Hub โดย นพ.ชัยรัตน์ ระบุว่า การจะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ ทั้ง 2 ลูปนี้จะต้องเคลื่อนไปพร้อมกัน หมายความว่าทั้ง 2 ส่วนจะต้องเอื้อซึ่งกันและกัน คือ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสามารถเป็นลูกค้าในบริการอื่นๆ ได้พร้อมๆ กันด้วย และสิ่งที่ประเทศไทยจะต่อกรได้ คือ จุดแข็งด้านบริการที่คุณภาพดี โดยเฉพาะด้านการแพทย์และการเป็นครัวของโลก รวมทั้งโรงแรม ห้างสรรพสินค้าที่เรามีความโดดเด่นในด้านบริการ แต่ภาพที่เกิดขึ้นขณะนี้ยังเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่ได้เอาจุดแข็งที่มีมาร่วมกัน พร้อมกับ เสนอการพัฒนาจุดแข็งร่วมให้เศรษฐกิจเคลื่อนต่อไปว่า

“การจะทำให้เกิดจุดแข็งร่วม ต้องอาศัย PPP Model คือ Public Private Partnership เพื่อรวมสิ่งเหล่านี้ให้อยู่ร่วมกันได้ ขณะเดียวกันต้องทำให้เกิดจุดแข็งใหม่ เพื่อให้เกิดจุดขายใหม่ และต้องดึงนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศ และลงทุนกับสตาร์ทอัพบ้านเรา และให้สิทธิพิเศษ เช่น ฟรีวีซ่าอยู่ได้หลายปี แบบเดียวกับที่สิงคโปร์ทำ ซึ่งหากเราทำได้พร้อมกับการเติม นวัตกรรมในทุกๆ ด้านของวงล้อของ 2 ลูป จะสามารถหมุนและเดินหน้าไปได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การท่องเที่ยวที่กิน 30% ของ GDP แต่ขณะนี้การท่องเที่ยวลดลงไปถึง 84.2 % นั่นหมายความว่าประตูสวรรค์เราถูกปิดลง ลูปทั้ง 2 ก็เคลื่อนไม่ได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องดูแลเรื่องการท่องเที่ยวก่อน ซึ่งการท่องเที่ยวแก้โดยใช้ 4 Clean Model คือ ฉีดวัคซีนในพื้นที่เสี่ยงเรียกความเชื่อมั่นว่าไทยปลอดภัย ให้วัคซีนกับคนในพื้นที่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ทำให้กลายเป็นเมืองปลอดโรค และนำกลุ่มที่ทำงานรับนักท่องเที่ยว แอร์โฮสเตส นักบิน มาฉีดวัคซีน ให้เป็น Clean flight แล้วเราก็รับคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือ Vaccine Passport ไม่ต้องกักตัว หากทำได้จะทำให้ประดูสวรรค์ หรือ การท่องเที่ยว เกิดขึ้น และทำให้วงล้อระบบเศรษฐกิจหมุนเดินหน้าต่อไปได้” นพ.ชัยรัตน์ กล่าว

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า