Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้าเราบอกว่าหุ่นเหล็กด้านล่างนี้ เป็นผลงานของคนที่ไม่มีพื้นฐานงานศิลปะมาก่อนเลย คุณจะเชื่อไหม?

ถึงจะเป็นที่เรื่องที่อาจเชื่อได้ยาก แต่ต้องบอกเลยว่านี่คือเรื่องจริงของ “อาดัม มูฮำหมัดอาดัม ดาโอะ” คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยววัย 30 ปี จากสุไหงโก-ลก ที่มุ่งมั่นฝึกฝนการทำหุ่นเหล็ก และยึดถือเป็นอาชีพมานานหลายปี ด้วยพลังแห่ง “รัก” ที่มีต่อครอบครัว และงานเชื่อมเหล็ก

ชีวิตที่เริ่มต้นจากติดลบ

อาดัมเกิดมาในครอบครัวยากจน เป็นน้องคนสุดท้องจากพี่น้อง 5 คน มีแม่เป็นแม่ค้าขายข้าวแกง ส่วนพ่อขายกาแฟโบราณ ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูลูกๆ ดังนั้นเมื่ออาดัมเรียนจบชั้น ป.6 และเรียนด้านศาสนาอิสลามประมาณ 3 ปี ก็เลือกออกไปทำงานในไซต์งานก่อสร้างตั้งแต่อายุ 16 ปี เพื่อแบกกระสอบปูนหนัก 50 กิโล ทุกวันๆ แลกกับรายได้เลี้ยงชีพ

เพราะต้นทุนชีวิตที่อาจเรียกได้ว่า “ติดลบ” ทำให้อาดัมต้องอดทนแบกปูนต่อไปอีก 8 ปี จนร่างกายเริ่มไหว เป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทตั้งแต่อายุ 24 ปี ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อยู่นานหลายสัปดาห์ แม่ต้องคอยป้อนข้าว ป้อนยา ประคบร้อนให้ทุกวัน ถึงจุดๆ หนึ่งที่สงสารแม่จนทนไม่ไหว เลยได้ตัดสินใจเลิกอาชีพแบกหามนี้ไป

โดยเริ่มเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ จนมาเจอกับงานลูกจ้างเชื่อมเหล็ก เชื่อมโครงสร้างหลังคาบ้าน ที่แม้จะไม่ค่อยชอบ เพราะแสบตาจากสะเก็ดไฟ แต่เมื่ออดทนเรียนรู้ และพัฒนาฝีมือตัวเองจนเก่งเท่าเพื่อนๆ คนอื่นได้ ก็กลายเป็นชื่นชอบโดยไม่รู้ตัว

ต้นทุนอย่างแรกในชีวิต

“ฝีมือเชื่อมเหล็ก” นับว่าเป็นต้นทุนอย่างแรกในชีวิตของผู้ชายคนนี้ ในวันที่เขาเจอปัญหาใหญ่รุมเร้าอย่างตอนแยกทางกับภรรยา และต้องเลี้ยงลูกสาวอย่าง “น้องบีย่า” ด้วยตัวเอง เขาเลือกที่จะระบายความเครียด ด้วยการเปลี่ยนเศษเหล็กจากรถยนต์ เฟือง น็อต โซ่ และท่อไอเสีย เป็นไอเดียประดิษฐ์ผลงานเชื่อมเหล็ก เพื่อเพิ่มคุณค่าให้สิ่งของที่ใครบางคนอาจมองว่ามันไร้ค่า

ที่ผ่านมา อาดัมประดิษฐ์ผลงงานมาแล้วมากมาย เช่น ที่ตั้งโทรศัพท์มือถือรูปหุ่นกระป๋อง ที่นำไส้กรองรถยนต์มาทำเป็นลำตัวหุ่น แล้วต่อแขนด้วยเหล็กท่อนเล็กๆ ส่วนมือและเท้าทำมาจากโซ่รถจักรยาน รถเวสป้า ที่ด้านในเป็นจักรยานปั่นธรรมดา ไม่มีเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ ขบวนรถไฟขนาดเล็กสำหรับงานเทศกาลต่างๆ เป็นต้น

“เมื่อก่อนเพื่อนมาเที่ยวที่บ้าน และแนะนำให้ผมประดิษฐ์งานแบบนี้อีก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ ทำให้มีกำลังใจทำงานใหม่ออกมาอีก เพราะอยากเอาไปขายที่ตลาดถนนคนเดินแถวบ้าน แต่มีโควิดซะก่อน ตลาดเลยต้องปิด ผมก็เลยยังไม่เคยเอาหุ่นไปขาย” อดัมเล่า ก่อนที่จะเสริมว่า พอโควิดมา ตลาดปิด งานเชื่อมเหล็กก็ไม่มี เขาต้องค้างค่าเช่าห้องนานกว่า 3 เดือน และใช้เงินเก็บประทังชีวิต รวมถึงช่วยเลี้ยงดูครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วยพ่อ แม่ พี่สาว 2 คน และน้องบีย่า (ปัจจุบันอายุ 5 ขวบ) แต่ก็ไม่เคยมีความคิดที่จะเลิกประดิษฐ์หุ่นเหล็กพวกนี้ เพราะภูมิใจทุกครั้งที่มีคนชม และคิดว่ามันต้องสร้างรายได้ในอนาคต

ความผิดพลาดที่เป็นบทเรียน

หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีช่วงผลงานของอาดัมเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก ให้ความช่วยเหลือ ทั้งในด้านประชาสัมพันธ์ผลงาน และมอบเงินค่าครองชีพนาน 3 เดือน ในฐานะคนมีฝีมือ แต่ยากไร้

ระหว่างนั้น เขาเล่าว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นกับเขา จนทำให้ต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่ถึงปัจจุบัน นั่นคือ มีลูกค้ามาจ้างทำงานชิ้นใหญ่ เป็นขบวนรถไฟขนาดเล็ก โดยให้เวลาทำ 3 เดือน ตอนนั้นอาดัมรู้สึกมีความหวังและดีใจ เพราะเป็นผลงานชิ้นใหญ่ที่สุด และค่าแรงก็มากที่สุดตั้งแต่ทำงานมาเลย แต่รถไฟขบวนนี้ ต้องใส่ระบบไฟฟ้าที่อาดัมเองก็ไม่ถนัด จึงต้องชวนเพื่อนช่างที่สามารถทำระบบขับเคลื่อนรถไฟได้ มาร่วมกับสร้างผลงาน

“เพื่อนเบิกเงินค่าแรงล่วงหน้าในส่วนของเขาไปจนหมด แล้วทิ้งงานหนีไปเลย ตอนนั้นเครียดมาก ไม่รู้จะทำยังไง เลยต้องจบที่ปรับความเข้าใจกับเพื่อ และเสนอว่าจะแบ่งส่วนเงินส่วนที่เหลือของตัวเองให้เพื่อน เพื่อนยอมมาทำงานต่อให้เสร็จ บวกกับตอนนั้นภรรยามาขอคืนดี แล้วก็ทะเลาะกันอีก จู่ๆ เขาพาบีย่าหนีไป ผมร้องไห้หนักเลย ทำให้สุดท้ายงานรถไฟเสร็จช้ากว่ากำหนด ลูกค้าไม่พอใจ เรียกร้องค่าเสียหาย 100,000 บาท ตอนนี้ก็ผ่อนให้เขามาประมาณ 1 ปีแล้ว เป็นเงิน 15,500 บาท”

สิ่งเหล่านี้คือบทเรียนสำคัญที่ทำให้อดัมเข้าใจชีวิตมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่คิดจะเลิกทำงานเชื่อมประดิษฐ์เศษเหล็กอยู่ดี

หุ่นครุฑยักษ์ แรงบันดาลใจจากลูก

ถ้าถามว่าที่ผ่านมา เขาชอบงานชิ้นไหนมากที่สุด เขาบอกว่าเป็น “หุ่นครุฑยักษ์” เพราะได้แรงบันดาลใจจากลูก โดยนกพญาครุฑตัวใหญ่เปรียบเป็นเขาเอง ส่วนลูกนกที่เกาะตรงเท้าคือน้องบีย่า ลูกสาวสุดที่รักของเขา

“ผมชอบนั่งดูรูปเก่าๆ ตอนที่ครอบครัวมีความสุขและอยู่ด้วยกัน หนึ่งในนั้นรูปนั้นเป็นรูปที่อุ้มบีย่าไว้บนตัก แล้วมองหน้าลูก เลยเป็นแรงบันดาลใจ ให้เอาเศษเหล็กแปลกๆ ที่ซื้อเก็บไว้มาทำหุ่นพญาครุฑ”

ความพิเศษของหุ่นตัวนี้ คือการเพิ่มมอเตอร์ไฟฟ้าเข้าไป เพื่อให้นกขยับได้เหมือนมีชีวิต แต่อย่างที่รู้กันว่าเขาไม่มีพื้นฐานต่อระบบไฟฟ้า เลยต้องลองผิดลองถูกดูเอง จนมันขยับได้จริง ใช้เวลาทำนาน 3 เดือน และตั้งใจว่าจะไม่ขายให้ใคร เขาอยากเก็บไว้เป็นความทรงจำ และแรงผลักดันในการใช้ชีวิตต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอาดัมยังคงทำอาชีพรับจ้างเชื่อมเหล็กอยู่ และจะใช้เวลาพักงาน หรือวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ไปเดินดูเศษเหล็ก และพยายามหาซื้อเศษเหล็ก หรืออะไหล่มือสอง รูปทรงแปลกๆ มาเก็บไว้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ เพราะหวังว่าในอนาคตหุ่นเหล็กของเขาจะสร้างรายได้ให้กับครอบครัว สามารถส่งลูกสาวเรียนหนังสือสูงๆ และทำให้แม่ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ย้อนชมเรื่องราวของอาดัมได้ใน ปัญญาปันสุข 2023 EP.08 หุ่นเหล็กสู้ชีวิต

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า