Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คุยกับอดีตสมาชิกประชาธิปัตย์ที่เคยลงเรือลำเดียวกันมากว่า 13 ปี “กษิต ภิรมย์” ในวันที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เปลี่ยนไปครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคเมื่อ 73 ปีที่แล้ว

อุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ผู้ก่อตั้งพรรคให้ไว้วันที่ 6 เมษายน 2489 ซึ่งมีอยู่ใน นโยบายพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2562 มีทั้งหมด 10 ข้อ โดยข้อที่ถูกพูดถึงมากที่สุด เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำโดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค ตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ และโหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย คือ ข้อ 4 พรรคจะไม่สนับสนุนระบบและวิธีแห่งเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นระบบและวิธีการของรัฐบาลใดๆ 

หลักการประชาธิปัตย์ พรรคที่ไม่มีเจ้าของ

นายกษิต ภิรมย์ เป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ยื่นหนังสือลาออก เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 หลังจากสมัครเป็นสมาชิกพรรค มาตั้งแต่เกษียณอายุราชการต้นปี 2549 หรือประมาณ 13 ปีที่แล้ว ช่วงที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ นายกษิต ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี 2551 โดยคำพูดสำคัญคำหนึ่งคือ “ประชาธิปัตย์” เป็นพรรคที่ไม่มีเจ้าของ

กษิต ภิรมย์ เคยไปถึงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2552

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ได้รับโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนที่อยู่กับ “ประชาธิปัตย์” มาถึง 13 ปี แต่วันนี้ต้องตัดสินใจหันหลังให้

กษิต : หลักการของพรรคประชาธิปัตย์ คือ พรรคที่จะเข้าร่วมในเวทีที่มีการแข่งขันระหว่างพรรค มีการเลือกตั้งตัวแทนของคนที่จะดำรงตำแหน่งในรัฐสภา และรัฐบาล จัดได้ว่าเป็นพวก “เสรีนิยม” ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ไม่ใช่สังคมนิยม ไม่ใช่ประชานิยม และเอา “คน” เป็นตัวตั้ง คือคนต้องมีสิทธิเสรีภาพ ไม่ถูกกดขี่ ควบคุม บังคับ กักบริเวณ มีสิทธิในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น และรวมตัวกันได้ ตามหลักการของประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม กว่า 70 ปีตั้งแต่วันก่อตั้งพรรค ประชาธิปัตย์จะไม่ข้องแวะกับ “ประชาธิปไตยแบบนี้” และเมื่อ 20-30 ปีก่อน มีชื่อเสียงมากในเรื่องการไม่เอาด้วยกับรัฐบาลทหาร

“เมื่อวันที่ 6 เมษายน ผมทำบันทึก 4 หน้ากระดาษถึงผู้ใหญ่ในพรรค ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการไปร่วมกับขั้วไหนก็แล้วแต่ ผมอยากจะให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นขั้วที่ 3 ในสภา เป็นเสียงแห่ธรรม เป็นเสียงเห็นสามัญสำนึกของประชาชน แต่คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ก็อยากเป็นรัฐมนตรี และรัฐบาล ผมก็เลยลาออกเรื่องก็มีแค่นี้ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนทั้งสิ้น ตั้งแต่คุณชวน รับเป็นประธานสภาฯ ผมก็ตั้งใจอยู่แล้วว่า จะลาออก ผมก็รอจนพรรคมีมติครั้งสุดท้ายที่จะส่งชื่อไปให้คุณประยุทธ์

ทั้งหมดนี้ผมเห็นว่า ประชาธิปัตย์ได้เบี่ยงเบนจากอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย แล้วเท่ากับว่าการเข้าไปอย่างนี้คือการเข้าไปเห็นชอบอีกครั้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย หรือเป็นประชาธิปไตยครึ่งเดียว และไปให้ความเห็นชอบกับหลักการที่จะให้คุณประยุทธ์ได้อยู่ในอำนาจต่อไป และเท่ากับไปอุ้มพรรคพลังประชารัฐ ผมอยู่ในสภาพที่ผมไม่สามารถจะรับได้”

10 กว่าปีที่อยู่กับประชาธิปัตย์ครั้งนี้ถือว่าเปลี่ยนไปที่สุด?

กษิต : ใช่ครับแต่ไม่ใช่ที่สุด เพราะก่อนหน้านั้นไม่เคยมี เป็นครั้งแรกแต่เป็นครั้งที่สำคัญ ผมจะไปสอนเด็กๆ ในโรงเรียนเรื่องประชาธิปไตยและความเป็นประชาธิปไตยของพรรคประชาธิปัตย์ได้อย่างไร เด็กก็ถามว่าคำว่า สืบทอดอำนาจแปลว่าอะไร แล้วพรรคประชาธิปัตย์ไปยอมรับได้อย่างไร เพราะ 5 ปีที่ผ่านมา พรรคการเมือง และนักการเมืองไม่ได้รับเกียรติ แต่พอถึงแบบนี้นักการเมือง และพรรคการเมืองทั้งหลายไปสยบ

อะไรที่ทำให้ประชาธิปัตย์เปลี่ยนไป?

กษิต : มีบางคน คณะกรรมการบริหารบางคนอยากได้ตำแหน่ง ผมได้บอกว่าออกมาเป็นพลังที่ 3 อยู่ในสภาอะไรดีก็สนับสนุนอะไรไม่ได้ก็ไม่สนับสนุนแล้วยืนเพื่อประชาชน และมีเวลาปฏิวัติพรรค ผมได้เคยเสนอตอนเป็น สปท. ให้แต่ละพรรคการเมืองต้องมีการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคโดยตรง โดยสมาชิกของพรรคทั้งหมด แต่ “หัวหน้าพรรคคนใหม่” ก็ไม่ได้ทำตรงนั้น มีคนเลือกกว่า 300 คน แต่ไม่ได้ใช้เสียงทั้งหมดของสมาชิกพรรค ดังนั้นชุดนี้จึงไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ การตัดสินใจไปร่วมรัฐบาลก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเพราะมีคนตัดสินแค่ 80 คน

เพราะภาพจำกับพรรคด้วยหรือไม่? ถึงทำให้การตัดสินใจแบบนี้ถูกโจมตีมาก

กษิต : ไม่ใช่ถูกโจมตี ทำให้ทุกคนผิดหวังมากกว่า พูดไม่ได้แล้วพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคแห่งเสรีประชาธิปไตย ต้องไปเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของพรรคว่าต่อไปนี้ พรรคประชาธิปัตย์พร้อมจะร่วมงานของพรรคทหารและทหาร ผมคิดว่าคนที่ตัดสินใจให้พรรคไปอยู่ในรัฐบาลน่าจะทำผิดหลักการของพรรค เคยบอกไปบ้างแล้วแต่คงไม่สะดุ้งสะเทือนอะไรกัน

มองประชาธิปัตย์ จากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป?

กษิต : ตอนนี้เท่าที่ทราบ ก็มีพวกยังเติร์กที่อยากฟื้นฟูพรรค ต้องคอยจับตาดูว่าจะเป็นอย่างไร มีการเคลื่อนไหวไม่ใช่ทุกคนเห็นด้วย คุณกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ที่เคยอยู่กับพรรคมานานก็ลาออก เมื่อเริ่มตีจากอุดมการณ์แล้ว ตัวตนจะคืออะไรกันแน่ ส่วนคุณอภิสิทธิ์ ต้องถามว่าพรรคที่อยู่ด้วยวันนี้ยังตรงกับหลักการตัวเองหรือไม่ เมื่อประชาธิปัตย์เป็นแบบนี้ความเป็นพิเศษก็ไม่มี ตรงนี้อยู่ที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์แสนกว่าคนว่าจะทำอย่างไร นี่กันทำพากันเข้ารกเข้าพงหรือเปล่า ศักดิ์ศรี ความศรัทธาจะมีอะไรเหลือ คนได้ประโยชน์มีแค่ 200 คน พรรคจะเป็นอย่างไรก็ไม่ใช่เรื่อง นั่นเป็นความเห็นแก่ตัวอย่างที่สุด

อีกหนึ่งมุมมองของคนที่เคยสัมผัสกับพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ที่ไม่เคยมีใครเป็นเจ้าของ ยึดถือหลักการประชาธิปไตยมากว่า 73 ปี อนาคตของพรรคที่เคยยิ่งใหญ่พรรคนี้จะเป็นอย่างไร คงต้องจับตาดูกันต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า