Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นายสุริยะ รับหนังสือจากกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญาและคณะเกี่ยวกับการข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะการแบน 3 สาร ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ก่อนการประชุม

วันที่ 27 พ.ย. ที่กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดใหม่ ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน ประชุมโดยมีสาระสำคัญเรื่องการแบน 3 สารเคมี คือ พาราควอต, ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งคณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดเดิม มีมติให้ห้ามใช้และห้ามครอบครอง ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2562 เป็นต้นไป และให้กรมวิชาการเกษตรไปยกร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งขอให้กรมวิชาการเกษตรไปพิจารณาระยะเวลา ความเหมาะสมในการบริหารจัดการวัตถุอันตรายที่ยังคงเหลืออยู่หลังจากประกาศมีผลบังคับใช้ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องด้วย

ในที่ประชุม วันนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการว่า มีการประชุมหารือแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการวัตถุอันตรายที่ยังคงเหลืออยู่ รวมถึงผลกระทบด้านอื่นๆ พบว่ามีข้อจำกัดในการปฏิบัติ หากจะให้การยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 รายการมีผลในวันที่ 1 ธ.ค. 2562 รวมทั้งผลการประชุมรับฟังความคิดเห็น ซึ่งพบว่ามีผู้ไม่เห็นด้วย และมีข้อเสนอแนะเป็นจำนวนมาก คือ

– การจัดการสารที่คงค้าง ซึ่งมีจำนวน 23,000 ตัน โดยประมาณ ซึ่งหากต้องทำลายจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และมีบางส่วนไม่สามารถผลักดันให้ส่งกลับไปได้
– ผลกระทบที่จะเกิดต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ ซึ่งอาจจะไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรได้ เนื่องจากอาจมีสารตกค้างอยู่ในผลผลิตดังกล่าว และในประเด็นนี้ยังไม่มีมาตรการในการบริหารจัดการ
– ผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะกรรมการวัตถุอันตราย จึงได้เสนอให้คณะกรรมการพิจารณาทบทวนมติเมื่อวันที่ 22 ต.ค.2562 ซึ่งที่ประชุม คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้พิจารณาข้อเสนอ และมีมติดังนี้

1. ให้ออกประกาศกำหนดวัตถุอันตรายพาราควอต และคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ห้ามใช้และห้ามครอบครอง) โดยให้กำหนดระยะเวลาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 สำหรับวัตถุอันตรายไกลโฟเซตให้ใช้มาตรการจำกัดการใช้ตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561
2. มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจัดทำมาตรการรองรับในการหาสารทดแทนหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมสำหรับวัตถุอันตรายพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส รวมถึงมาตรการในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และให้นำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาภายในระยะเวลาสี่เดือนนับจากวันที่มีมติ

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของสารไกลโฟเซต สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เคยทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยแนบเอกสารจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐว่า การแบนสารไกลโฟเซต โดยไม่พิจารณาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการนำเข้าถั่วเหลืองและข้าวสาลีของไทย จึงหวังว่าประเทศไทยจะพิจารณาความกังวลนี้

 

มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตร ที่มีจุดยืนไม่เลื่อนแบน 3 สาร แต่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการวัตถุอันตราย ถ่ายรูปกับกลุ่มผู้สนับสนุนให้มีการแบน 3 สาร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า