Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามปรับยุทธศาสตร์ รับมือกับวิกฤติโควิด-19 ให้เท่าทันสถานการณ์ หนึ่งในแง่มุมที่ต้องเร่งแก้ไขคือการสื่อสารกับประชาชน

ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับรายการ Workpoint Today ระบุว่า ที่ผ่านมาศูนย์ข้อมูล COVID-19 พยายามใช้นโยบาย Single Command หรือการออกคำสั่งจากศูนย์ข้อมูล COVID-19 เพียงที่เดียวมาบ้างแล้ว โดยเงื่อนไขของนโยบายนี้คือการให้คำสั่งมีเพียงคำสั่งและทิศทางเดียว เพื่อให้ข้อมูลมีเอกภาพมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่นข้อมูลเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสในแต่ละพื้นที่จะถูกรวบรวมมาไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อจัดทำข้อมูลให้เสมอกัน คือเป็นข้อมูลตัวเลขเดียวกันและไม่คลาดเคลื่อนจนเกินไปนัก ทั้งนี้ ต้องหมายถึงเรื่องของการแถลงและการปล่อยข้อมูลสู่ประชาชนว่ามีมาตรการอย่างไร แต่ละจังหวัดควรรับมืออย่างไร ซึ่งหากรวมข้อมูลมาไว้ที่ศูนย์ COVID-19 แล้วจะทำให้แต่ละนโยบายมีทิศทางเดียวกันมากขึ้น

ลดการสื่อสารที่กระจัดกระจาย

โดยที่ผ่านมาผศ.ดร. ทวิดา มองว่าที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขและการแพทย์มักรับหน้าที่เป็นผู้กระจายข่าวในช่วงแรกๆ ข้อมูลจึงค่อนข้างกระจัดกระจาย โดยยังโชคดีที่จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเมืองซึ่งมีสาเหตุมาจากนักท่องเที่ยว ประกอบกับการสื่อสารไปยังภูมิภาคสาธารณะทำให้คนรู้สึกว่าโรคยังไม่ร้ายแรงมาก แต่เมื่อมีศูนย์ COVID-19 ก็พบว่าระบบการจัดเจ็บข้อมูลยังไม่มีเสถียรภาพมากนัก ทำให้ข้อมูลจากพื้นที่และส่วนกลางยังไม่เท่ากัน ขณะเดียวกันผู้รอตรวจก็ยังไม่เข้าใจระบบของการตรวจหาเชื้อ ตลอดจนการแถลงโดยไม่ประสานช่วงเวลากันของเจ้าหน้าที่ทำให้ข้อมูลออกมาไม่ตรงกัน การจะสื่อสารที่ดีได้นั้นต้องมีระบบข้อมูลและการสื่อสารที่รองรับกัน

ทั้งนี้ การปล่อยข้อมูลต่างๆ ให้สาธารณชนและหน่วยงานก็ยังมีปัญหา เพราะการให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในหลายๆ ครั้งยังมีปัญหา เช่น เมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีออกมาแถลงในครั้งแรกโดยปราศจากเนื้อความ ไม่มีมาตรการปฏิบัติจากรัฐ แม้จะการเพิ่มรายละเอียดในการแถลงครั้งต่อๆ มาก็ตามที จนมาถึงการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 24 มีนาคมซึ่งผศ.ดร. ทวิดามองว่าการที่นายกฯ ออกมาประกาศล่วงหน้านั้นแม้จะเห็นถึงความตั้งใจที่ดีแต่ก็ควรมีเนื้อหาบางอย่างในประเทศนั้นบ้าง เช่น การประกาศพื้นที่ที่มีการจำกัดบริเวณ เป็นต้น และแม้ว่าการออกมาแถลงในวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา จะมีการเพิ่มรายละเอียดมากขึ้นแต่ยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่เหมาะสมที่จะถ่ายทอดสู่ประชาชน

“ส่วนตัวมองว่า ตอนที่นายกฯ ประยุทธ์ออกมาแถลงในชุดกากี (เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา) ท่านดูเหนื่อยมาก ดังนั้นคนจึงเห็นใจลึกๆ ว่าทำงานหนัก จึงนับว่าพอจะมีอะไรดีอยู่บ้าง” ผศ.ดร. ทวิดากล่าว “แต่ให้เผชิญว่าสารที่สื่อออกมานั้นไม่มีอะไรเลยจนกลบเรื่องการทำงานหนักไป แต่ท่านก็ได้พยายามมากขึ้น แต่ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือเราไปคาดหวังให้ผู้นำสายทหารพูดจาแล้วน่าฟัง น่าเชื่อถือ สร้างบรรยากาศมากเกินไป ขณะเดียวกันส่วนตัวมองว่าท่านคงทำไม่ได้ด้วยบุคลิกหลายๆ อย่าง” ดังนั้น จึงขอแนะนำว่าอย่าไปพยายามทำให้ท่านผู้นำต้องทำอะไรที่ฝืนบุคลิกมากเสียจนกลายเป็นเรื่องไม่น่าฟัง

กรณีศึกษาการแถลงของนายกฯ​ วันที่ 25 มีนาคม

อย่างไรก็ดี ผศ.ดร. ทวิดาระบุว่า แถลงการณ์ของนายกฯ ในวันที่ 25 มีนาคมซึ่งกล่าวถึงความมีน้ำหนึ่งในเดียวกันต่างๆ นั้นดูเยอะเกินไป ควรเอารายละเอียดของมาตรการต่างๆ ไปเสริมส่วนนั้นเสียมากกว่า “แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่พูดเร็วเป็นรถด่วนเพราะเรากำลังพูดกับสาธารณะ เราต้องมีจังหวะ” ผศ.ดร. ทวิดากล่าว “เราต้องเข้าใจสารที่เราต้องพูดตามนั้น ในเมื่อผู้นำมีหน้าที่สื่อสาร การสื่อสารอย่างจริงใจและทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าอยากช่วยเหลือภาครัฐ ก็ต้องมีวิธีสื่อสารที่ทำให้คนเห็นใจ”

ต่อคำถามที่ว่า หากนายกฯ พูดไม่เก่ง ควรหาผู้อื่นมาทำหน้าทีแทนหรือไม่ ผศ.ดร. ทวิดาตอบว่า ผู้นำไม่มีทางที่จะไม่สื่อสาร ดังนั้น การสื่อสารที่เป็นการอัพเดตสถานการณ์รายวันซึ่งเป็นการให้ข้อมูลของผู้ป่วย การติดเชื้อหรือแนวโน้มต่างๆ นั้นให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้แถลงได้ แต่ถึงอย่างไรผู้นำก็ต้องเป็นผู้ออกมาพูดกับประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของมาตรการรัฐที่เตรียมจัดไว้ให้เพื่อนช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

ต่อกรณีที่นายกฯ มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผศ.ดร. ทวิดามองว่า ตอนนี้การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีข้อดีที่ทางส่วนกลางสามารถออกรายละเอียดเรื่องความเสี่ยงของแต่ละจังหวัดได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อ และให้ผู้ว่าฯ ของแต่ละจังหวัดกำหนดมาตรการเข้มงวดได้เอง และหากจังหวัดใดที่เงื่อนไขยังอยู่ในระดับปานกลางก็สามารถใช้มาตรการที่เบาลงมาได้ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิของผู้ว่าฯ ที่จะออกมาตรการให้เข้ากับบริบทโดยมีมาตรฐานกลางจากส่วนกลางเป็นแนวทาง

ผศ.ดร.ทวิดากล่าวเพิ่มเติมว่าอยากบอกภาคประชาชนว่าไม่มีมาตรการของประเทศใดในโลกที่ทำได้โดยปราศจากความร่วมมือจากประชาชน ขอให้ประชาชนดูแลตัวเองและระลึกเสมอว่าตนอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของผู้อื่น ตอนนี้รัฐพยายามเร่งมาตรการทุกทางเพื่อระงับจำนวนผู้ติดเชื้อ แตก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาชนด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า