Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์จุฬาฯ เปิดงานวิจัยภาวะ Long Covid เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย Long Covid อาจส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และภาระต่อระบบสุขภาพระยะยาว

วันที่ 13 ม.ค. 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์โควิดทั่วโลกพร้อมอัปเดตการวิจัย Long COVID โดยระบุข้อความว่า Carter SJ และคณะจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยที่เป็น Long COVID ใน medRxiv เมื่อวานนี้ (12 ม.ค. 2565) พบว่าหากเปรียบเทียบกันกับคนปกติ ผู้ป่วย Long COVID นั้น นอกจากจะมีอาการคงค้างต่างๆ ตามที่เราเคยทราบมาก่อนแล้วยังพบว่า ทำให้มีสมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวันแย่กว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ การออกกำลังกายในยามว่างลดลง มีภาวะตึงเครียด งุนงง และความผิดปกติทางอารมณ์

หากมองเชิงระบบ ไม่ว่าจะระบบสังคม หรือระบบการทำงานในระดับหน่วยงานรัฐและเอกชน การติดเชื้อจำนวนมาก ย่อมทำให้มีโอกาสที่จะมีคนที่เป็น Long COVID มาก ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ผลิตภาพจะลดลง รวมถึงส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนอื่น ไม่ว่าจะในครอบครัว และในที่ทำงาน

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหา Long COVID และภาระต่อระบบสุขภาพระยะยาวย่อมมีสูงเป็นเงาตามตัว

สำหรับพวกเราทุกคนควรป้องกันตัวและครอบครัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นอกเป็นหน้ากากผ้า อยู่ห่างคนอื่นเกินหนึ่งเมตร เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี หากไม่สบายคล้ายหวัด ให้คิดถึงโควิดไว้ด้วยเสมอ หาทางตรวจรักษา

รายละเอียดฉบับเต็ม : www.facebook.com/thiraw

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

  • 5 กลุ่มเสี่ยงเป็นภาวะ Long COVID

ก่อนหน้านี้ นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ได้อธิบายอาการของภาวะ Long COVID ว่าคือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เนื่องจากในขณะที่ป่วยโควิด-19 ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางอย่างขึ้นมา และไปจับกับโปรตีนเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ อาการ Long COVID เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว แสดงออกได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกัน เช่น ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยล้า ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ท้องเสีย เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง และบางรายอาจมีอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้าร่วมด้วย

ผลกระทบ Long COVID สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท, ระบบทางเดินอาหาร, หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ด้วย

กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะพบอาการ Long COVID คือ

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้มีในขณะติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะ Long COVID ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ

แต่กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักหรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการ Long COVID ได้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันที่ได้จากการรับวัคซีน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า