Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แฟนบอลสิงห์เหนือเดือด ปาพลุแฟร์ลงเต็มสนาม หลังฮัมบวร์กล่วงตกชั้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

จากเกมบุนเดสลีกานัดปิดท้ายของฤดูกาลที่ผ่านมา ในเกมคู่ระหว่าง ฮัมบวร์ก เอสเฟา กับ แวเดอร์ เบรเมน เกิดเหตุจลาจลขึ้นในช่วงท้ายเกม เมื่อแฟนบอลกลุ่มอุลต้าของทีมเจ้าบ้านแสดงความไม่พอใจด้วยการปาพลุแฟร์จำนวนมากลงมาในสนาม จนทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสนาม ต้องเข้าระงับความวุ่นวาย

ซึ่งสาเหตุของการจลาจลมาจากการที่กลุ่มไม่พอใจอย่างมาก ที่ทีมของตัวเองตกกระเด็นตกชั้นจากบุนเดสลีกา ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศ ไปเล่นในบุนเดสลีกา 2 ในฤดูกาลหน้า โดยก่อนนหน้านี้ทีมฮัมบวร์ก เอสเฟา ถือเป็นทีมเดียวที่ยังไม่เคยต้องตกชั้นเลยนับตั้งแต่บุนเดสลีกาถูกก่อตั้งขึ้นเป็นเวลา 55 ปี

“สิงห์เหนือ เสือใต้” เป็นวลีที่แฟนฟุตบอลเยอรมันหรือแฟนบอลลีกอื่นในไทยหลายคนอาจจะคุ้นหูกันบ้าง แน่นอนว่าแฟนบอลหลายคนรู้อยู่แล้วว่า เสือใต้ก็คือบาเยิร์น มิวนิค ยักษ์ใหญ่แดนใต้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของฟุตบอลเยอรมัน บุนเดสลีกาจึงเป็นเรื่องของบาเยิร์น มิวนิค กับทีมที่เหลือ

แต่คุณจะรู้หรือไม่ว่ามีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่บัลลังค์แชมป์ของบาเยิร์นถูกสั่นคลอนจากทีมแดนเหนือทีมหนึ่งที่มีชื่อว่า ฮัมบวร์ก เอสเฟา มันเป็นขับเขี่ยวกันของทั้งสองทีมในช่วงปลายยุค 70 จนถึงต้นยุค 80 และจากเหตุการณ์นี้เองทำให้เกิดวลี “สิงห์เหนือ เสือใต้” ขึ้น

ดิโน่ ฮาร์มาน (ซ้าย) มาสคอตของทีมฮัมบวร์กกับ เอ็มม่า (ขวา) มาสคอตของโบรุสเซีย ดอทมุนด์

ฉายา “แดร์ ดิโน่” หรือ “ไดโนเสาร์” ตัวสุดท้ายมากจากไหน ?

บุนเดสลีกาสถาปนาขึ้นในช่วงปี 1963-1964 เพราะทางสหพันธ์ฟุตบอลเยอรมันต้องการที่จะพัฒนาฟุตบอลภายในประเทศให้มีความมั่นคงและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะรวมลีกระดับกึ่งอาชีพทั้งหลายทั่วประเทศเยอรมันตะวันตกในเวลานั้นให้เป็นลีกเดียว

ซึ่งฟุตบอลลีกของประเทศเยอรมันในตอนนั้นเรียกว่า “โอเบอร์ ลีกา” ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 โซนคือ เหนือ, ใต้, ตะวันตก, ตะวันตกเฉียงใต้ และเบอร์ลิน โดยฮัมบวร์กนั้นเป็นหนึ่งใน3 ทีมตัวแทนจากภาคเหนือที่จะเข้าร่วมบุนเดสลีกาฤดูกาลแรก โดยอีก 2 ทีมจากภาคเหนือคือ ไอน์ทรัค เบราน์ชไวก์, แวร์เดอร์ เบรเมน (แวร์เดอร์ เบรเมนเป็นคู่อริสำคัญของฮัมบวร์ก)

นั้นทำให้สิงห์จากแดนเหนือเป็นหนึ่งในทีมที่อยู่ในศึกบุนเดสลีกาเยอรมันตั้งแต่ฤดูกาลแรกจนถึงฤดูกาลปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 55 ปี โดยที่ไม่เคยตกชั้นแม้แต่ครั้งเดียว จนได้รับฉายาว่า “ไดโนเสาร์ตัวสุดท้าย” (ในช่วง 2 ฤดูกาลแรกบาเยิร์นยังไม่ได้ขึ้นมาเล่นบุนเดสลีกา มิเช่นนั้นอาจมีไดโนเสาร์ถึง 2 ตัว เพราะบาเยิร์นก็เป็นอีกหนึ่งทีมที่ไม่เคยตกชั้น)

ยุคทองของฮัมบวร์กคือช่วงปี1977 จนถึงปี 1983 โดยในช่วงเวลานั้นได้พวกเขาได้สุดยอดนักเตะอย่าง “ไมตี้ เม้าส์” เควิน คีแกน จากลิเวอร์พูลมาร่วมทีมในปี 1977 จนในปี 1978 ฮัมบวร์กคว้าแชมป์ลีกสูงสุดมาครองได้ในรอบ 19 ปี และถือเป็นแชมป์บุนเดสลีกาสมัยแรกของสโมสรอีกด้วย

ในปี 1979-80 พวกเขาสามารถทะลุไปถึงนัดชิงชนะเลิศยูโรเปี้ยนส์คัพแต่ก็ไปพ่ายให้กับนอตติงแฮม ฟอเรสต์แชมป์เก่าจากอังกฤษไปอย่างน่าสียดาย ส่วนผลงานในลีกฮัมบวร์กภายใต้การนำของสุดยอดโค้ชอย่าง “ฮอร์สต์ ฮรูเบท” สามารถครองแชมป์บุนเดสลีกาได้ 2 สมัยติดต่อกันในปี 1981-1983 โดยเฉพาะปี 1982-1983 นับเป็นจุดสูงของทัพสิงห์เหนือ เพราะนอกจากจะซิวแชมป์บุนเดสลีกาสมัยที่ 3 มาครองได้แล้ว พวกเขายังคว่ำยูเวนตุสยักษ์ใหญ่จากอิตาลี ในนัดชิงยูโรเปี้ยนส์คัพที่สนามที่เอเธนส์ โอลิมปิก สเตเดี้ยม

ทำให้พวกเขาเป็นทีมที่สองของเยอรมันต่อจากบาเยิร์น มิวนิคที่คว้าถ้วยแชมป์ยุโรปใบใหญ่ได้สำเร็จ และเป็นเพียงสองในสามทีมเท่านั้นที่เคยประสบความสำเร็จถึงขั้นนี้ (อีกทีมคือโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ที่คว้าแชมป์ในปี 1996-1997)

จุดตกต่ำของทัพสิงห์เหนือ

หลายคนที่ติดตามฟุตบอลเยอรมันคงจะคุ้นตากับภาพฮัมบวร์ก ที่ต้องกระเสือกกระสนดิ้นรสหนีตกชั้นอยู่เป็นประจำแทบจะทุกปี ปัญหาใหญ่ๆที่ทำให้พวกเขาเป็นเช่นนี้คือการเสียนักเตะฝีเท้าดีไปทุกปีไม่ว่าจะเป็น  ปิแอร์-มิเชล ลาซ็อกก้า, ฮาซาน ซัลฮาโนกลู และกองหน้าเค-ป็อป ซอน เฮือน-มิน และไม่สามรถหานักเตะมาทดแทนหรือ ไม่สามารถปั้นดาวรุ่งที่เก่งขึ้นมาใช้งานได้

และอีกนึ่งปัญหาก็คือฮัมบวร์กเปลี่ยนเทรนเนอร์บ่อยมาก เฉลี่ยคือเปลี่ยนทุกฤดูกาล มันเลยทำให้การทำทีมเกิดความไม่ต่อเนื่องอย่างมาก บวกกับปัญหาอื่นๆทั้งปัจจัยภายในสนามและภายนอกสนามทำให้ทีมมีการพัฒนาที่ไม่ต่อเนื่อง และเมื่อต้องต่อสู้กับปัญหาต่างๆที่เสมือนกับโรคร้ายมานานหลายปี ในที่สุดไดโนเสาร์ตัวสุดท้ายก็ต้องอำลาบุนเดสลีกาไปในที่สุด หลังอยู่บนเวทีนี้มานานกว่า 54 ปี 261 วัน  โดยคว้าแชมป์บุนเดสลีกาไปได้ 3 สมัยด้วยกัน

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า