Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Meb หรือ เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มขายอีบุ๊กของไทย ประกาศความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เสนอขายหุ้น IPO  ไม่เกิน 75.5 ล้านหุ้น เตรียมบุกตลาดต่างประเทศ ส่งออกวรรณกรรมไทย แปลเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ เพิ่มเติม 

 Meb มั่นใจเป็นผู้นำตลาดอีบุ๊กไทย มีกำไรมาตลอด 

ในงานแถลง ทาง Meb นำโดยคุณ รวิวร มะพะประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เล่าภาพรวมของบริษัทและความสำเร็จที่ผ่านมาว่า ทุกวันนี้ Meb มีผลิตภัณฑ์หลักๆ คือ  

  • Meb แพลตฟอร์มขายอีบุ๊ก ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้มากที่สุดของบริษัทตอนนี้ 
  • แอปพลิเคชั่น readAwrite ที่ให้นักเขียนทั่วไปลงผลงานตัวเองและหารายได้บนแพลตฟอร์มได้ ผ่านการติดเหรียญในแต่ละตอน และการรับโดเนท หรือบริจาคจากนักอ่าน ซึ่งคุณ รวิวร ใช้คำนิยามพฤติกรรมนี้ว่า ‘แม่ยกอิเล็กทรอนิกส์‘ 
  • ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์อ่านอีบุ๊ก (E-Reader)
  • Hibrary ธุรกิจให้บริการห้องสมุดดิจิทัลสำหรับองค์กร 

รายได้และกำไร ตั้งแต่ปี 2562-2564 เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณ รวิวร ระบุว่าเมื่อพิจารณาจากรายได้รวมแล้ว Meb ถือเป็นผู้นำตลาดอีบุ๊กในไทย 

  • ปี 2562 รายได้ 618.72 ล้านบาท กำไร 82.09 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 1,004.68 ล้านบาท กำไร 164.74 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 1,456.38 ล้านบาท กำไร 175.34 ล้านบาท
  • ปี 2465 (9 เดือนแรก) รายได้ 1,263.54 ล้านบาท กำไร 241.85 ล้านบาท 

แม้ตัว Meb คือแพลตฟอร์มที่เป็นรายได้หลัก แต่ readAwrite ถือว่าเป็นตัวช่วยให้คนรู้จัก  Meb  ได้มากที่สุด เพราะมีฐานผู้ใช้กว้างขวาง ตอนนี้มียอดดาวน์โหลดราวๆ 8 ล้าน และมีผู้ใช้งานประจำรายเดือน (MAU) 5 ล้าน กลุ่มอายุที่ใช้ readAwrite คือตั้งแต่ 15-45 ปี 

ต่อข้อซักถามที่ว่า มีแผนจะเปิดพื้นที่โฆษณาใน readAwrite หรือไม่ ทางบริษัทบอกว่าไม่มีแน่นอน 

เพราะโมเดลรายได้ทั้ง Meb และ readAwrite นั้นเป็นการเก็บเปอร์เซนต์จากยอดขายอยู่แล้ว ซึ่งทาง Meb ระบุว่า นักเขียนได้ไป 70-80% ส่วนการโดเนท นักเขียนได้ไป 90% 

 เจาะตลาดต่างประเทศ ส่งออกซอฟต์พาวเวอร์ไทย 

Meb ตั้งเป้าขายหุ้น IPO ไม่เกิน 75.5 ล้านหุ้น ภายในใตรมาสแรกปี 2566 นี้ มูลค่าที่ตราไว้ (Par) 0.5 บาทต่อหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 25.17% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด 

วัตถุประสงค์การใช้เงินคือ ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของ Meb โดยเฉพาะแนววรรณกรรม นิยายโดยจะซื้อลิขสิทธิ์ทั้งนักเขียนไทย และต่างชาติ ไปจนถึงเว็บตูน และหนังสือแนวเศรษฐกิจลงทุนด้วย

นอกจากนี้ยังจะขยายไปยังธุรกิจใหม่ คือขายวรรณกรรมออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มใหม่ในต่างประเทศ ทั้งในแบบภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นเพิ่มเติม 

ภาพรวมตลาดอีบุ๊กในไทย 

คุณ รวิวร เผยว่ายังไม่มีสำนักใดเก็บตัวเลขตลาดอีบุ๊กอย่างจริงจัง ซึ่งจากการคาดการณ์ มองว่า ในตลาดหนังสือที่มี 15,000 ล้านบาทตอนนี้  มีส่วนแบ่งอีบุ๊ก 15-20% หรือราว 2,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงอีบุ๊กของคนไทยยังไม่ถึง 10% ซึ่งเมื่อเทียบกับตลาดในสหรัฐฯ และ ญี่ปุ่น ที่มียอดเข้าถึงไปเลขสองหลักแล้ว

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ และ ญี่ปุ่น ก็เคยมียอดเข้าถึงเป็นเลขหลักเดียวแบบไทยมาก่อน และเมื่อเวลาผ่านไป ประกอบกับอุปกรณ์ที่พัฒนาดีขึ้น คุณภาพอินเทอร์เน็ตดีขึ้น ก็ช่วยให้คนเปิดใจมาอ่านอีบุ๊ก เพราะแม้ตลาดหนังสือปรับตัวลดลง แต่สัดส่วนอีบุ๊กเพิ่ม จึงมองว่ามีอนาคตสดใสและมีโอกาสที่อีบุ๊กจะโตได้อีกมาก 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า