Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)

วันที่ 18 ก.พ.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และสถาบันอิศรา จัดงาน “รู้เท่าทัน-วางกฎเหล็ก Mass Shooting-สังหารหมู่ซ้ำ บนสื่อทีวี – ออนไลน์” ณ ห้องวิภาวดีบอลลูม บี ชั้น ล็อบบี้ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

โดย รมว.ดีอีเอส กล่าวถึงสาเหตุการจัดเวทีระดมความคิดเห็นในวันนี้ว่า “ข่าวในกรณีโคราช วันนี้เราได้รับการยืนยันว่าคนที่ประสบเหตุ มีอีกส่วนที่รอดออกมา แต่นอนไม่หลับทุกคืน ได้รับผลกระทบทางจิตใจ ซึ่งคนไทย สื่อหลัก สื่อออนไลน์ นักวิชาการ ทุกคนต้องช่วยกันหาทางออกและแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น ผมจะรับทุกอย่างมาแก้ไขปัญหา ไม่ได้มีความตั้งใจจะลิดรอนสิทธิใคร แต่หากมีความจำเป็นที่ต้องสร้างเกณฑ์ เราต้องทำ หากต้องแก้กฎหมาย ต้องไม่เป็นกฎหมายที่มาจากภาครัฐ แต่ต้องเป็นความเห็นมาจากทุกคน”

วันนี้มีผู้เข้าร่วมการระดมความคิดเห็นทั้งสื่อหลัก สื่อออนไลน์ influencer มาพูดถึงแนวปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติ เราได้รับความเห็นในหลายประเด็น ได้แก่

  1. ควรมีผู้บัญชาการด้านการสื่อสาร ที่ไม่ใช่เป็นแค่ผู้บัญชาการที่ดูแล แต่ต้องทำหน้าที่บริหารจัดการเรื่องการสื่อสาร ให้ข้อมูลที่ถูกต้องให้สื่อไปถ่ายทอดต่อได้ เช่น ตอนสิบสามหมูป่า มีผู้แถลงข่าวทุกวัน วันละหลายครั้ง ไม่มีผู้สื่อข่าวเข้าไปในพื้นที่ เพราะผู้บัญชาการเหตุการณ์ และผู้บัญชาการณ์สื่อสารได้กำหนดแนวทางไว้แล้ว รูปและข่าวต้องมาจากส่วนกลางเท่านั้น
  2. การเลือกสื่อ ใครจะเป็นผู้ถ่ายทอด ส่งข่าวให้ประชาชนได้รับทราบ ประชาชนต้องเลือกเสพสื่อที่ดี เราต้องมีช่องทางชัดเจน เช่น รัฐอาจจะประกาศว่าต่อไปนี้ให้ติดตามทางใดเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนไม่เกิดความสับสน สำหรับการลงทะเบียนเพื่อตีกรอบผู้ที่เรียกตัวว่าเป็นสื่อนั้น อาจต้องดูว่าจะเป็นการแก้กฎหมาย หรือเป็นการให้สื่อบริหารจัดการเอง เช่น การลงทะเบียนความร่วมมือกับสมาคมโดยไม่ต้องมีกฎหมาย เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นก็รับผิดชอบได้ ส่วนคนที่ไม่ลงทะเบียน หากมีอะไรก็ต้องดำเนินการกฎหมาย เป็นต้น และอีกหลายประเด็น โดยจะเน้นเฉพาะ social media
  3. ความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ ไม่ว่าผู้เผยแพร่จะเป็นสื่อหรือไม่ หากบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริง ไปลงในออนไลน์ สามารถถูกฟ้องหมิ่นประมาทได้ ญาติผู้เสียชีวิตสามารถฟ้องได้ หากถูกเอารูปไปลง ปัจจุบัน พ.ร.บ. ยังไม่มีการจำแนกบทลงโทษ เช่น คนแชร์ คนสร้างข่าว จะมีบทลงโทษ ที่ต่างกันอย่างไร ซึ่งต้องหารือกันต่อไป

โดยเรื่องการรับมือกับผลกระทบจากสื่อในเหตุการณ์วิกฤตนี้ ยังไม่เคยเกิดในประเทศไทย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ยังไม่มีใครหาข้อสรุปได้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อหลักหรือสื่อออนไลน์หรือประชาชน โดยสื่อหลักที่อยู่ในการดูแลของ กสทช. ที่มีการลงทะเบียน ทุกคนมีจรรยาบรรณของตัวเอง เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองข่าว เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์แบบที่เกิดขึ้น

แต่วันนี้มีสิ่งยังไม่มีคนรับผิดชอบ คือคนที่ไม่ได้เป็นสื่อ มีคนติดตาม และลงทะเบียนออนไลน์กับแพลตฟอร์มเอกชน ที่มีการลงข่าวที่อาจจะจริงหรือเท็จ มีคนแชร์ออกไป จึงโทษสื่ออย่างเดียวไม่ได้ และยังไม่มีประเทศไหนสามารถออกกฎหมายบังคับให้สื่อที่นำเสนอผ่าน social media ลงทะเบียนได้ ซึ่งไม่มีแม้แต่ประเทศเดียวในโลก ประเทศไทยไม่มีทางทำได้ในวันนี้ แต่เรามีความตระหนักและตื่นรู้ว่าจะทำอย่างไรให้สังคมนี้อยู่ต่อไปได้

โดยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดีอีเอส กล่าว “ผมได้เดินทางไปหาบริษัทแพลตฟอร์มออนไลน์ของเอกชนที่อเมริกา และเป็นรัฐมนตรีคนแรกของไทยที่ไปหารือว่าจะควบคุมสื่อที่บิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างไร เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่โคราช ทางบริษัทดังกล่าวเป็นคนปิดแอคเคาท์ที่มีปัญหา เพราะเค้าคือแพลตฟอร์มเอกชน รัฐไม่มีสิทธิ์เข้าไปปิด”

หากประเทศไทย ทุกคนพร้อมใจกันลงทะเบียนแสดงความจำนงค์ว่าเป็นสื่อ โดยไม่ต้องให้กฎหมายบังคับ แต่ไปลงทะเบียนกับหน่วยงานกลาง ว่าเป็นสื่อออนไลน์ ซึ่งจะผิดชอบในสิ่งที่ลงในเนื้อหาคงจะเป็นสิ่งที่ดี แต่คงทำได้ยาก หากเหตุการณ์เกิดขึ้นในอนาคต อาจเป็นวิกฤติในสถานการณ์อื่น ๆ ก็จะย้อนรอยสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาอีก ดังนั้นเราจึงต้องเร่งหาแนวทางปฏิบัติในวันนี้ และนำไปต่อยอดต่อไป

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า