SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากที่ทั่วโลกต้องประสบกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 มาตั้งแต่ช่วงต้นปี ดูเหมือนคำว่า New Normal จะทวีความสำคัญ จนไม่ว่าจะประเทศไหนก็หยิบฉวยมาใช้ คำที่มีขึ้นเพื่อเรียก ‘ชีวิตวิถีใหม่’ ซึ่งเกิดจากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้หลายฝ่ายคาดว่า หลังจากนี้ ไม่มีทางเลยที่ชีวิตของผู้คน จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความเห็นว่า เพราะเชื้อไวรัสโควิด-19 ตัวนี้ เป็นสายพันธุ์ใหม่ ทั้งยังมีพาหะที่เดินทางได้ไว จนแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วใน 200 กว่าประเทศทั่วโลก หลายประเทศจึงออกมาตราการเพื่อหยุดยั้งเชื้อ ด้วยการหยุดการเคลื่อนไหวของมนุษย์

“การปิดน่านฟ้า การข้ามประเทศ ไล่ไปจนถึงว่าต้องให้คนจำนวนมากอยู่บ้าน วงจรการใช้ชีวิต วงจรเศรษฐกิจเกือบจะหยุดหมุน การเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ สังคมเปลี่ยนแน่ครับ ระบบทำงาน ระบบการขนส่ง ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแน่ เพราะว่าคนถูกจับที่หยุดนิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ขยายของโรค”

แต่มากกว่าพฤติกรรมที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้า อย่าง การล้างมือ การแยกใช้ภาชนะส่วนตัว การสวมหน้ากาก หรือการรักษาระยะห่าง ที่จำเป็นต้องทำเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอยู่แล้ว ที่จริง ชีวิตวิถีใหม่นั้นหมายถึงอะไรที่ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล สังคม รวมไปถึงระบบบริการต่าง ๆ ด้วย

“การพูดถึงพื้นที่ ที่จำเป็นต้องสะอาด ร้านค้า หรือสถานที่ซึ่งคนจะต้องไปพบปะกัน จะต้องมีระยะห่าง กิจกรรมกิจการที่มีคนชุมนุมสูง ๆ ต้องปรับตัว อันนั้นจุดสำคัญเลยคือป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าร่าง ไม่ให้เชื้อกระจายออกไป แต่ว่าเลยไปกว่านั้น เราก็รู้ว่าเราต้องมีอีกหลายอย่างต้องทำ เพื่อป้องกัน สร้างรากฐานไม่ให้เราถูกคุกคามจากโรคได้ง่าย” ดร.สุปรีดา กล่าว

และเพราะเป็นที่รู้ดี ว่าผู้ติดเชื้อที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัวพื้นฐาน อย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ มักจะมีโอกาสติดเชื้อรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้มากกว่า ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงจากภายใน การลดพฤติกรรมเสี่ยง งดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสพสารเสพติดต่าง ๆ รวมไปถึงการทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และการออกกำลังกายให้เพียงพอ ก็ได้กลับมาทวีความสำคัญควบคู่ไปกับการป้องกันเชื้อจากภายนอก ในแง่ของสุขภาพจิตเองก็สำคัญ การฝึกจิตให้แข็งแรง รองรับสิ่งที่มากระทบในแต่ละวันได้ดี ก็จะทำให้จิตมีความเสถียร สามารถประคองให้เรามีสติและจัดการกับชีวิตได้

แต่นอกจากจะเตรียมพร้อมที่ตัวเองแล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันในระดับสังคมและชุมชน ก็มีส่วนทำให้คนไทย สามารถรับมือกับภาวะวิกฤต อย่างโควิด-19 ได้ โดยในระดับสังคมนั้นเริ่มได้ตั้งแต่ครอบครัว หากเรามีครอบครัวที่เข้มแข็ง อบอุ่น ย่อมจะเป็นที่พักพิงเยียวยาให้แก่สมาชิกในครอบครัวได้ การออมที่เพียงพอ จะช่วยให้สามารถรองรับความผันผวน ไม่ความมั่นคงที่กระทบต่อชีวิตประจำวันได้

ในระดับชุมชนเองก็เช่นกัน เพราะช่วงที่กรุงเทพฯ เกิดการล็อคดาวน์ ผู้คนเดินทางกลับบ้านจำนวนมาก โครงสร้างของชุมชนไทยก็มีส่วนช่วยรับมือกับวิกฤตได้เยอะ เพราะนอกจากระบบการแพทย์ปฐมภูมิ อย่างอสม.แล้ว ชุมชนในต่างจังหวัดเองก็ได้ร่วมมือกัน จัดหาพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้กักตัวให้แก่ผู้ที่เดินทางกลับเป็นเวลา 14 วัน เพื่อป้องกันความเสี่ยง

“ในสังคมที่แตกแยกสูง ภาวะโควิดก็ยิ่งเห็นความแตกแยกมากขึ้น เกิดจลาจล เกิดความเหลื่อมล้ำที่ถูกขยายตัว ฉะนั้น ในระดับสังคมที่มีภูมิคุ้มกันจะทำให้เรารับมือกับโควิด หรือว่าภาวะวิกฤตทำนองนี้ได้ดีกว่า” ดร.สุปรีดา เสริม

เพราะเชื้อโรคนั้นไม่ได้ติดอยู่กับคนใดคนหนึ่ง แต่กระจายไปถึงกัน หากผู้คนในสังคมนั้น ๆ ได้รับการดูแลไม่ทั่วถึง บางคนถูกดูแลให้ปลอดเชื้อดี บางคนถูกทอดทิ้งให้เผชิญกับโรค ดร.สุปรีดา มองว่าสุดท้ายแล้ว เชื้อก็จะลามติดกันไปจนหมด

“การเรียนรู้ที่จะจัดสังคมให้ปลอดเชื้อ ให้สะอาด ให้ติดต่อกันยาก มันก็นำไปสู่การใช้การจัดการที่ดีต่างๆ ในการที่เราไม่ต้องไปทำงานทุกวัน ประชุมทางไกลได้บ้าง ระบบการเรียน ถ้าการเรียนออกแบบให้หลากหลายกว่าเดิม มีเรื่องของออนไลน์ ออฟไลน์ ผสมผสานอย่างพอเหมาะ เรื่องของบริการทางการแพทย์ ถ้าในระบบเองใช้ระบบการนัดหมาย นอกจากจะลดการแออัด ลดการติดเชื้อ มันยังลดความเหลื่อมล้ำด้วย ระบบสวัสดิการ ซึ่งเราเรียนรู้ว่าเมื่อจะต้องเยียวยากันเนี่ย โกลาหลขนาดไหน ในฐานข้อมูลของผู้คนก็ต้องจัดการจัดระบบ”

โควิด-19 สะท้อนว่า แม้จะอยู่คนละประเทศ แต่ที่จริงแล้ว มนุษย์เชื่อมโยงกันมากกว่าที่ตาเห็น วิกฤตครั้งนี้ย้ำเตือนว่า หากเรายังไม่แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความเท่าเทียม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่สมดุล ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มนุษย์ก็อาจต้องพบเจอกับปัญหาเดิมจากวิกฤติครั้งต่อ ๆ ไปอีก

“เราเรียนรู้ ว่าเราพัฒนาผิดพลาดยังไงในศตวรรษที่ผ่านมา และเราก็ต้องปรับสมดุลนี้ เราได้เห็นตัวอย่างของการกลับมาของสิ่งแวดล้อม เมื่อมนุษย์หยุดคุกคามชั่วคราว การหาจุดสมดุลใหม่ ของการพัฒนาเศรษฐกิจที่สมดุลกับสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเรื่องที่โลกน่าจะต้องเคลื่อนไปหา” ดร.สุปรีดา กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า