Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา เราเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิดว่ากระทบกับทุกคนและทุกภาคส่วนอย่างชัดเจนกว่าวิกฤตอื่นๆ ในอดีต เราเห็นคนรอบตัวเรา บางคนถูกลดเงินเดือน บางคนถูกให้ลาโดยไม่จ่ายค่าจ้าง หรือแม้กระทั่งถูกบริษัทเลิกจ้าง ซึ่งทางพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด ที่ปรึกษาชั้นนำด้านกลยุทธ์และการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี เผยว่าท่ามกลางวิกฤตนี้เอง ถือเป็นช่วงเวลาให้หลายคนสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาส หากมี 6 ทักษะเหล่านี้

1) การฝึกเป็นคนช่างสังเกต (Critical Observation)

ฝึกเป็นคนช่างสังเกตและตั้งคำถาม สงสัยในสิ่งที่เราเจอรอบๆ ตัวว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร หรือทำงานอย่างไร โดยทักษะนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราได้เรียนรู้หลายอย่างที่คนอื่นอาจยังไม่รู้ หรือเห็นในสิ่งที่คนมองข้าม นำไปสู่ไอเดียใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างของบริการที่เกิดขึ้นจากการช่างสังเกตเห็นถึงปัญหาของร้านค้าขนาดเล็กในชุมชน “Locall” บริการ Delivery Hub ซึ่งเป็นสื่อกลางการเชื่อมร้านอาหารในท้องถิ่นกับลูกค้า เช่น ร้านขายข้าวแกง ร้านข้างทางหรือรถเข็นที่ไม่สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์ม Online Delivery โดย Locall ได้รวบรวมบรรดาร้านอาหารในชุมชนเพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านแอพพลิเคชั่น และให้มอเตอร์ไซค์รับจ้างภายในชุมชนนั้นเป็นคนจัดส่งอาหารให้ลูกค้า นับเป็นการช่วยเพิ่มตัวเลือกร้านใหม่ๆ ให้ลูกค้า ช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้ร้านอาหารท้องถิ่น และสร้างงานเพิ่มให้คนในชุมชนไปพร้อมๆ กัน

2) การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving)

นอกจากการฝึกเป็นคนช่างสังเกตและสงสัยแล้ว ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ยังเป็นสิ่งที่ช่วยผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ โดยเราสามารถฝึกทักษะเหล่านี้ได้จากสิ่งรอบตัวเช่นกัน ซึ่งเป็นกระบวนการขั้นถัดไปต่อจากการสังเกต แล้วเริ่มฝึกตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว เช่น สภาพแวดล้อมปัจจุบันดีพอหรือยัง และเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาให้ดีกว่าเดิม การตั้งคำถามแบบนี้จะทำให้เราไม่ยึดติดอยู่กับกรอบหรือแบบแผนเดิมๆ และจุดประกายความคิดใหม่ๆ ขึ้น

ตัวอย่างของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ คือ “โครงการส่งต่อความอิ่ม” จากเว็บไซต์เนติวิทย์ ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือคนที่กำลังลำบาก ไม่มีเงินพอสำหรับซื้ออาหารหรือน้ำ โดยผู้อยากสนับสนุนโครงการ สามารถซื้อคูปองที่ฉีกเป็นใบเล็กๆ ได้จากร้านอาหารหรือร้านน้ำตามชุมชน เมื่อซื้อแล้ว ทางร้านจะติดคูปองไว้หน้าร้าน เพื่อให้คนที่ขาดแคลนเงินสามารถฉีกคูปอง แล้วยื่นให้เจ้าของร้าน เพื่อรับอาหารหรือน้ำฟรีได้เลย ส่วนคนที่พอมีกำลังอยากสนับสนุน ก็สามารถซื้อคูปองเติมให้ร้านเพิ่มได้เรื่อยๆ นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาในชุมชนได้อย่างสร้างสรรค์

3)  ทักษะการสื่อสาร (Communication skill)

ในยุคที่ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ทุกเมื่อทุกเวลาตามความต้องการแบบ On Demand ทำให้ความสนใจของคนสั้นลง โดยเฉพาะบน Social Media ที่คนใช้เวลากับแต่ละโพสต์เพียงไม่กี่วินาที ดังนั้น การจะดึงดูดความสนใจของคนได้ภายในระยะเวลาจำกัดนั้น คุณต้องเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี สามารถสื่อสารสาระสำคัญ

ไปยังผู้รับสารได้อย่างถูกต้อง สั้นกระชับและครบถ้วน โดยผ่านการจัดระบบความคิด และการเชื่อมโยง

ข้อมูลแบบองค์รวม เพื่อถ่ายทอดสาระสำคัญอย่างมีลำดับ

โดยในช่วงการล็อกดาวน์ที่ผ่านมา เราได้เห็นโพสต์ขายสินค้ามากมายตามกรุ๊ป Facebook ของสถาบันต่างๆ ซึ่งหลายอย่างนั้น คนขายเล่าเรื่องได้น่าสนใจจนทำยอดขายถล่มทลาย หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือในกรุ๊ปหาคู่ ที่หลายคนมาสร้าง Story ช่วยเพื่อนโสดหาคู่ได้สำเร็จ

4) กล้าผิดพลาดเพื่อเรียนรู้ (Resilience)

ถ้าอยากค้นพบอะไรใหม่ๆ หรือออกไปนอก Comfort Zone เราต้องกล้าที่จะผิดพลาดบ้าง  และเมื่อผิดพลาดแล้วก็ต้องกล้ายอมรับและเดินหน้าต่อไป ไม่ยึดติดกับความล้มเหลวในอดีต เพื่อให้ได้ค้นพบสิ่งที่ใช่ การกล้ายอมรับความผิดพลาดเพื่อเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องปัญหาส่วนตัวเท่านั้น แต่เอาไปปรับใช้กับการทำงานได้ด้วย เช่น การคิดค้นพัฒนาสินค้าหรือบริการต่างๆ หากไม่กล้าคิด กล้าลงมือทำ เพราะกลัวความผิดพลาดตั้งแต่แรก เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าสิ่งที่คิดถูกต้องหรือไม่

ตัวอย่างความกล้าลองที่เราเห็นกันได้คือการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารในช่วง Social Distancing โดยเฉพาะร้านชาบูปิ้งย่าง ที่คนนิยมไปทานกันเป็นกลุ่มที่ร้าน โดยในช่วงที่ผ่านมา ร้านเหล่านี้ยอมลองทำอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น ขายผ่านช่องทางเดลิเวอรี่ หรือออกเมนูใหม่ๆ อย่างหม้อไฟที่ลูกค้าสั่งไปกินได้ที่บ้าน ซึ่งก็ช่วยสร้างยอดขายชดเชยในส่วนที่หายไปจากการต้องปิดร้าน

5) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)

ในโลกยุคใหม่ ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมากแค่ไหน ความฉลาดทางอารมณ์ยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น เพราะเราจะได้เห็นการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้คนเกิดความเครียดและความกดดันมากกว่าเดิม ซึ่งถ้าไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์มากพอ เราอาจไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ว่านี้ได้ โดยความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการตระหนักรู้ความรู้สึก และอารมณ์ของตนเองและของผู้อื่น แล้วจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการให้กำลังใจตนเอง เมื่อเจอกับปัญหาและอุปสรรค

จากหนังสือ Emotional Intelligence: Why It Can Matter More Than IQ โดย Daniel Goleman ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ไว้ว่า ความฉลาดทางสติปัญญาอาจไม่ช่วยให้คนประสบความสำเร็จเสมอไป โดยคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะอายุยืนและประสบความสำเร็จมากกว่า เห็นได้จากคนเรียนเก่งหลายคนที่ไม่สามารถทำงานหรือบริหารทีมได้ เพราะมีปัญหาเรื่องการจัดการอารมณ์ตัวเอง

  1. ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills)

ปัจจุบัน เราทำกิจกรรมหลายอย่างบนโลกดิจิทัลมากกว่าที่คิด ตั้งแต่ตื่นมาติดตามข่าวบนโซเชียลมีเดีย ซื้อของออนไลน์ ไปจนถึงโอนเงินผ่านแอพพลิเคชั่นธนาคารบนมือถือ การมีทักษะดิจิทัลจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราตามทันเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

ในมุมของการทำงานนั้น ทักษะดิจิทัลมีความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะทักษะในการบริหารและวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขและสถิติต่างๆ เพราะทุกวันนี้ข้อมูลมีผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจจึงมีความสำคัญตามมา ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการตลาดเพื่อนำเสนอสินค้าตรงกับความต้องการของลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง (Personalized Marketing) หรือการยิงโฆษณาออนไลน์ให้ตรงกลุ่มลูกค้า และอีกทักษะที่น่าสนใจคือ ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) ซึ่งเป็นการคิดหรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ดีขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า