Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์กลุ่ม LGBTQIA+ ของญี่ปุ่นกำลังเป็นที่จับตามองจากนานาชาติ หลังจากพบว่า ญี่ปุ่นเป็นชาติเดียวในประเทศกลุ่ม G7 ที่ยังไม่อนุมัติกฎหมายคุ้มครองสิทธิกลุ่มเพศหลากหลาย ทำให้ถูกกดดันจากทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และนานาชาติ

จุดเริ่มต้นที่ทำให้ความนิยมต่อรัฐบาลลดลงจากกรณีฉาวเจ้าหน้าที่รัฐเหยียดเพศ

จากการสำรวจความคิดเห็นเมื่อไม่นานมานี้ การสนับสนุนจากสาธารณะของนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นลดลงเหลือประมาณ 30% หลังจากการลาออกของเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนที่มีเรื่องอื้อฉาวในปีที่แล้ว (2022)

ซึ่งในบรรดาผู้ที่ลาออกจากตำแหน่งอย่าง มิโอะ ซูงิตะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร ได้ลงตำแหน่งจากประเด็นการแสดงความคิดเห็นเหยียดเพศต่อกลุ่ม LGBTQIA+ และชนเผ่าไอนุ ชนเผ่าพื้นเมืองของญี่ปุ่น

และในปีนี้ (2023) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายคิชิดะ ปลดผู้ช่วยคนหนึ่ง หรือ มาซาโยชิ อาราอิ ลงจากตำแหน่งหลังจากกล่าวต่อสาธารณะว่า เขาไม่ต้องการอยู่ร่วมกับเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล หรือคนข้ามเพศ และกล่าวเตือนว่า หากอนุญาตให้มีการสมรสเท่าเทียม ประชาชนจะหนีออกจากประเทศ

สื่อท้องถิ่นรายงานว่า มาซาโยชิ อาราอิ เจ้าหน้าที่เศรษฐกิจและการค้า ที่เข้ารับตำแหน่งเลขานุการของนายคิชิดะเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมายังกล่าวด้วยว่า เขาไม่ต้องการกระทั่งมองคู่รักเพศเดียวกันด้วยซ้ำ

“ความเห็นของเขาอุกอาจและขัดต่อนโยบายของรัฐบาลโดยสิ้นเชิง” นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุ

ซึ่งความเห็นของนายอาราอิ ผู้ช่วยที่ถูกปลดจากตำแหน่งมีขึ้นหลังจากที่นายคิชิดะกล่าวในสภาว่า การแต่งงานในเพศเดียวกันจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างครอบครัวได้

ข้อกฎหมายคุ้มครองสิทธิ LGBTQIA+ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสภาอย่างไม่รู้จบ

ในช่วงเวลาเดียวกัน พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party) รื้อร่างกฎหมายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจต่อกลุ่ม LGBT กลับขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งแม้ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีจะถูกไล่ออกไปแล้ว แต่การคัดค้านมาตรการต่อต้านการเลือกปฏิบัติยังคงอยู่

ซึ่งเดิมมีแผนในการร่างกฎหมายเพื่อ “ส่งเสริมความเข้าใจ” ต่อกลุ่ม LGBTQIA+ แต่ฝ่ายอนุรักษนิยมในพรรคเสรีประชาธิปไตยคัดค้าน โดยเฉพาะหลังจากมีการเพิ่มมาตรการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม LGBT โดยเฉพาะ จึงทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกระงับไป

ปัจจุบันที่ญี่ปุ่น มีเทศบาลประมาณ 260 แห่ง และ 11 จังหวัด ได้จัดตั้ง “ระบบคู่ชีวิต” หรือการรับรองอย่างไม่เป็นทางการสำหรับคู่รัก LGBTQIA+ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างกว้างขวางเพื่อความเท่าเทียมในการสมรสเพศเดียวกันทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังไม่มีกฎหมายรับรองคู่รักเพศเดียวกันอย่างเป็นทางการ

แรงกดดันจากนานาชาติ ในฐานะที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม G7 ครั้งต่อไป

ด้วยเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ G7 กำลังถูกกดดันจากหลายช่องทาง โดยเฉพาะประเทศกลุ่มสมาชิก G7 ที่เขียนจดหมายสนับสนุนให้ทางการญี่ปุ่นออกกฎหมายคุ้มครองการไม่เลือกปฏิบัติต่อรสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และลักษณะทางเพศ แก่ประชาชนกลุ่ม LGBTQIA+ ในประเทศ หลังกรณีผู้ช่วยแสดงความเห็นด้อยค่าดูถูกกลุ่มเพศหลากหลาย

โดยผู้เสนอร่างกฎหมายส่งเสริมความเข้าใจต่อกลุ่ม LGBTQIA+ กล่าวว่า หากร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ผ่านก่อนการประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ญี่ปุ่นจะต้องเผชิญกับความอับอายจากนานาชาติ หลังจากที่ประเทศลงนามในแถลงการณ์เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งรวมถึงคำมั่นสัญญาที่จะปกป้องสิทธิของกลุ่ม LGBTQ โดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า จำเป็นต้องมีการใช้ถ้อยคำที่หนักแน่นและห้ามการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน

ญี่ปุ่นยังขาดการคุ้มครองต่อการไม่เลือกปฏิบัติสำหรับชาว LGBTQIA+ แม้จะมีการสนับสนุนสำหรับ “พระราชบัญญัติความเท่าเทียม” แต่ญี่ปุ่นยังบังคับให้คนข้ามเพศที่ต้องการเปลี่ยนเพศอย่างถูกต้องตามกฎหมายต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลครอบครัว รับการประเมินทางจิตเวช และผ่าตัดทำหมัน

ทิศทางต่อประเด็นความคุ้มครองและไม่แบ่งแยกกลุ่มเพศหลากหลายเป็นไปในทางที่ดีขึ้น?

ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤษภาคมนี้ กลุ่ม LGBTQIA+ ในญี่ปุ่นและนานาชาติ ได้เข้าร่วมการประชุม Pride 7 ซึ่งจัดขึ้นที่สภาผู้แทนราษฎร กรุงโตเกียว เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

แคมเปญ Pride 7 เปิดตัวขึ้นเพื่อผลักดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นนำกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติกลุ่ม LGBT มาใช้ และผลักดันให้ G7 มีความเข้มแข็งในการจัดการกับการละเมิดสิทธิของกลุ่มเพศหลากหลายในกลุ่มประเทศ G7 และทั่วโลก ในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น และจัดตั้ง Pride 7 (P7) เป็นพื้นที่ในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของกลุ่ม LGBTQIA+ อย่างเป็นทางการ

ในการนี้ จัดเป็นโอกาสที่ดีในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งในแถลงการณ์ร่วมปี 2022 ผู้นำ G7 รวมถึงญี่ปุ่น ให้คำมั่นสัญญาว่า:

“เราขอยืนยันความมุ่งมั่นทั้งหมดของเราในการสนับสนุนต่อการตระหนักถึงความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ตลอดจนบุคคลข้ามเพศ และนอน-ไบนารี่ (Non-Binary) และเพื่อให้แน่ใจว่า ทุกคนเป็นอิสระจากอัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกหรือรสนิยมทางเพศของพวกเขาเหล่านั้น และได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้รับการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงด้วย”

ทั้งนี้ ผลสำรวจจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ทัศนคติของสาธารณชนต่อการแต่งงานของเพศเดียวกันเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อย รวมถึงภาคธุรกิจที่สร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลของนายคิชิดะเป็นอย่างมาก

นายมาซาคาสึ โทคุระ ประธานสมาพันธ์องค์การทางเศรษฐกิจ (Keidanren) กล่าวในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า ระหว่างการเดินทางเยือนสหรัฐฯ เขาได้พบช่องว่างระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศอื่น ๆ ในประเด็นที่น่าอายเกี่ยวกับกลุ่ม LGBT ที่ซึ่งจำกัดกลุ่มผู้มีความสามารถสำหรับบริษัทระดับโลกมาเป็นเวลานาน แม้แต่บริษัทญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมก็ยังพบว่า ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของพวกเขาตกอยู่ในอันตรายหากปราศจากความหลากหลาย ซึ่งรวมถึงสิทธิของกลุ่มเพศหลากหลายด้วย

ล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (23 เม.ย.) ได้มีขบวน Pride แบบเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพื่อเฉลิมฉลองถึงความก้าวหน้าในสิทธิของกลุ่มเพศหลากหลาย และเป็นการเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมกับประเทศที่ก้าวหน้าอื่น ๆ ในการรับรองการสมรสเท่าเทียมอย่างถูกกฎหมาย ที่มีผู้เข้าร่วมเดินขบวนถึง 10,000 คน ซึ่งมีความหวังว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศของพวกเขา

ที่มา:

Washington Post

Reuters , Pride Parade

HRW

APCOM

G7 communiqué

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า