Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2565 เกิดเหตุผนังอาคารพาณิชย์เก่าแก่กว่า 40 ปี ติดสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร หลุดร่วงลงมาจากชั้น 8 หล่นใส่ประชาชน ที่เดินผ่านไปมา ทำให้มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 5 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่เขตปทุมวัน เร่งส่งเจ้าหน้าที่รื้อถอนเพื่อป้องกันเหตุเกิดซ้ำ

มีอีกหลายกรณีอุบัติเหตุลักษณะนี้ เกิดจากการที่ตึกเกิดรอยร้าวและพังถล่มลงมา สร้างความเสียหายแก่ผู้คนและรถที่สัญจรไปมาไม่น้อย  เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นแต่ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อมูลจากบริษัท เซ็นโทรวิชั่น จำกัด ระบุว่าจากประสบการณ์การทำงานในด้านการตรวจสอบผนังอาคาร สาเหตุที่ผนังอิฐเหล่านี้ตกลงมามีได้หลายปัจจัย แต่เป็นที่แน่ชัดว่าปูนที่ก่อสร้างอาคารใช้ในการยึดเกาะอิฐที่วางตัวเป็นผนังด้านนอกของอาคารเสื่อมสภาพจนไม่สามารถยึดอิฐที่ก่อตัวเป็นกรอบด้านนอกอาคารได้

อาจจะเป็นไปได้ว่ามีการสั่นสะเทือนในเวลานั้น แต่ด้วยน้ำหนักของอิฐและแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้วัตถุซึ่งก็คือกลุ่มอิฐจำนวนมากตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ และที่อันตรายที่สุดคือการร่วงลงมานั้นไม่ได้มีแค่ 1-2 ก้อน การวางตัวถูกยึดระหว่างก้อนต่อก้อน เมื่อเวลาผ่านไปและเสื่อมสภาพพร้อมๆ กัน การร่วงจะร่วงมาเป็นกลุ่มก้อนหรือทั้งแผงของผนังอย่างที่เห็นในภาพและคลิปข่าว ดังนั้นแทนที่จะบาดเจ็บเล็กน้อย อาจอันตรายถึงชีวิต และความเสียหายจะขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นกว่าแค่หล่นมาเพียงไม่กี่ก้อน

ไม่ว่าตึกที่มีผนังด้านนอกเป็นวัสดุใด ปัญหาที่สำคัญคือการตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย ไม่ครอบคลุมรวมถึงการตรวจสอบโครงสร้างผนังอาคารภายนอก การตรวจสอบโดยคนแต่ก่อนไม่มีเทคโนโลยีหรือไม่มีวิธีการที่สามารถตรวจสอบผนังอาคารภายนอกได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี วิธีการเบื้องต้นอย่างการตรวจพินิจด้วยสายตาก็ทำได้แค่ระดับสายตาของผู้ตรวจสอบเท่านั้น การให้ผู้ตรวจสอบขึ้นรถกระเช้า หรือปีนนั่งร้าน ก็มีต้นทุนและความเสี่ยงที่สูง สิ่งปลูกสร้างบางอย่างเช่นสะพาน มีการโรยตัวลงมาเพื่อตรวจสอบ แต่การเก็บข้อมูลก็ไม่แม่นยำ เพราะผู้โรยตัวใช้ชอล์คระบุจุดที่เป็นปัญหาและถ่ายรูปมาเท่านั้น

แต่ผนังตึกที่มีวัสดุแตกต่างกัน ปัญหาก็แตกต่างกันอย่างปฏิเสธไม่ได้ ตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นคือผนังที่ตกแต่งด้วยอิฐ ซึ่งใช้ปูนยึดกับผนังคอนกรีต รูปแบบการเสื่อมและอันตรายก็ต่างกับผนังที่ตกแต่งด้วยหินอ่อน

ข้อมูลจากบริษัท เซ็นโทรวิชั่น จำกัด ระบุว่า จริงๆ แล้วเจ้าของตึกสามารถป้องกันอุบัติเหตุลักษณะนี้ได้ล่วงหน้า ซึ่งทางบริษัทได้ศึกษาและพัฒนาแนวทางการบำรุงรักษาเชิงป้องกันโครงสร้างตึกและอาคารการใช้เทคโนโลยีเพื่อจำแนกปัญหาของแต่ละตึกจึงทำให้ลดความผิดพลาดได้มาก

โดยเฉพาะการใช้ CenInspect ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอที่ช่วยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นบนผนังภายนอกตึกเก่า ตึกสูง หรือหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม ลดปัญหาการถล่มลงมาเนื่องจากการเสื่อมถอยของโครงสร้างอาคาร แก้ปัญหาหลังคารั่วซึมหรือผนังรั่วซึม ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากภาพที่เก็บได้จากผู้เชี่ยวชาญการตรวจอาคาร ภาพทุกภาพจะไร้ความหมายถ้าไม่มีอัลกอริทึมของ CenInspect ที่เรียนรู้ผ่าน dataset ซึ่งก็คือภาพจำนวนมหาศาล โดยอัลกอริทึมของ CenInspect มีความแม่นยำสูงถึง 85% ในการวิเคราะห์ color defect บนผนัง ทีม CenInspect มาจากการรวมตัวกันของวิศวกรโยธา วิศวกรสำรวจ และ ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จาก AI Center, Asian Institute Technology

สามารถตรวจสอบการเสื่อมหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับผนังอาคารภายนอกได้ทุกวัสดุที่มันมีข้อมูล และ CenInspect ได้เก็บข้อมูลภาพจากการเข้าไปบริการตึกจำนวนมากในกรุงเทพ และกำลังขยายไปยังปริมณฑล พัทยา และเชียงใหม่ในปีนี้

การตรวจสอบซึ่งจะแจ้งเตือนในจุดที่คาดว่าจะมีปัญหาก่อน เรียงลำดับความเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขก่อน ดังนั้นการแจ้งปัญหาเฉพาะจุดจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของตึกต้องการเป็นอย่างมาก ถ้าเจ้าของตึกปฏิบัติตามรายงานการตรวจสอบของ CenInspect จะลดปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างเคสข้างต้นได้มากถึงร้อยละ 95 เพราะก่อนจะเกิดการพังถล่มลงมา วัสดุจะมีสัญญาณการเสื่อมออกมาให้เห็นและ CenInspect จะเป็นตัวอ่านสัญญาณเหล่านั้นและแจ้งเตือนล่วงหน้า

ช่วงไตรมาสแรกปีนี้ CenInspect จะปล่อยฟีตเจอร์ในการแจ้งเตือนไปยังประชาชนทั่วไปที่ใช้เส้นทางในกรุงเทพมหานครนี้ โดยเป็นการใช้ Interactive Map เพื่อส่งข้อมูลตึกที่มาใช้บริการ CenInspect แล้ว และตึกที่ CenInspect ไม่มีข้อมูล ซึ่งแม้ว่ามี CenInspect หรือ ไม่ประชาชนทุกคนจะทราบถึงความเสี่ยงในการใช้เส้นทางโดย เรานำข้อมูล Big Data วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยดูจากทำเลที่ตั้ง ปีที่ก่อสร้างตึก และปัจจัยที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุที่เร่งปัจจัยให้โครงสร้างเสี่ยงหาย เช่น การก่อสร้างตึกสูงบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ใช้ฟีตเจอร์นี้ยังสามารถถ่ายรูปปัญหาต่างๆ ที่อยากให้ CenInspect วิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นภาพความผิดปกติของผนังตึกภายนอกหรือภายใน และในไตรมาสสองจะมีฟีตเจอร์ที่ให้ถ่ายรายงานรูปปัญหาของทางเท้าเพื่อวิเคราะห์และซ้อนข้อมูลความเสี่ยงใน Interactive Map อีกด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า