Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

น้ำมันสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ขององค์การเภสัชกรรม ได้รับการบรรจุเป็นรายการยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรแล้ว

วันที่ 11 พ.ค. 2565 ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้พิจารณาบรรจุน้ำมันสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ขององค์การเภสัชกรรมเป็นรายการยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2564 และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 โดยน้ำมันสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ขององค์การเภสัชกรรม ที่ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี THC สูง ยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี CBD สูง และยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี CBD และTHC สัดส่วนเท่ากัน ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

รายการยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นยาสำหรับใช้ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข โดยมีสรรพคุณและข้อบ่งใช้ตามข้อกำหนดทางการแพทย์ โดยน้ำมันสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ขององค์การเภสัชกรรมทั้ง 3 รายการเป็นรูปแบบยาหยดใต้ลิ้น ประกอบด้วย ยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี THC สูง รักษาเสริมในการรักษาภาวะคลื่นไส้ อาเจียนจากเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายที่มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือมีอาการปวดในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง ยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี CBD สูง ตามโครงการของกรมการแพทย์ และยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี CBD และTHC สัดส่วนเท่ากัน รักษาเสริมในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดปานกลางถึงรุนแรง

ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อว่า ประชาชนสามารถเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรได้ในระบบบริการสุขภาพของรัฐ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านยา ปัจจุบันมีหน่วยบริการทางการแพทย์ที่ได้รับอนุญาตจ่ายกัญชาทางการแพทย์ที่เป็นโรงพยาบาลภาครัฐ จำนวน 893 แห่งทั่วประเทศ และเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษา จึงควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและสั่งจ่ายยาซึ่งแพทย์เหล่านี้ได้ผ่านการอบรมการใช้กัญชามาอย่างถูกต้องและเลือกใช้ยาที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยโดยเฉพาะยาที่ได้รับอนุญาตจาก อย.แล้ว และเป็นยาที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร

“การบรรจุยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วยและส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาที่มีความจำเป็นได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะยาที่มีราคาสูง และส่งเสริมให้ประชาชนได้หันมาใช้ยาที่ผลิตจากสมุนไพร ทดแทนการนำเข้ายาที่มีฤทธิ์ในการรักษาคล้ายกัน ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศลงได้” ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม ระบุ

(ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม)

 

 

 

 

 

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า