Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีนักร้องนักแสดงสาวดีกรีแพทย์ ปุยเมฆ นภสร พญ.นภสร วีระยุทธวิไล โพสต์แชร์ประสบการณ์เรื่องการตัดสินใจยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการ หลังทุ่มเทเรียนมาตลอด 6 ปี ได้เป็น Intern และแพทย์พี่เลี้ยงออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชบุรี

เวลาต่อมา ปุยเมฆ ได้ลบข้อความในช่องทางโซเชียลมีเดียของตัวเอง พร้อมระบุว่า “ขออนุญาตลบทวิตเรื่องราวที่กำลังเป็นประเด็นอยู่นะคะ เพราะตอนนี้เรื่องเริ่มลามไปถึงพี่ๆ staff ผู้ร่วมงานบางท่าน ซึ่งพี่ๆ ส่วนใหญ่ที่ได้ทำงานด้วยน่ารัก เราไม่อยากให้ใครต้องมาโดนร่างแหไปด้วยเลย แค่นี้ก็เครียดกันพอแล้ว ขอจบเรื่องราวนี้ ฝากไว้แค่ว่า ระบบมีปัญหาค่ะ คนข้างในเหนื่อยกันมากๆ”

[ปัญหาที่เป็นมานานในวงการสาธารณสุข]

นพ.อำนาจ กุสลานันท์ กรรมการแพทยสภาและอดีตนายกแพทยสภา เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุข้อความว่า “Intern ลาออก Staff ก็ลาออก วิกฤตินี้ท้าทาย ความสามารถผู้บริหาร สธ. ยิ่งนักว่าจะแก้ไขอย่างไร”

ขณะที่ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แชร์บางส่วนของข้อความที่ ‘ปุยเมฆ’ ทวีตไว้บน เฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมระบุว่า “เพียงหนึ่งประโยค…ก็สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจของคนได้ ยิ่งหากเป็นภาวะกดดัน วิกฤติ การรักษาน้ำใจ ให้กำลังใจ ย่อมมีคุณค่ายิ่งนัก สถานการณ์เช่นนี้ หากเกิดขึ้นจริง ย่อมบ่งบอกถึงการขาด sympathy ขาด empathy ขาดการให้เกียรติ ไม่มองการทำงานแบบทีม และบรรยากาศที่เต็มไปด้วยลักษณะ hyper-bureaucratic จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปทั้งระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริหาร งบ ตำแหน่ง และคน”

เว็บไซต์สำนักข่าวไทย เปิดเผยบทสัมภาษณ์ของ รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะประธานคณะกรรมการโรงพยาบาล ในกลุ่มสถาบันแพทย์แห่งประเทศไทย (UHOSNET) ยอมรับสถานการณ์ของบุคลากรทางการแพทย์ลาออกจากระบบราชการเป็นเรื่องจริง และไม่ได้เป็นแค่วิชาชีพแพทย์เท่านั้น ยังรวมไปถึงพยาบาลและเภสัชกร ก็ลาออกเช่นกัน โดยพบมากในบุคลากรระบบราชการในต่างจังหวัด ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีมานาน

โดยปัญหาเริ่มสะท้อนชัดเจนมากขึ้นจาก 3 ปัจจัย ได้แก่

1. ภาระงานที่มากขึ้น

2. ทัศนคติของบุคลากรรุ่นใหม่เปลี่ยนไป ทั้งเรื่องค่าตอบแทน ค่าครองชีพที่อาจไม่สอดคล้องกับในสภาวะการณ์ปัจจุบัน โอกาสการศึกษาต่อเพื่อพัฒนา รวมถึงการฟ้องร้อง เพราะรักษาคนไข้ในปัจจุบันก็ไม่เหมือนในอดีต

3. หลังสถานการณ์โควิด ความต้องการบุคลากรในภาคเอกชนหรือต่างประเทศมีมากขึ้น

ประธาน UHOSNET ยังยอมรับด้วยว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรลาออกจากระบบราชการ คือ การบริหารจัดการงบประมาณในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ภาระการทำงานของแพทย์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่เงินบำรุงลดลง ส่งผลให้โรงพยาบาลหลายแห่ง บริหารงบประมาณด้วยสภาพตัวแดง ขาดทุน เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับ ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่เพียงพอเพื่อพัฒนาระบบ

สำหรับ ข้อมูลสถิติแพทย์ล่าสุด ของ ‘แพทยสภา’ ณ วันที่ 4 เม.ย. 66 พบว่า มีจำนวนแพทย์ทั้งหมด 72,250 คน แบ่งเป็น ชาย 39,207 คน หญิง 33,043 คน

จากข้อมูลระบุว่า แพทย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ 68,725 คน แบ่งเป็นชาย 36,401 คน หญิง 32,324 คน นอกจากนี้ เป็นแพทย์ที่ยังสามารถติดต่อได้จำนวน 66,685 คน เป็นชาย 34,953 คน หญิง 31,732 คน

จำนวนแพทย์ ตามที่อยู่ในกทม. มีจำนวน 32,198 คน เป็นชาย 17,039 คน หญิง 15,159 คน และจำนวนแพทย์ ตามที่อยู่ในต่างจังหวัด มีจำนวน 34,487 คน เป็นชาย 17,914 คน หญิง 16,573 คน

 


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาแบบ 1:1

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite

*คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า