Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ลุ้นวัคซีนป้องกันโควิด-19 นักวิจัยไทย เริ่มทดลองในลิงแล้ว หากได้ผลดีจะทำการทดลงต่อในคน คาดกระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหาร อว.ลงพื้นที่เตรียมการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้างานวิจัยวัคซีนชนิด mRNA ที่ศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ที่กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ให้ทุนสนับสนุน ประสบความสำเร็จในระดับดีหลังทดสอบในหนูทดลองและกำลังเตรียมจะทดสอบในลิง

ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า การทดสอบในลิงจะฉีด 3 ครั้ง สำหรับวัคซีนที่ทดลองในลิง ใช้เทคโนโลยีใหม่ของการวิจัยวัคซีน คือ ใช้สารพันธุกรรมของเชื้อ ชนิด mRNA โดยครั้งที่ 1 ฉีดวันที่ 23 พ.ค. เวลา 7.39 น. ครั้งที่ 2 นับไปอีก 4 สัปดาห์ ครั้ง 3 นับไปอีก 8 สัปดาห์ โดยหลังการทดสอบในเข็มที่ 2 จะทำให้เห็นผลการป้องกันโรคโควิด -19 ได้แล้ว โดยขั้นตอนการทดสอบในลิง ถือเป็นสัตว์ที่ตอบสนองกับไวรัสได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด โดยการทดสอบในลิงจะดูเรื่องความปลอดภัย ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนเมื่อได้รับวัคซีน และการตอบสนอง คือ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้จริง ก่อนที่จะทดสอบในมนุษย์ ซึ่งคาดว่าอีก 2-3 เดือนจะเริ่มทดสอบได้ ทั้งนี้ กระบวนการทดสอบในมนุษย์มี 3 ระยะ พิจารณาใน 4 ประเด็นได้แก่ ความเป็นพิษ ความปลอดภัยต่อร่างกาย การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และประสิทธิผลของวัคซีน คาดว่าจะเริ่มผลิตวัคซีนเพื่อทดสอบในคน ได้ในเดือน ส.ค.ปีนี้

สำหรับ เฟสที่ 1 ทดสอบในคนจะเริ่มจากหลักสิบคน เพื่อดูว่าวัคซีนมีความปลอดภัยหรือไม่ จากนั้น เฟสที่ 2 เพิ่มเป็นหลักร้อยถึงพันคน เพื่อดูว่าสร้างภูมิคุ้มกันได้จริง และเฟสที่ 3 จะทดสอบในหลักหลายพันคน เพื่อดูว่าใช้ได้กับประชากรจำนวนมาก โดย วัคซีนชนิด  mRNA ที่ประเทศไทยใช้ เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด มีข้อดีคือสามารถใช้ได้ผลโดยการใช้ปริมาณวัคซีนที่ไม่มากนัก

ทั้งนี้ ไทยได้มีการสั่งจองการผลิตวัคซีนกับโรงงานผลิต ซึ่งไม่เพียงแก้ปัญหาสำหรับประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นการแก้ปัญหาโรคระบาดในระดับมนุษยชาติ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายการพัฒนาวัคซีนของไทยคือให้คนไทยมีวัคซีนใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกับประเทศชั้นนำทั่วโลก โดยขณะนี้การทดลองวัคซีนส่วนใหญ่ในโลกนี้อยู่ในขั้นตอนที่ไล่เลี่ยกันกับประเทศไทย คือ การทดสอบในสัตว์ทดลอง มีเพียง 6-7 แบบที่ทดลองในคนในระยะที่ 1 แล้ว เช่น ของจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่เราดำเนินการยังมีมากกว่า 1 วิธีการ โดยดำเนินยุทธศาสตร์ 3 แนวทางคู่ขนานกันคือ 1.การวิจัยและทดลองในประเทศไทย สร้างวัคซีนใช้เอง เพื่อยืนบนขาของตัวเอง 2.การร่วมมือกับนานาชาติ และ 3.การเตรียมความพร้อมในการผลิตวัคซีนที่ผ่านการทดลองและพิสูจน์ว่าใช้ได้ผลให้คนไทยได้ใช้อย่างทั่วถึง เพราะนายกรัฐมนตรี ให้นโยบายมาว่า คนไทยต้องมีวัคซีนใช้ในเวลาเดียวกับประเทศชั้นนำอื่นๆ คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน

“ที่สำคัญ ขณะนี้ ศูนย์ไพรเมท วางแผนในระยะยาวคือการสร้างอาคารวิจัยวัคซีนโรคติดเชื้อทางอากาศ ซึ่งจะทำให้การวิจัยพัฒนาและการทดสอบวัคซีนมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น ครอบคลุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ เหมือนอย่างในกรณีโรคโควิด-19” ดร.สุวิทย์ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า