Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นำทีมตรวจสอบคลินิกเสริมความงาม ย่านจตุจักร หลังมีการแจ้งเหตุผู้รับบริการสลบคาห้องผ่าตัด ระหว่างศัลยกรรมเสริมความงาม พร้อมย้ำกวดขันมาตรฐานสถานพยาบาล แพทย์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตจากแพทยสภาจึงมีสิทธิให้บริการทางการแพทย์หรือเสริมความงามได้

วันที่ 31 พ.ค.2562 ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตนพร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่จากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และกองกฎหมาย กรม สบส.ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง คลินิกดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ในย่านจตุจักร โดยมุ่งตรวจสอบในประเด็นสำคัญตามที่กฎหมายสถานพยาบาลกำหนด 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1) คลินิกดังกล่าวมีการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลอย่างถูกำต้องตามกฎหมายหรือไม่ 2)ผู้ให้บริการเป็นแพทย์ที่ขึ้นทะเบียน และมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถูกต้องจากสภาวิชาชีพหรือไม่ และ 3)มาตรฐานด้านสถานที่ การบริการ ยาและเวชภัณฑ์ และความปลอดภัยของสถานพยาบาล ว่าเป็นไปตามที่กฎมายกำหนดหรือไม่

จนท.นำสาววัย 21 ผ่าตัดคางเกิดอาการช็อก ส่งโรงพยาบาล

เบื้องต้นพบว่า มีการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลอย่างถูกต้อง และมีการดำเนินการตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ยังพบการกระทำผิดมาตรฐานบ้างในเรื่องของการขาดการชำระค่าธรรมเนียมรายปี เปิดให้บริการสถานพยาบาลเกินระยะเวลาที่ขออนุญาต และแพทย์ผู้ให้บริการมิได้ยื่นแบบแสดงความจำนงเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล (ส.พ.6) กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งจะมีการเรียกตัวผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลมาทำการเปรียบเทียบปรับ พร้อมสอบสวนข้อเท็จจริงต่อไปว่าแพทย์ผู้ให้บริการในช่วงที่เกิดเหตุนั้นเป็นแพทย์จริงหรือไม่ หากพบว่าคลินิกใช้บุคคลอื่นที่มิใช่แพทย์มาให้บริการ ผู้ให้บริการจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ฐานเป็นหมอเถื่อนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ดำเนินการจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ฐานปล่อยปละ ละเลยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“กรม สบส.ขอเน้นย้ำให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการ รพ./คลินิกทุกแห่งกวดขันมาตรฐานสถานพยาบาลของตน โดยเฉพาะผู้ให้บริการ ต้องเป็นแพทย์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตจากแพทยสภาจึงมีสิทธิให้บริการทางการแพทย์หรือเสริมความงามได้ อีกทั้งก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานในสถานพยาบาล จะต้องมีการยื่นแบบแสดงความจำนงเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล (ส.พ.6) กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรวจสอบคุณสมบัติเหมาะสมกับประเภทของสถานพยาบาล และเวลาปฏิบัติงานไม่ซ้ำซ้อนกับสถานพยาบาลแห่งอื่น เพื่อการันตีความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ”  ทันตแพทย์อาคม กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า