Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทุกคนมีปัญหาทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงานกันทั้งนั้นแหละครับ จริงไหม

และแน่นอน มันก็ไม่ใช่ทุกคนที่เก่งพอ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง หรือ สามารถครองสติมองปัญหานั้นได้อย่างกระจ่างชัด และแก้ปัญหาได้อย่างชาญฉลาด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปัญหานั้นเกิดขึ้นโดยตรงกับตัวเอง และแน่นอนเมื่อมันเป็นปัญหาของตัวเองเมื่อไร เราย่อมมองมันไม่ขาด และไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเวลาที่เราแนะนำคนอื่นๆ

น่าแปลกนะครับ เมื่อปัญหาประชิดตัวเรา เรากลับแก้ปัญหาไม่เก่ง เท่ากับเวลาปัญหาไปรุกรานคนอื่น คุณเคยสงสัยไหมครับว่าทำไม…

อัตตา ตัวตน ความรักตัวเอง ความลำเอียงเข้าข้างตนเอง วิธีคิด และพื้นฐานที่ทำให้เราเป็นเรานี่แหละครับ ทำให้เรามองปัญหาบิดเบี้ยว เมื่อมันเกิดขึ้นกับเรา

ผมเลยอยากชวนให้หลายๆ ท่านที่กำลังอ่านอยู่นี้ ลองคิดแบบใจเขาใจเรา เวลาที่มีใครสักคนในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่เจ้านาย เดินมาปรับทุกข์หรือปรึกษาเราว่าเราควรตั้งรับหรือมีจุดยืนอย่างไร

เพื่อให้เราสามารถช่วยเขาได้ในแบบที่เขาจะไม่ทุกข์ใจไปกว่าเดิม และเราไม่ได้กระโจนลงไปในบ่อน้ำแห่งปัญหานั้นด้วยกัน กอดคอกันจมลงก้นบ่อไป หรือกลายเป็นว่าเขาไม่กล้ามาเล่าอะไรให้คุณฟังอีก

สิ่งที่ต้องมีก่อนเลยก็คือความพร้อมในสามเรื่อง ‘พร้อมทางเวลา’ คือมีเวลาที่เหมาะสมในการพูดคุยรับฟังอย่างตั้งใจ

ตามมาด้วย ‘การพร้อมรับฟัง’ แบบที่ไม่ได้อยากเผือก เพื่อเมาท์ต่อ ฟังเพราะเราอยากเข้าใจ และต่อมาคือ ‘พร้อมที่จะไม่ตัดสิน’ เอาเท่านี้ก่อน

เมื่อเราพร้อมแล้ว ได้ฟังเรื่องราวแล้ว ระวังสักนิดก่อนที่จะพูดประโยคเหล่านี้ครับ

  1. “สู้ๆ นะ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป” การพูดอะไรทำนองนี้ แม้จะฟังดูเป็นบวก แต่มันอาจจะไม่ต่างกับเวลาเราเจอเพื่อนที่กำลังหิวโซ แล้วเราบอกเขาว่า “อดทนนะ…เดี๋ยวก็มีอาหารลอยมาเองแหละ”

ประโยคทำนองนี้มันเหมือนจะให้กำลังใจ แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้ช่วยคนฟังอะไรเท่าไรเลย ตรงกันข้ามมันอาจจะช่วยให้คนพูดรู้สึกดีที่ได้พูดปลอบใจใครสักคน แต่สำหรับคนฟัง เขาแทบไม่ได้รู้สึกว่าเขาได้อะไรเท่าไร

ลองคิดดูดีๆ สิครับ คนกำลังอยู่ในปัญหา ท้อ ล้า แล้วมาเจอการส่งกำลังใจแบบสำเร็จรูป แล้วจากไป “แล้วทั้งหมดที่ฉันระบายไปเมื่อกี้ล่ะ….”

มันอาจจะยิ่งทำให้คนที่เขาไว้ใจเล่าให้เราฟัง รู้สึกด้อยค่าลงไปกว่าเก่าด้วยซ้ำ เพราะเหมือนว่าเขาไม่ได้เล่าอะไรไปเลย และเราเองก็ไม่ได้รับฟังอะไรเลย

  1. “โอ๊ยยยย ของแบบนี้ ง่ายจะตาย ทำแบบนี้สิ…”

“ถ้ามันง่ายดาย มันจะเป็นปัญหาสำหรับใครบางคนหรือครับ” ผมขอถามกลับแค่นี้

ถ้าคุณฟังเรื่องทั้งหมดด้วยใจ และจับประเด็นได้ทั้ง ‘Emotion’ และ ‘Logic’ ของผู้เล่า คุณไม่ควรพูดว่าอะไiง่ายหรือยาก เพราะกลับไปตอนต้นที่ผมชวนคิดว่า ใครอยู่ในปัญหา สิ่งนั้นกำลังเป็นเรื่องยากสำหรับเขาเสมอ

มันอาจจะง่ายสำหรับคนอื่น แต่สำหรับเขามันยังยากอยู่ไงครับ ดังนั้น เมื่อเรารับฟังแล้ว อย่าไปด่วนสรุปด้วยความคิดหรือประสบการณ์ของตนเอง

และการบอกให้ใครทำอะไรในแบบฉบับของคุณ มันอาจจะช่วยแก้ได้ครับ แต่เอาจริงๆ มันไม่ต่างอะไรกับการที่คุณยื่นยาแก้ปวด 1 เม็ด ให้คนป่วย โดยหวังว่ายาแก้ปวดนั้นจะออกฤทธิ์ครอบจักรวาล

ทั้งๆ ที่คุณเพิ่งรู้ว่าเขาป่วย และเผลอๆ อาการยังออกมาไม่หมดด้วยซ้ำ แต่คุณกลับกำลังบอกเขาว่ามันเป็นเรื่องเล็ก

  1. “ผมเข้าใจคุณ 100% ผมเจอปัญหาเหมือนคุณมาก่อน”

อันนี้อาจจะไม่ได้ถึงขั้นเลวร้ายหรือไม่เหมาะสม แต่อยากชวนคิดแบบนี้ครับว่า เอาจริงๆ จากเรื่องราวที่เรารับฟังปัญหาของใคร มันเป็นไปได้จริงๆ หรือครับ ที่ปัญหาของเขาและของเราจะเหมือนกัน 100% และเราเองก็เข้าใจเขาได้ 100%

เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ แบบนี้ครับ เสื้อผ้าไซส์เดียวกัน สีเดียวกัน ตัดออกมาจากร้านเดียวกัน พอคนละคนมาลองเอามาใส่ แม้จะรูปร่างคล้ายกัน มันยังออกมาดูแล้วไม่เหมือนกันเลยครับ ให้เห็นภาพง่ายๆ แค่นี้

การใช้คำว่า ‘เข้าใจ’ มันดีครับ แต่ต้องระวัง คือเราต้องไม่ลืมว่าเมื่อปัญหาเกิดขึ้น มันมี 3 ส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ คือ ตัวปัญหาเอง ผู้ที่กำลังเผชิญปัญหา และความสามารถในการมองและแก้ไขปัญหา

เราไม่สามารถการันตีได้เลยว่า เรื่องที่เขากำลังระบายนี้จะมีทั้ง 3 ส่วนที่ ‘เหมือน’ กับสิ่งที่เราเคยเจอ ปัญหาที่เกิดเหมือนกันจริงหรือ คนที่กำลังมานั่งรับทุกข์นี้เขาเหมือนเราหรือ และความสามารถในการมองหรือ แก้ปัญหา (เมื่อมันมาเป็นปัญหาของตัวเอง) เหมือนกันจริงๆ หรือ

ดังนั้น ต้องไปไม่กระโจนลงไปด่วนสรุปว่าเราเข้าใจ เพราะความเข้าใจของเรา มันเกิดจากการมองปัญหาในแบบของเรา เข้าใจในแบบของเรา

แต่เขาอาจจะอ่อนแอกว่าในบางเรื่อง อ่อนไหวกว่าในบางเรื่อง รวมไปถึงปัญหาที่กำลังเจอนั้นอาจจะแค่คล้าย แต่ใหญ่กว่าปัญหาของเรามากมายก็ได้

ถ้าผมจะแนะนำ เมื่อคุณได้เจอคนที่ต้องการความช่วยเหลือแบบนี้ จงรับฟังอย่างตั้งใจ และพูดเมื่อจำเป็น และอย่ารีบไปบอกว่าปัญหาของเขาคนนั้นสามารถแก้ได้ด้วยยาวิเศษอันนี้ หรือจับใส่หมวดหมู่เดียวกันกับปัญหาที่คุณเคยเจอ

เบื้องต้น ลองปรับคำพูดของคุณดู เช่น

“พี่พอนึกออก ว่าน้องกำลังเจออะไร อาจจะไม่เข้าใจได้ทั้งหมด แต่ก็พอรู้ได้ว่ากำลังเผชิญอะไรอยู่”

“จากที่ได้ฟังเรื่องที่เล่ามา พอจะให้ผมช่วยอะไรได้บ้างไหมครับ”

“อยากให้กำลังใจ เพราะฟังดูแล้วเรื่องที่กำลังเจอ ไม่ง่ายนัก แต่อยากบอกว่าเรายินดีรับฟังเสมอ และ พร้อมจะช่วยถ้าเราพอจะช่วยได้”

ลองดูเพียงเท่านี้ก่อน และผมเชื่อว่าการฟังและการเลือก Word choice ที่ดี จะช่วยให้ทั้งผู้เล่าเรื่อง และตัวเราเอง สามารถบรรเทาความหนักหน่วงของปัญหาไปได้ไม่มากก็น้อย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า