Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘รังสิมันต์’ ชี้ คดีไทยคม ส่อพิรุธ กำลังมีกลุ่มคนฮุบสัปทานดาวเทียม เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัว

วันที่ 3 ก.ย. 2564 นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม วันนี้จะมาต่อจิกซอตลอดระยะเวลา 15 ปี กำลังมีกลุ่มคนหนึ่งฮุบดาวเทียมมาเป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัว

ย้อนกลับไปดูข้อมูลในอดีต ไทยยังไม่มีดาวเทียมไทยคมจึงต้องไปเช่าต่างประเทศ รัฐบาลได้จัดตั้งโครงการดาวเทียมสื่อสาร เริ่มต้นปี 2533 ต่อมาแม้จะเกิดการรัฐประหารในยุค รสช. แต่ยังเดินหน้าต่อเนื่อง สุดท้ายผู้ได้สัปทานดังกล่าวคือ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) โดยมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานกรรมการ ได้ลงนามสัญญาสัมปทานกับกระทรวงคมนาคม เมื่อ วันที่ 11 ก.ย. 2534 สรุปสาระสำคัญของสัญญาฉบับนี้ บริษัทจะเป็นผู้ยิงดาวเทียมวงโคจรเหนือพื้นโลกบริหารจัดการและให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมจากผู้มาขอใช้โดยมีระยะเวลา 30 ปี หมายความว่าสัญญาจะสิ้นสุดลง วันที่ 10 ก.ย. 2564

ช่วง 8 ปีแรกบริษัทได้สิทธิขาดดำเนินกิจการดาวเทียมโดยไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาแข่งขัน และบรรดาสถานีภาคพื้นดินก็กำหนดให้ต้องขอใช้บริการกับบริษัท เป็นการผูดขาดกิจการ 8 ปีแรก ส่งผลต่อเนื่องให้บริษัทไทยคมกลายมาเป็นบริษัทหนึ่งเดียวของไทยที่มีศักยภาพในการประกอบกิจการด้านดาวเทียมจนถึงทุกวันนี้ ดาวเทียมทุกดวงที่สร้างขึ้นตามสัญญากรรมสิทธิจะเป็นของกระทรวงและตลอดอาอยุสัญญาให้บริษัทดำเนินการให้ดาวเทียมทุกดวงมีประสิทธิภาพใช้งานได้ดี เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงต้องส่งมอบทรัพย์สินให้กับกระทรวง โดยในวันที่ส่งมอบดาวเทียมต้งอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้บนวงโคจร

อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสัญญาฉบับนี้ ปัจจุบันได้ถูกโอนมาเป็นอำนาจหน้นาที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส่วนบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันมีชื่อว่า บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) สัญญาฉบับนี้กำหนดให้ตั้งบริษัทใหม่ ชึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการดาวเทียม คือบริษัทไทยคม จำกัด มหาชน ส่วนพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ไม่ได้ถือหุ้นเกี่ยวข้องกับไทยคมตั้งแต่ปี 2549 แล้ว

ปัจจุบันเหลือดาวเทียมไทยคมที่ใช้ได้ 4 ดวง ไทยคม 4, 6, 7, 8 ซึ่งกิจการสื่อสารของประเทศไทยกำลังจะถึงจุดเปลี่ยนสำคัญเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาล จึงเป็นที่หมายปองของเครือข่ายการเมืองเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ ซึ่งตำแหน่งทางการเมืองที่เอื้อประโยชน์มากสุด รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผลประโยชน์เรื่องนี้แบ่งเป็น 2 ก้อน

ก้อนแรก ผลประโยชน์จากดาวเทียมที่ตกเป็นข้อพิพาทระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กับไทยคมตามสัญญาสัมปทานปี 2538 ซึ่งมีคดีเกิดข้อพิพาทกัน 3 คดี ได้แก่คดี ดาวเทียมไทยคม7 และไทยคม 8 ฝ่ายไทยคมเป็นผู้ฟ้องคดีอ้างว่าดาวเทียมทั้ง 2 ดวงไม่เป็นดาวเทียมภายใต้สัมปทาน คดีที่ 2 เกี่ยวกับไทยคม 5 กระทรวงฟ้องคดีไทยคคมต้องจัดสร้างดาวเทียมทดแทนไทยคม 5 เกิดการชำรุดเสียหาย หรือไม่ก็ต้องชดใช้เป็นราคาดาวเทียม  7,990 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่แกระทรวง คดีที่ 3 เกี่ยวกับดาวเทียมไทนคม 5 เช่นกัน โดยฝ่ายไทยคมฟ้องกลับประเด็นเดียวกันกับคดีที่ 2

คดีดาวเทียมไทยคม 7และ 8 จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาล ข้อกล่าวอ้างที่สำคัญของฝ่ายไทยคมฟ้องร้องอ้างว่าสัญญาสัมปทานได้กำหนดให้ไทยคมยิงดาวเทียมจำนวนเพียง 4 ดวง และยังอ้างว่าการยิงดาวเทียมไทยคม ดวงที่ 7,8 เกิดจากการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมปี 2544 และ พ.ร.บ. กสทช. ปี 2553 โดยได้รับใบอนุญาตเมื่อปี 2555 ดังนั้นจึงไม่ใช่สัญญาสัมปทาน ฝ่ายไทยคมจึงอ้างว่ากรรมสิทธิของดาวเทียว 2 ดวงจึงไม่ใช่ของกระทรวงและไม่ต้องส่งมอบดาวเทียมให้กับกระทรวงหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

ขณะที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โต้แย้งกลับ ตามสัญญาของสัมปทานกำหนดจำนวนขั้นต่ำสัญญาณดาวเทียมที่จะต้องยิงเอาไว้ 4 ดวง แต่ไม่ได้กำหนดจำนวนขั้นสูงเอาไว้ ส่วนที่อ้างว่าดาวเทียมไทยคม 7,8 มาจากการขออนุญาตแบบที่ 3 เป็นใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่มีเครือข่ายเป็นของตัวเองเท่านั้น โดย กสทช. ขณะนั้นก็ไม่ได้มีอำนาจการจัดสรรวงโครจรดาวเทียมให้แก่ผู้ใดได้ หากไทยคมไม่ได้รับสิทธิในการยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโครตามสัญญาสัมปทานก็จะไม่ได้รับอนุญาตแบบที่ 3 นอกจากนั้นการได้รับใบอนุญาตดังกล่าวยังไม่เป็นการกระทบกระเทือนยกเว้นหรือยกเลิกผลของสัญญาสัมปทานที่มีอยู่เดิม รวมถึงต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนจากดาวเทียมให้แก่กระทรวงด้วย

ทั้ง 3 คดีที่เกิดขึ้นปัจจุบันได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ มี 3 คน แต่งโดยฝ่ายไทยคม 1 คน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 1 คนและอีก 1 คนเป็นประธาน เมื่อแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการจะต้องแจ้งข้อเท็จจริงให้คู่ความทุกฝ่ายแจ้งว่า ตัวเองมีเหตุให้สงสัยอาจขาดความเป็นกลางอิสระหรือไม่

ซึ่งในทางปฏิบัติกระทรวงจะต้องส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อส่งตัวแทนมาเป็นอนุญาโตตุลาการ ก่อนจะมีการเสนอชื่อให้ทุกฝ่ายรับทราบต่อไป  แต่เมื่อนายชัยวุฒิ เข้ามาทำหน้าที่กลับมีหนังสือส่งลงนามโดยปลัดกระทรวงวันที่ 11 มิ.ย. 2564 ถึง อสส. เปลี่ยนตัวนางสุราง นาสมใจ ผู้ตรวจการอัยการ อนุญาโตตุลาการที่ฝ่ายกระทรวงเคยตั้งขึ้น โดยให้เป็นคนเดียวทั้ง 3 คดี โดยอ้างว่าทั้ง 3 คดีเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินทุกคดีเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

หลังจากนางสุราง ทำหนังสือถึงกระทรวงเพื่อถามความชัดเจนถึงข้อกล่าวหาที่ถูกกล่าวหาทั้งที่การทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ในช่วงที่ผ่านมาฝ่ายไทยคมไม่เคยคัดค้าน ปรากฏกระทรวงยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงเรื่องดังกล่าว ทำให้นางสุรางทำหนังสือโต้แย้งฉบับที่ 2 ระบุถึงความไม่ชอบมาพากลหลังนายชัยวุฒิรับตำแหน่งรมว.ดีอีเอส และอาจมีการใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย อีกทั้งยังพบว่า อสส.มีการตั้งลงนามตั้งตัวเองเข้ามาทำหน้าที่ทั้งที่เคยถูกตั้งคำถามในเรื่องการทำหน้าที่ในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลที่เข้ามาเป็นอนุญาโตตุลาการ คนดังกล่าวได้เข้าไปเรียนหลักสูตรนิติธรรมเพื่อประธาธิปไตย( นธป.) รวมรุ่นกับนักธุรกิจรายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทไทยคม การที่นายชัยวุฒิเ ลือกบุคคลดังกล่าวเข้ามาสังคมได้ประโยชน์อะไร

นายรังสิมันต์ ยังกล่าวว่า วันที่ 7 ก.ย. 2564 หลังทำหน้าที่เพียง 1 เดือน อสส.ที่ทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการถอนตัว และตั้งเลขานุการซึ่งเคยเป็นอนุญาโตตุลาการแต่เดิมเข้ามาทำหน้าที่ แต่บุคคลดังกล่าวถอนตัว และมีการตั้งอดีตอธิบดีอัยการคนหนึ่งเข้ามาทำหน้าที่ นอกจากนี้ยังพบว่า บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเรียนหลักสูตรเดียวกับนักธุรกิจรายซึ่งถือหุ้นในบริษัทไทยคมอีกเช่นกัน ฉะนั้น การที่หนึ่งในคณะทำงานสู้คดีดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ให้กับฝ่ายกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม ย่อมรู้จุดแข็งจุดอ่อนของข้อมูลและสำนวนคดี และย่อมเป็นที่กังขาถึงความเป็นกลาง ถึงความเป็นอิสระประโยชน์ทับซ้อนได้ ส่วนเรื่องสายสัมพันธ์ที่น่ากังขาและโดยตำแหน่ง ต่อให้ผลการพิจารณาจะออกมาชี้ขาดว่าฝ่ายกระทรวง เป็นผู้ชนะ ก็จะถูกฝ่ายไทยคมเอาไปเป็นเหตุขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาด โดยอ้างว่ากระทรวง ตั้งคนที่ตัวเองรู้ดีว่าเป็นคณะทำงานสู้คดี มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตน

ทั้งนี้การบริหารจัดการดาวเทียมที่จะสิ้นสุดสัมปทานในเดือน ก.ย. 2564 เมื่อไม่สามารถทำตามแนวทางของ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ หรือที่เรียกกันว่า Public Private Partnership ได้กระทรวงจึงเสนอว่าควรมอบหมายให้บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเป็นผู้บริหารจัดการแทน ปัจจุบัน CAT ได้ควบรวมกิจการกับ TOT ตั้งเป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งก็คือกำกับโดยนายชัยวุฒิ และขอตั้งคำถามว่า นายชัยวุฒิใ ช้ตำแหน่งรัฐมนตรีมาเอื้อประโยชน์บางบริษัทที่เคยเป็นกรรมการสุดท้ายแล้ว ผลประโยชน์ในวงการดาวเทียม เมื่ออยู่ภายใต้อำนาจของ นายชัยวุฒิที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม

ระหว่างที่นายรังสิมันต์ อภิปรายมี ส.ส.ฝ่ายพรรครัฐบาลได้ลุกขึ้นประท้วงประเด็นที่ นายรังสิมันต์ อภิปรายคนนอกอยู่เป็นระยะ จนทำให้นายศุภชัย โพธิ์ศุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุมกำชับให้ นายรังสิมันต์ ใช้ถ้อยคำและระมัดระวังประเด็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจตามญัตติของสภา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า