Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยสถานการณ์สายพันธุ์โควิดในไทย พบโอไมครอน 97.2% ใกล้แทนที่เดลตา จับตาสายพันธุ์ย่อย BA.2  แพร่เชื้อเร็วกว่า BA.1 แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเชื้อรุนแรงกว่าหรือไม่ 

วันที่ 15 ก.พ. 2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงเรื่องการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19  โดยระบุว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการตรวจไปประมาณ 2 พันตัวอย่าง พบ 97.2% เป็นโอไมครอน เหลือเพียง 2.8% เป็นเดลตา แสดงว่ายังมีเดลตาหลงเหลืออยู่บ้าง โดยพบจังหวัดที่พบโอไมครอนเยอะ คือ กรุงเทพมหานคร มากที่สุด รองลงมาเป็น ภูเก็ต ชลบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ หนองคาย สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และขอนแก่น ซึ่งประเทศไทยพบทั่วทุกจังหวัด แต่จะมากน้อยแตกต่างกันไป

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า จะเห็นความเปลี่ยนแปลงรายสัปดาห์ ภาพรวมกว่า 97% เป็นโอไมครอน เป็นเดลตา 2.8% แต่หากแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมาจากต่างประเทศเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ประมาณ 99.4% ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ส่วนกลุ่มอื่นๆ ในประเทศไทยสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ประมาณ 96.2% อีกไม่นานจะเข้าใกล้ร้อยเปอร์เซ็นต์ 

ทั้งนี้เมื่อมีการระบาดโอไมครอนค่อนข้างเร็ว และจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ตามธรรมชาติไวรัสเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำๆ ก็ออกลูกออกหลาน ทำให้มีโอกาสกลายพันธุ์ จากเดิมกำหนดไว้ B.1.1.529 ก็ออกมาเป็น BA.1 เป็นสายพันธุ์หลัก ขณะนี้มีข้อมูลที่ซัมมิทเข้าไประบบจีเสสประมาณ 6 แสนเศษๆ ส่วน BA.2 ประมาณ 5 หมื่นกว่าราย ยังไม่ถึง 10% ประมาณ 8-9%  ทั้งนี้ BA.2 จะพบมากในเดนมาร์ก ส่วน BA.3 ยังน้อยมาก 297 ราย

สำหรับ BA.1  ยังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในแอฟริกาใต้และประเทศส่วนใหญ่ ขณะที่ BA.2 มาทีหลังและตรวจพบครั้งแรกในอินเดียและแอฟริกาใต้ช่วยปลายเดือน ธ.ค. 2564 ส่วนประเทศไทยพบครั้งแรกในกลุ่มผู้เดินทางเข้าไทยช่วงต้นปี 2565 โดยขณะนี้จากการซัมมิทข้อมูลในจีเสสกว่า 5 หมื่นราย พบ 57 ประเทศ และประเทศที่เริ่มเห็นแนวโน้มว่า BA.2  จะแทน BA.1 มีอินเดีย เดนมาร์ก สวีเดน โดยเดนมาร์กพบมากกว่า BA.1 แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยขณะนี้ยังพบ BA.1 มากกว่า ยกเว้นว่าในอนาคตหากแพร่เร็วก็อาจเป็นเบียด BA.1

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า มีคำถามว่า ถ้ามีสายพันธุ์ย่อยใหม่จะแพร่เร็วขึ้นหรือไม่ หลบวัคซีนหรือไม่ โดยข้อมูลการแพร่เร็วก็เห็นสัญญาณ จากกรณีเดนมาร์ก ที่เบียด BA.1 ส่วนความรุนแรงที่หลบวัคซีนยังไม่เห็นข้อแตกต่างมากนัก แต่ก็ต้องติดตามข้อมูลต่อไป นอกจากนี้ในสายพันธุ์ BA.1 เนื่องจากระบาดมาก ก็ขยับเป็น BA.1.1 เพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งเราก็ตรวจจับได้ในประเทศไทย

ทั้งนี้ สัดส่วนสายพันธุ์ย่อยโอไมครอน ระหว่างวันที่ 5 – 11 ก.พ. 65 รวมทั้งหมด 1,975 ราย ไม่ได้แยก BA.1 และ BA.2 คือ 1,408 ราย  หากแยกเป็น BA.1  จะมี 462 ราย และ BA.2 จำนวน 105 ราย  อย่างไรก็ตาม จากการแยกสายพันธุ์ 567 ราย พบว่า เป็น BA.1 มากที่สุด  81.5% และ BA.2 18.5% ส่วนการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวมีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 534 ตัวอย่าง แต่คนละช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลจากข้างต้น โดยเราจะพบว่า BA.2 อยู่ที่ประมาณ 2% ที่เหลือเป็น BA.1.1 เท่ากับ 70% และ BA.1 จำนวน 28%

 สำหรับสถานการณ์บ้านเรา คนที่เดินทางมาจากต่างประเทศเป็นโอไมครอนเกือบ 100% ส่วนไทยก็ใกล้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ประมาณกว่า 96% ขณะที่สายพันธุ์ย่อย BA.2 จากถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวประมาณ 2% แต่ตรวจสอบเบื้องต้น (SNP) ในพื้นที่เจอประมาณ 18%  ซึ่งจะมีการตรวจให้กว้างขวางครอบคลุมมากขึ้น โดย BA.2 มีหลักฐานพอสมควรว่าแพร่เร็วกว่า BA.1 แต่ความรุนแรงยังไม่มีข้อมูลมากพอ แต่เมื่อมีจำนวน BA.2 พอสมควรก็จะมีการติดตามข้อมูลของคนไข้ที่เป็น และจะส่งให้กรมการแพทย์ ติดตามคนไข้ว่า อาการรุนแรงมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม มีรายงานหลายชิ้นระบุว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะช่วยป้องกันสายพันธุ์ทั้ง BA.1 และ BA.2  ช่วยลดอาการป่วยหนักและเสียชีวิตได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า