Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

55 อดีตส.ส.อนาคตใหม่ เตรียมเข้าสังกัด “พรรคก้าวไกล (Move Forward Party)”

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะประธานส.ส. ชั่วคราว เตรียมนำสมาชิก 55 คนจากอดีตพรรคอนาคตใหม่ เข้าสังกัดพรรคก้าวไกลภายในสัปดาห์หน้า โดยมีนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกชั่วคราว

 

“ภารกิจของพวกเรา ส.ส.ทั้ง 55 คนคือการที่จะสานต่อในอุดมการณ์ในภารกิจของอนาคตใหม่ ส.ส.อดีตอนาคตใหม่ที่เหลือยังคนยึดมั่นใจอุดมการณ์หลักการณ์ที่เคยร่วมกันทำงานในอดีตพรรคอนาคตใหม่ ขอให้พี่น้องประชาชนได้มั่นใจ แม้จะอยู่บ้านหลังใหม่ แต่หัวจิตหัวใจยังเหมือนเดิม”

“เรายังคงยืนอยู่ข้างประชาชน ยืนอยู่ข้างประชาธิปไตย ยืนหยัด ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารและผลักดันวาระนโยบายที่ก้าวหน้าต่อไป” พิธากล่าวต่อ

ถึงวันนี้จะอยู่ในกระบวนการย้ายบ้านใหม่ แต่ก็มีปัญหาของพี่น้องประชาชนที่รอไม่ได้จึงต้องทำงานต่อทันที โดยแบ่งการทำงานออกเป็นสองกลุ่มด้วยกัน

กลุ่มแรกคือส.ส.ที่อยู่ในคณะกรรมการที่ทำงานใน 5-6 ประเด็นจะเดินหน้าทำหน้าที่ตรวจสอบ ได้แก่ COVID-19 (กมธ.สาธารณสุข ป้องกันภัยพิบัติ แรงงาน), พิษเศรษฐกิจ (กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ, การเงินการคลัง), Flashmob นิสิตนักศึกษา (กมธ.กฎหมาย, พัฒนาการเมือง, การศึกษา, มกธ.วิสามัญแก้ไขรธน.), ภัยแล้ง (กมธ.วิสามัญลุ่มน้ำ, กมธ.การเกษตร), การเสียชีวิตของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ (กมธธ.กฎหมายศาลและองค์กรอิสระ) ส่วนกลุ่มที่ 2 คือคณะทำงานติดตามผลสืบเนื่องจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

หลังพิธาแถลงเรื่องแนวทางของพรรค ก็เปิดโอกาสให้ส.ส. คนอื่น ๆ กล่าวถึงแนวทางการทำงานของตน โดยนายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวถึงเรื่องแรงงาน น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวถึงเรื่องเศรษฐกิจ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวถึง กรณีการเสียชีวิตของนายคณากร เพียรชนะ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กรุงเทพมหานครและนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวถึงการสานต่อประเด็นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ประเด็นแรงงาน

นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ตัวแทนแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลควรมีมาตรการแก้ไขเรื่องปัญหาไวรัสโควิด-19 ที่กระทบกับแรงงาน ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว คือ

1.ระยะสั้น งานบริการที่ไม่ได้รับอุปกรณ์ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นหมอ พยาบาล หรือคนที่อยู่ในสถาประกอบการต้องได้รับการดูแลเพียงพอ ต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน

2.ปัญหาการหยุดกิจการ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน บางแห่งปิดแล้วไม่จ่ายค่าตอบแทน ต้องเข้าไปดูแล

ในระยะกลาง ค่าอุปกรณ์ป้องกันตัวเองของประชาชนต้องได้รับการดูแล ต้องไม่โยนภาระเหล่านี้ให้ประชาชน เพราะหากคิดจากค่าจ้างขั้นต่ำ 331 บาทต่อวัน ค่าอุปกรณ์นี้ก็จะเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ต่อค่าครองชีพ

ส่วนระยะยาว เรื่องกองทุนเงินทดแทน สถานประกอบการกรณีเกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วยจากงาน ต้องมีความชัดเจน รวมถึงการดำเนินการกรณีเงินสมทบเงินประกันสังคมต้องมีการสมทบให้ครบจำนวน รวมถึงกรณีการดูแลแรงงานที่กลับมาจากต่างประเทศ ต้องดูแลจัดการมาตรฐานควรระดับเดียวกัน

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประเด็นกฎหมาย ว่าตนพร้อมผลักดันให้มีการทบทวน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน และผลักดันให้มี กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ที่เปิดช่องให้มีสหภาพแรงงานในภาครัฐ  และในกลุ่มแรงงานต่างชาติ เพื่อแก้ปัญหา GSP ที่กำลังจะมีการดำเนินการตัดสิทธิในเดือนเมษายน

ประเด็นเศรษฐกิจ

ขณะที่ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล กล่าวแสดงความกังวลต่อมาตรการที่จะออกมารองรับสถานการณ์เศรษฐกิจหลังได้รับผลกระทบจาก COVID-19 นั้นจะสามารถฟื้นฟูความเชื่อมั่นประชาชนได้หรือไม่ ทั้งนี้ได้วิจารณ์ว่ารัฐบาลควรทบทวนการแจกเงินให้คนมีรายได้น้อย เกษตรกร อาชีพอิสระ

นอกจากนี้ยังตั้งคำถามต่อการแถลงของ ครม.เศรษฐกิจ ที่ออกมาตรการอีกกว่า 10 มาตรการ ใช้เงินรวมกันกว่า 1 แสนล้าน โดยถามว่าเอาเงินเอามาจากไหน เพราะเงินสำรองฉุกเฉินเหลือไม่ถึง 1 แสนล้านแล้ว

“มีการเสนอวิธีการให้ประกันสังคมเอาเงินมาปล่อยกู้ ซึ่งเราไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเงินของผู้ประกันตน รวมถึงประกันสังคมไม่มีความเชื่ยวชาญจัดการเรื่องนี้ หรือการจะให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารพาณิชย์ไปปล่อยกู้ต่อ เราคิดว่าควรต้องแยกให้มีความอิสระในการบริหาร จริงอยู่แม้เป็นหน่วยงานรัฐ แต่การแทรกแซงรัฐวิสาหกิจแบบนี้แสดงว่ารัฐถังแตก ไม่มีเงินเพียงพอกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามก็มีมาตรการที่เห็นด้วย เช่น การตั้งกองทุนเยียวยาผู้ประกอบการ ไม่ให้มีการเลิกจ้าง เพราะวันนี้ การท่องเที่ยวหาย 50-60 % กระทบผู้ประกอบการ 11 ล้านคน แต่กระสุนที่มีน้อย ต้องพุ่งไปที่ผู้ประกอบการในส่วนที่่ได้รับผลกระทบ เช่น สาธารณสุข ท่องเที่ยว และโรงงานที่เป็นซับพลายเชยกับจีน ต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ไม่ใช่ยิงกราด”  น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

ประเด็นการเสียชีวิตของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ

นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวแถลงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของนายคณากร เพียรชนะ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา

นอกจากนี้ยังตั้งคำถามว่าตกลงแล้ว มีกระบวนการแทรกแซงการทำคำพิพากษาของผู้พิพากษาหรือไม่ และเรียกร้องให้แก้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เพื่อห้ามตรวจร่างคำพิพากษาก่อนอ่านให้คู่ความฟัง เพราะจะเป็นการทำหลายหลักศาลยุติธรรมเรื่องความเป็นอิสระผู้พิพากษา

“เมื่อคุณคณากรได้ตัดสินใจอย่างนี้ ก็นำสู่การตั้งคำถามของสังคม สื่อมวลชน และเราในฐาน ส.ส. ว่าจะทำอย่างไรให้ กระบวนการยุติธรรมเราถูกเชื่อมั่นต่อไป เพราะตั้งแต่ 4 ต.ค. 2562 ที่ท่านพยายามทำอัตวิบากรรมครั้งแรก จนถึงวันนี้ เราไม่เคยเห็นหรือได้ยินเรื่องการปรับปรุงการแทรกแซง หรือว่าที่เกิดขึ้นนั้นมีจริงหรือไม่ มีการแก้ไขหรือไม่ เพราะการที่ผู้พิพากษากระทำแบบนี้ สำหรับตนเป็นเรื่องใหญ่ เราตั้งใจว่า สิ่งที่ท่านเสียสละจะไม่สูญเปล่า ท่านอาจไม่ได้เห็นการปฏิรูปศาล ไม่ได้เห็นการป้องกันการแทรกแซงด ไม่ได้เห็นหลักประกันความอิสระว่าจะถูกสถาปนาให้มีความเข้มแข็งอย่างไร แต่เรายืนยันว่า เราจะทำให้คำพิพากษาเป็นของผู้พิพากษา เพื่อทำให้ความยุติธรรมเป็นของประชาชน” นายรังสิมันต์ กล่าว

ประเด็นขยายผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร กล่าวถึง กรณีผลลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อนายธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ว่าตนเองและนายธีรัจชัย พันธุมาส ส.ส.ที่เป็นผู้อภิปรายนั้น มีข้อมูลที่จะมีผลสืบเนื่องทางกฎหมาย พร้อมส่งต่อหลีกฐานซึ่งจะแสดงความผิดชัดเจนเพื่อส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย ต่อไป

ขณะที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวถึงการอภิปรายที่ผ่านมาของตนเรื่องการปฏิบัติการข้อมูลลข่าวสารว่ายังต้องตามคำตอบ เนื่องจากหากอ้างอิงจากคู่มือปฏิบัติการสนาม เรื่องการปฏิบัติที่มุ่งเป้าประชาชนนั้นเป็นข้อห้าม และ ผบ.ทบ.เองเคยบอกไว้ว่า จะไม่มีปฏิบัติการจิตวิทยา ข่าวสารกับประชาชน ไม่มองประชาชนคู่ขัดแย้ง ดังนั้น คำสั่งใดๆ ไม่ว่าลับหรือไม่ลับ ที่พุ่งเป้าประชาชนนั้นขัดคำสั่ง ผบ.ทบ และผิดคู่มือปฏิบัติการสนามแน่นอน

โดยนายวิโรจน์กล่าวว่ารัฐต้องตอบว่ามีการใช้ภาษีประชาชน คุกคาม แบ่งแยก สร้างความเกลียดชัง ทำลายการรู้รักสามัคคีประชาชน โดยใช้ เจ้าหน้าที่รัฐ น้ำ ไฟ หรือไม่ ทั้งนี้นายวิโรจน์ระบุว่าตนได้ยินว่าอาจมีการส่งถ่ายภารกิจนี้ให้บริษัทเอกชนบางรายดำเนินการต่อ  ส่วนกรณีเว็บไซต์พูโลนี ได้ประสานงานกับนักสิทธิมนุษยชน จะมีการดำเนินการทางกฎหมายเรื่องนี้ต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า