Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หากมองการตอบญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้กับลีลาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเเละรมว.กลาโหมนั้นจะพบลีลาใหม่ สุขุมขึ้น ยึดเเนวคิดที่มองไปข้างหน้า เตรียมทีมงานมืออาชีพมาขับเคลื่อน จับมือทุกภาคส่วนวางเเนวทางเเก้ไข ไม่ลงมาโต้ประเด็นเล็กๆน้อยๆ ลดความดุดันสไตล์ทหาร เเต่ยึดมั่นในผลประโยชน์ชาติ -ประชาชน หลักสุจริต เน้นตอบคำถามเเบบตรงๆเเต่ยังมีการฟาดกลับฝ่ายค้านบ้างเเบบให้ได้ย้อนมองประวัติศาสตร์การเมืองในวันวานหากมีการโยนบาปในบางวาระ รวมทั้งวางผังอนาคตในภาวะการเเก้ไขโควิด-19

เเหล่งข่าวจากตึกไทยคู่ฟ้าให้ข้อมูลว่า พลเอกประยุทธ์วางยุทธศาสตร์ชาติ20ปีไว้เพื่อเป็นกรอบการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ ชุดต่อไปเพื่อให้เเนวพัฒนาประเทศไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เเต่ปรับตามภาวะโลกได้ อาทิ โควิด-19ที่ระบาดทั่วโลกเเบบไม่มีใครคิดเเละวางเเผนรับมือได้ หลายชาติต้องปรับนโยบายกันเเบบลองผิดลองถูกเพราะปัญหามีความเเตกต่างกัน รัฐบาลนี้ก็เช่นกันพลเอกประยุทธ์มีการหารือกับทุกภาคส่วนเพื่อวางมาตรการปัจจุบัน อนาคตกันทุกวัน

“ตัวอย่างคือภูเก็ตเเซนด์บ็อกซ์ พลเอกประยุทธ์มองว่ามันเป็นโมเดลในการปรับตัวทุกด้านเข้ากับภาวะโควิด-19ในวันนี้เเละวันหน้า หากพบปัญหาระหว่างทางจะได้ศึกษาเเละวางมาตรการหากต้องเปิดประเทศในเวลา120วันตามที่พลเอกประยุทธ์บอกไว้กับสังคม การชี้เเจงต่อญัตติเมื่อวันที่1กันยายนจะเห็นชัดว่าพลเอกประยุทธ์ขยับเเบบวางยุทธศาสตร์ไทยกับภาวะโลกวันข้างหน้าเเละองค์กรชั้นนำยอมรับเเนวทาง”

หากสิ่งที่เเหล่งข่าวให้ข้อมูล ย้อนไปมองสิ่งท่ีพลเอกประยุทธ์ตอบไว้ในวันดังกล่าวที่เกียกกายคือ “รายงานขององค์กรระหว่างประเทศ 2 องค์กร ที่มีความน่าเชื่อถือระดับโลก คือ 1.รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564 ของธนาคารโลก ( World Bank )2.รายงาน Fiscal Monitor ฉบับเดือนเมษายน 2564 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)มาเป็นตัวอย่างประกอบว่ารัฐบาลดำเนินการได้ดีอย่างไร”

“รายงานของธนาคารโลกระบุว่า การระบาดหลายระลอกของโควิด-19 ในไทย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 แต่ก็ได้ความต้องการสินค้าและบริการของตลาดโลกที่เริ่มฟื้นตัว พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือทางการคลังขนาดใหญ่ของไทยมาช่วยไว้ ทั้งมาตรการให้เงินเยียวยาประชาชนกลุ่มต่าง ๆ และโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่าง ๆ มาตรการเหล่านี้ช่วยประคับประคองอุปสงค์ของภาคเอกชน และกระตุ้นการบริโภคของครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง และบรรเทาผลกระทบที่มีต่อปัญหาความยากจนของประชาชน

รัฐบาลได้ขยายมาตรการการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแบบก้าวกระโดด เป็นมาตรการขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ และมีความโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ จาก 0.8% ของ GDP ในปี 2562 เป็น 3.2% ของ GDP ในปี 2563 เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19”

“รัฐบาลจัดสรรเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือครัวเรือนกลุ่มเปราะบางที่สุด และส่วนใหญ่ได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วอย่างรวดเร็ว ทำให้ช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงันอย่างกะทันหันจากผลกระทบของโควิด-19 ทั้งในส่วนของการจ้างงาน รายได้ และความยากจน เสถียรภาพทางการคลัง ธนาคารโลกประเมินว่าแม้ระดับหนี้สาธารณะของไทยจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยการกู้เงินเพื่อมาบรรเทาผลกระทบและกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโควิด-19 จะทำให้ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้นชั่วคราว โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลาง”

ส่วนรายงาน Fiscal Monitor ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่เก็บสถิติตัวเลขทางการคลัง แบ่งตามลักษณะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เช่น กลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ (Advance Economy) กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Economy) และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจรายได้ต่ำ (Low Income Economy) ซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ระบุว่า

“แผนที่โลกสีต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงขนาดของมาตรการด้านการคลังของประเทศต่าง ๆ ที่ออกมารับมือกับผลกระทบของโควิด-19 เทียบกับ GDP โดยสีเขียวแก่มีการใช้มาตรการการคลังในการช่วยเหลือประชาชนมากกว่า 10% ของ GDP ,สีเขียว 7.5%-10% ของ GDP , สีเขียวอ่อน 5%-7.5% ของ GDP , สีเหลือง 2.5%-5% ของ GDP และสีแดง ต่ำกว่า 2.5% ของ GDP
หากเทียบกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Economy) จะพบว่าไทยใช้นโยบายการคลังในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ขนาดใหญ่ประมาณ 11.4% ของ GDP สูงเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศชิลี และสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านคือมาเลเซียที่ใช้นโยบายการคลัง 5.2% ของ GDP และอินโดนีเซีย 4.5% ของ GDP และพบว่าไทยใช้มาตรการทางการคลังเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่ในระดับเดียวกันกับกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ (Advance Economy) เช่น อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เป็นต้น”

แหล่งข่าวกล่าวว่า “สององค์กรการเงินโลกมองว่าพลเอกประยุทธ์วางมาตรการได้ดีเเละยอมรับ กับทิศทางไทยในวันนี้และอนาคตสอดรับการรับมือปรับตัวของไทยในวันนี้กับภาวะโลก การขี้เเจงต่อสภาผู้เเทนฯเเละสื่อรายงานข่าวไปให้สังคมรับทราบโดยอ้างอิงรายงานของสององค์กรข้างต้นเเปลว่าไทยได้รับการยอมรับ เเละน่าจะเป็นNEW HOPE ให้ทุกคน เเม้การอภิปรายจะมีการนำปัญหาบางอย่างมาพาดพิงเเต่ตัวเเทนรัฐบาลได้ชี้เเจงได้ มันคือเรื่องปกติทางการเมือง หลายชาติก็มีเรื่องเเบบนึ้ เเต่ควรดูว่าผู้นำชองเราชี้เเจงข้อกล่าวหาเเละวางเเนวทางใหม่ให้ประเทศเช่นใด สังคมจะได้มีความหวังเเละร่วมกันกู้วิกฤต”

หากประเมินภาวะตอนนี้เเปลว่าพลเอกประยุทธ์วางหมุดไว้ในการรับมือโควิด-19เเบบรอบด้านเเละก้าวทันหลายชาติในโลกเเล้ว เเม้กลเกมการเมืองในประเทศจะมาเบรคจังหวะ เเต่เเหล่งข่าวย้ำว่าพลเอกประยุทธ์เข้าใจเเละมองวิธีแก้ไขไว้เเล้วจะเห็นความเปลี่ยนเเปลงชัดจากการตอบคำถามผู้สื่อข่าวเเละตอบญัตติของฝ่ายคัานของพลเอกประยุทธ์ในตอนนี้

“พลเอกประยุทธ์ปรับตัวได้ดีกับภาวะบีบรัดเช่นนี้เเละมองไทยไปข้างหน้ากับภาวะโลกกับNEW HOPE หากสังคมให้ความเป็นธรรม มองสององค์กรโลกให้คะเเนนรัฐบาลนี้กับเกมการเมืองที่เกิดขึ้นในบ้านเรา เกมการเมืองก็แก้ไป เเต่คงจบในเร็วๆนี้ เเต่อนาคตชาติต้องวางไว้ในระยะยาวมองว่าพลเอกประยุทธ์สอบผ่านนะ”แหล่งข่าวระบุ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า