Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

UNEP หรือ United Nations Environment Programme หน่วยงานที่รับผิดชอบประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้องค์การสหประชาชาติ ทำหน้าที่กำหนดวาระด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก รายงานว่า กำลังนำ AI เข้ามาช่วยร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)เพื่อเป้าหมายสู่ Net Zero

โดยได้สร้างแพลทฟอร์มดิจิทัลที่มีชื่อว่า World Environment Situation Room (WESR) ขึ้นมา ใช้ประโยชน์จากความสามารถของ AI ในการวิเคราะห์สถานการณ์โลกร้อนแบบเรียลไทม์เวลาจริง แพลทฟอร์มนี้ทำหน้าที่เซ็นเซอร์จับตาสภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของทั้งโลกแบบเชิงลึก เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์และประเมินคาดการณ์ความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศต่าง ๆ โดยดูความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของมวลธารน้ำแข็ง ไปจนถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล อีกส่วนสำคัญคือสามารถตรวจสอบการปล่อย ‘ก๊าซมีเทน’

อย่าลืมว่าไม่ใช่แค่ ‘คาร์บอนไดออกไซด์’ เท่านั้นที่มีผลต่อโลกร้อน แต่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าโลกก็ต้องเร่งควบคุมลดการปล่อยก๊าซมีเทนด้วยเช่นกัน เพราะเป็นอีกตัวการหนึ่งของภาวะโลกร้อน ซ่ึงก๊าซมีเทนมีอยู่ทั้งในธรรมชาติ และที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ที่มาจากธรรมชาติ อาทิ การย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต ส่วนที่มาจากฝีมือมนุษย์ก็เช่นการทำเกษตรกรรม ปศุสัตว์ กระบวนการเกิดและเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

UNEP หมายมั่นให้แพลทฟอร์ม WESR ที่ใช้ประโยชน์จาก AI ช่วยตรวจสอบและทำให้เกิดการวางแผนชะลอการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทนได้

ทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลสาธารณะทั่วโลกให้เห็นการปล่อยก๊าซทั้งสองตัวนี้ ซึ่งเทคโนโลยีตรวจจับทำได้แม่นยำและละเอียดมากในระดับที่ยังไม่เคยมีมาก่อนเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศด้วยข้อมูลที่แม่นยำขึ้น น่าเชื่อถือ และเป็นอิสระ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ

โดย UNEP ตั้งเป้าหมายให้ แพลทฟอร์ม WESR เป็นศูนย์กลางข้อมูลและตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย

ทั้งยังหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ หน่วยงาน องค์กร ไปจนถึงใช้ในการสอนเด็กๆในห้องเรียนให้เข้าใจสถานการณ์และปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ UNEP ยังร่วมกับ IQAir ก่อตั้งแพลทฟอร์มดิจิทัลอีกอันที่ชื่อว่า GEMS Air Pollution Monitoring เป็นเครือข่ายข้อมูลตรวจจับคุณภาพอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก

รวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศกว่า 25,000 แห่งใน 140 ประเทศ และใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบของคุณภาพอากาศตามเวลาจริง และช่วยแจ้งมาตรการป้องกันด้านสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าตอนนี้ลำพังให้สถาบันใหญ่อย่างสหประชาชาติมานำการขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความท้าทายที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้

ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการที่ประเทศต่าง ๆ ให้คำมั่นสัญญาร่วมมือในการรักษาอุณหภูมิของโลกให้ไม่สูงเกิน 2 องศาเซลเซียสก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ทำได้ยากมาก

แต่ที่หวังได้ คือในปี 2023 นี้ ความเคลื่อนไหวในประเด็นนี้จะเข้มข้นขึ้น ซึ่งภาคธุรกิจพยายามปรับตัวจากเงื่อนไข กฎกติกากฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกบีบและกำหนดเพิ่มมาในกระบวนการผลิต ค้าขาย ส่งออก

นอกจากนี้ ผู้บริโภคตื่นตัวกับแบรนด์ต่างๆมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม แบบที่ไม่ใช่การฟอกเขียว หรือ Greenwashing ที่ทำให้เข้าใจผิดด้วยการโฆษณาสินค้าหรือองค์กรให้มีภาพลักษณ์ว่ารับผิดชอบต่อสังคมโดยการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น

ขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของการสนับสนุนและใช้พลังงานทางเลือกก็กำลังมีบทบาทสำคัญ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีแบบ Deep Tech ด้าน Climate Change ให้เข้ามาช่วยโลกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน

คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นวาระสำคัญทั้งโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ และการฟื้นฟูโลกจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็กำลังกลายเป็นเรื่องกระแสหลักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

อ้างอิง [1] [2] [3]

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า