Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจำของโครงการสิงห์อาสาที่เราคุ้นเคยคือ ทีมอาสาสมัครที่ขมักเขม้นเร่งรีบช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เข้าถึงเครื่องอุปโภค บริโภค และสิ่งจำเป็นเร่งด่วนเป็นด่านแรก ยามใดที่เราได้เห็นทีมสิงห์อาสา ย่อมหมายความว่าขณะนั้นเป็นเรื่องวิกฤตและเร่งด่วน และนั่นก็เป็นสิ่งบอกเล่าพูดต่อกันมาอย่างยาวนานมากกว่า 1 ทศวรรษ

นอกเหนือจากนี้ เรายังได้เห็นบทบาทการเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ แต่ช่วยประกอบร่างสร้างความสมบูรณ์ให้ภาพใหญ่ของสังคมจากการที่สิงห์อาสา เข้าไปร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยตลอดเวลา 12 ปี ผ่านการ “ลงมือทำ” เข้าไปร่วมแก้ปัญหาในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในหลายเรื่อง

“หลักคิดผมคือพยายามมองปัญหาให้กว้างที่สุด คือมองตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง จะทำหวังผลเพียงอย่างเดียว หรือไปเปลี่ยนแปลงแค่อย่างสองอย่างคงเกิดยาก แต่สิ่งที่เราช่วยได้คือสนับสนุนหน่วยงานรัฐ หน่วยงานอาสาสมัครให้เขาได้ทำหน้าที่ที่เขาเชี่ยวชาญได้อย่างปลอดภัย ได้มีกำลัง ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง” ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ย้อนรอยแนวคิดต้นกำเนิดโครงการ “สิงห์อาสา” หนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมที่คนไทยรู้จักมากที่สุดโครงการหนึ่ง

ในฐานะผู้บริหารที่ดูแลธุรกิจในส่วนการผลิตและซัพพลายเชนของบุญรอดบริวเวอรี่ เขาคือหนึ่งในผู้ริเริ่มก่อตั้งโครงการสิงห์อาสาขึ้นมาจากจุดเริ่มต้นเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 และวันนี้สิงห์อาสาไม่ได้ทำหน้าที่เป็นแค่เพียงผู้เข้าไปช่วยเหลือฉุกเฉินบรรเทาทุกข์เท่านั้น แต่ ‘ปิติ’ ได้วางจุดยืนให้โครงการสิงห์อาสา สามารถช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้นผ่านการเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นเล็ก ๆ ที่เข้าไปมีส่วนช่วยตั้งแต่ต้นน้ำ

‘ปิติ’ เล่าถึงวิธีคิดของเขาให้ฟังว่า ตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เรามีน้ำ มีอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้คนมากมาย หลายจังหวัดถูกน้ำท่วมเป็นเวลาหลายเดือน ถามว่าเราจะไปทำธุรกิจกับใคร เมื่อผู้คนตกอยู่ในสภาวะเดือดร้อน หลายโรงงาน หลายกิจกรรมถูกปิด

“ผมมองว่าการที่เราจะทำธุรกิจหรือการค้าคงมาที่หลัง ณ เวลานั้นการช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนกว่า ผมจึงเสนอสิ่งเหล่านี้กับผู้บริหาร เพื่อบริจาคน้ำที่เราผลิตให้องค์กร อาสาสมัคร และประชาชนที่เดือดร้อน เวลานั้นสิ่งที่เราช่วยได้คือสนับสนุนหน่วยงานรัฐ หน่วยงานอาสาสมัครให้เขาได้ทำหน้าที่ ที่เขาเชี่ยวชาญได้อย่างปลอดภัย ได้มีกำลังช่วยเหลือผู้คนโดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง จึงเป็นจุดแรกที่เราได้ดำเนินสิงห์อาสาจนมาถึงวันนี้”

จากจุดแรก ปิติ ได้ขยายให้โครงการสิงห์อาสาเข้ามามีส่วนร่วมกับสังคมแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและหยั่งรากมากขึ้น

“จากน้ำท่วมปี 2554 ต้องมองปัญหาให้กว้างที่สุด คือมองตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง จะทำแค่ไปเปลี่ยนแปลงอย่างสองอย่างคงเกิดยาก น้ำท่วมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ช่วยน้ำท่วมอย่างเดียว แจกน้ำ ส่งน้ำอย่างเดียวแบบนี้คือแก้ปัญหามิติเดียว เราจึงกลับมามองถึงระบบนิเวศว่ามันเกิดอะไรกับปัญหาน้ำท่วม เรารู้กันมาตลอดว่าเป็นเพราะตัดต้นไม้ ไม่มีต้นไม้ที่ไว้ดูดซับน้ำได้ นั่นจึงนำมาสู่การที่เครือข่ายสิงห์อาสา ขยายไปสู่การทำโครงการปลูกป่า เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ทั้งปลูกป่าทั่วไป ปลูกป่าชายเลน รองลงมา คือร่วมแก้ปัญหาไฟป่า นอกจากเราส่งน้ำดื่ม อาหาร ร่วมเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ให้อาสาสมัครผู้มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยดับไฟป่าแล้ว ในช่วงไม่มีไฟป่า เราจ้างอาสาสมัครมาเป็นวิทยากรให้ชาวบ้านรู้วิธีป้องกันไฟป่า ให้ความรู้ชาวบ้านเรื่องไม่เผาขยะและลามไปถึงไฟป่า ซึ่งเราทำที่ จ.เชียงใหม่และภาคเหนือในหลายจังหวัด คือทั้งลดไฟป่า และปลูกป่าไปพร้อมกัน”

ที่น่าสนใจ คือ แม้สิงห์อาสาจะไปร่วมแก้ที่ระดับโครงสร้าง แต่ก็ไม่ลืมจุดแข็ง คือ “นักลงมือ” เราจึงได้เห็นว่าการป้องกันน้ำท่วมในระดับหน้างานก็จะมีสิงห์อาสาเข้าไปร่วมด้วย เช่น  การไปร่วมขุดลอกเก็บผักตบชวาที่ขวางทางระบายน้ำก่อนช่วงฤดูกาลที่น้ำจะไหลมา

ขณะเดียวกันก็ได้วางระบบช่วยเหลือแบบครบลูป เมื่อเกิดน้ำท่วมก็ยังคงส่งอาหาร น้ำสะอาด เข้าไปบรรเทา เข้ามาร่วมกับภาครัฐ เพื่อดูแลระบบสาธารณสุข สุขภาพให้กับผู้ประสบภัย และเมื่อน้ำลดก็ส่งอาสาสมัครเครือข่ายสิงห์อาสา ทั้งจากวิทยาลัย และนักเรียนระดับวิชาชีพ ปวช. ปวส .ทั่วประเทศเข้าไปช่วยทำความสะอาดบ้าน ซ่อมแซมความเสียหายอาคารบ้านเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ประสบภัย

‘ปิติ’ เล่าว่า ถ้าเราคิดเป็นลูปแบบนี้ ถึงแม้มันไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็บรรเทาปัญหาความเดือดร้อนที่เป็นรูปธรรมครบเกือบทุกรูปแบบ ไม่ใช่แค่มุมใดมุมหนึ่ง การทำสิงห์อาสาไม่ได้มุ่งเน้นสร้างภาพลักษณ์หรือเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นความภูมิใจของคนหัวใจสิงห์ เป็นความสุขของคนบุญรอดฯ ที่ได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริงโดยไม่ได้หวังผลตอบแทน

สิงห์อาสาดำเนินมาถึง 12 ปี วันนี้ ‘ปิติ’ บอกว่า เขาภูมิใจในองค์กร ภูมิใจในทีมงาน เวลาไปที่ไหน ออกไปช่วยเหลือผู้คน คนเหล่านั้นก็ดีใจ ขอบคุณสิงห์อาสา เป็นความสุขของพนักงาน ความสุขของบริษัท ที่ได้เห็นองค์กรที่เรารักได้ไปช่วยเหลือไปเติมเต็ม และบรรเทาทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งที่บุญรอดฯ ปลูกฝังเรื่องการมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมมาตั้งแต่สมัยก่อตั้งบริษัทฯ ในยุคแรก มาจนถึงการก่อตั้งมูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดีเมื่อปีพ.ศ. 2518 โดยได้มอบทุนการศึกษามาอย่างยาวนาน และออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในประเทศ รวมถึงกิจกรรมเพื่อสังคมอื่นๆอีกมากมาย

TODAY Bizview ได้สรุปแนวคิดสำคัญจากการพูดคุยกับ ‘ปิติ ภิรมย์ภักดี’ ผ่านโครงการสิงห์อาสา ซึ่งเขาบอกเล่าถึงสิ่งสำคัญในการที่องค์กรธุรกิจจะทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ คือ   

1.ทำอะไรให้ทำอย่างจริงใจและต่อเนื่อง ต้องมองภาพกว้างให้ครบทุกมิติ เพื่อให้เห็นต้นตอของปัญหา จะได้แก้ให้ถูกจุด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องทำอย่างต่อเนื่องและจริงใจ เพื่อให้ผู้คนและสังคมได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง

2.ทำสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวตนเรามากที่สุด เป้าหมายนอกจากการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว สิ่งที่สังคมมองสิงห์อาสากลับมาคืออะไร คำตอบ คือ คนไปช่วยเหลือสังคมวันที่สังคมเดือดร้อน การทำงานอย่างรวดเร็ว และต้องทำแบบนี้อย่างต่อเนื่อง

3.การทำงานผนวกด้วยหลายปัจจัย การทำธุรกิจ เราจะโฟกัสแค่ตัวผลกำไรอย่างเดียวไม่ได้ จะโฟกัสที่ความสุขของ Stake Holder อย่างเดียวก็ไม่ได้ ฉะนั้นทุกอย่างต้องผสมผสานกัน ต้องตอบโจทย์สังคม คู่ค้าพันธมิตร และสิ่งสำคัญองค์กร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องสามารถอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนได้ และทันกับยุคสมัย

ปิดท้าย ‘ปิติ’ มองถึงเป้าหมายการทำงานของเขาในอีก 5-10 ปีข้างหน้าว่า ในสายงานที่เขารับผิดชอบ คือซัพพลายเชนกับการบริหารโรงงานผลิต ซึ่งในอนาคต เขาเชื่อว่าความเชี่ยวชาญในด้านฐานการผลิตของบุญรอดฯ มีศักยภาพที่จะขยายไปสู่รูปแบบอื่นมากขึ้นผ่านการทำ R&D และหนึ่งในนั้น เขาได้ยกตัวอย่างแนวคิดที่จะพัฒนาและวิจัยนำวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตมาพัฒนาต่อยอด สร้างเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและคนในสังคมได้

“การที่เราทำแบบนี้ มีแนวคิดแบบนี้ สิ่งที่ไปอยู่ในความรู้สึกผู้บริหารคือ ประโยชน์ไม่ได้แค่ตัวเรา องค์กรของเรา แต่จะเป็นประโยชน์กับทั้งสังคมโดยรวม กับชุมชนอย่างไรได้บ้าง เพราะการทำธุรกิจต้องคำนึงถึงกำไรเป็นจุดเริ่มต้นก็จริง แต่เราไม่จำเป็นต้อง Maximize กำไรในสิ่งที่ต้องเป็นทุกขั้นตอน ทุกมุม ทุกการทำธุรกรรม เพราะทุกความสัมพันธ์ต้องมีพลังแห่งการให้และรับ เรา(ธุรกิจ) จะแข็งแรงอย่างเดียวไม่ได้ ยังมีคู่ค้า พาร์ทเนอร์ ผู้คน เพราะถ้าเหลือแค่เราคนเดียวก็ไม่สามารถทำธุรกิจได้” ปิติ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามชมวิดีโอบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ‘ปิติ ภิรมย์ภักดี’ กับรายการ TOMORROW ที่นี่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า