Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปิดตำนาน 105 ปี สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) สู่แลนด์มาร์กแห่งใหม่ ย้ายทุกขบวนรถไฟมุ่งหน้าสู่ “สถานีกลางบางซื่อ” ในเดือนพฤศจิกายน 2564 สถานีรถไฟที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งนี้จึงต้องปิดตัวลง เตรียมแปลงโฉมครั้งใหญ่กลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่สาธารณะในอนาคต

รฟท. ได้มอบหมายให้ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด บริษัทลูกจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง หลังจากเคลื่อนย้ายขบวนรถไฟทั้งหมดสู่สถานีกลางบางซื่อ กลายเป็นสถานีปลายทางแห่งใหม่แทนที่หัวลำโพง ช่วยลดปัญหาการจราจรในเมืองกรุงเทพฯ

ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางกระทรวงคมนาคมได้ให้โจทย์ รฟท. ศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพงเพื่อทำประโยชน์ โดยได้รับความร่วมมือกันจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งนักวิจัย นักออกแบบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง

ผลสรุปออกมาแบ่งเป็นหลายระยะด้วยกัน และมีความเป็นไปได้หลายแนวทาง พื้นที่ที่จะนำมาพัฒนาประกอบไปด้วย อาคารสถานีหัวลำโพง ชานชาลา ทางรถไฟ โรงซ่อมรถดีเซลราง อาคารสำนักงานรฟท. และพื้นที่ถนนทางเข้าออก พร้อมลานจอดรถด้านถนนพระราม 4 รวมจำนวน 120 ไร่ มูลค่าที่ดินราว 14,400 ล้านบาท

สำหรับแนวทางการพัฒนาที่ดินย่านหัวลำโพงล่าสุด แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 โซน แต่ละโซนจะถูกพัฒนาแตกต่างกันออกไป โดยจะมีทั้งพื้นที่เชิงพาณิชย์ พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่อนุรักษ์ ยกตัวอย่างพื้นที่เชิงพาณิชย์ในโซนโรงซ่อมรางและรถโดยสาร ในอนาคตจะกลายเป็นที่ตั้งของร้านค้า ร้านอาหาร และพื้นที่ทำกิจกรรม พร้อมปรับทางเดินเลียบคลองผดุงกรุงเกษม

หรืออย่างในโซนอาคารสำนักงาน รฟท. วางแผนทำเป็นโครงการมิกซ์ยูส ที่จะมีทั้งร้านค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ตลาด โรงแรม และอาคารสำนักงาน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอให้พัฒนาเป็นอาคารแนวสูงเพื่อการใช้ประโยชน์ที่คุ้มค่า รวมเอาสถานที่อำนวยความสะดวกต่างๆ มาไว้อย่างครบครัน เปิดให้คนทุกกลุ่ม ทุกวัยเข้ามาใช้บริการได้

ขณะเดียวกันยังเน้นพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่สาธารณะ ผ่านการปรับปรุงอาคารและสถาปัตยกรรมเดิมคงไว้ตามแนวทางอนุรักษ์ พร้อมปรับทัศนียภาพให้สวยงาม เพิ่มพื้นที่สีเขียว พัฒนาทางจักรยานริมรางรถไฟ เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงนี้ยังจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ชุมชนโดยรอบที่อยู่ใกล้เคียงด้วย

ปัจจุบันพื้นที่ตั้งของสถานีหัวลำโพงอยู่ในเขตผังเมืองสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นเขตที่ดินสถานที่ราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ทำให้ยังไม่สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ ทางบริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด จึงกำลังทำเรื่องขออนุมัติปรับสีผังเมืองบริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง 120 ไร่ ให้เป็นผังเมืองสีแดง เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาโครงการตามแผนต่อไป

สำหรับแผนการศึกษาโครงการยังไม่ได้สรุปออกมาอย่างชัดเจน กำลังอยู่ในขั้นตอนของปรับแบบให้เหมาะสมและเปรียบเทียบความคุ้มค่า ซึ่งในเดือนธันวาคมนี้น่าจะได้เห็นแบบพัฒนาเสมือนจริง คาดการณ์ว่าหากแผนการพัฒนาลงตัวแล้ว น่าจะทยอยนำร่องพัฒนาไปก่อนได้ในบางโซน ภายในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้านี้  โดยจะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนต่อไป

การปรับปรุงหัวลำโพงใหม่นี้จะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ รฟท. ด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการดำเนินงานในระยะยาว มุ่งสร้างรายได้จากที่ดินที่มีอยู่และช่วยล้างหนี้เดิมของ รฟท. ที่มีมากถึงหลักแสนล้านบาท จากปัจจุบันบริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด ได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ของรฟท. ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการสถานีธนบุรี และโครงการพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางพระรามเก้า

อย่างไรก็ตามภาพของการพลิกฟื้น ‘หัวลำโพง’ ในครั้งนี้ ถูกวาดหวังให้เป็นสถานที่ที่ตอบโจทย์คนเมืองในหลายๆ ด้าน ทั้งการท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจ ผู้คนสามารถใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันก็ยังคงอัตลักษณ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ในฐานะสถานีรถไฟในตำนานคู่เมืองกรุงเทพฯ สุดท้ายแล้วจะออกมาในรูปแบบไหนก็ต้องติดตามกันต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า