Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ก้าวไกล’ ยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ ต่อประธานสภาฯ ในวันนี้ ปมที่มา ส.ส.ร. เลือกตั้ง 100%-อายุ 18 ปี สมัครได้

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล เป็นตัวแทนพรรคก้าวไกล ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แบบ 100 เปอร์เซนต์ มาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับต่อ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานผู้แทนราษฎร โดยมีนายมุข สุไลมาน เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือแทน

นายพริษฐ์ กล่าวว่า คณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา นำโดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้แถลงผลสรุปเมื่อเดือนธันวาคม 2566 เพื่อเสนอให้รัฐบาลเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยการทำประชามติ 3 ครั้ง แต่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เสนอจัดทำประชามติ 2 ครั้ง เริ่มต้นจากการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มี ส.ส.ร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า เราเข้าใจเหตุผลในเชิงการเมืองที่ทำให้หลายฝ่ายมองถึงความจำเป็นในการจัดประชามติ 3 ครั้ง แต่เรายืนยันมาตลอดว่า หากยึดตามรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ การจัดทำประชามติเพียง 2 ครั้ง เพียงพอแล้วในเชิงกฎหมาย โดยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง ส.ส.ร. ฉบับพรรคก้าวไกล เป็นการเพิ่มหมวด 15/1 (การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) และแก้ไข มาตรา 256 (การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ) โดยมีสาระสำคัญ 10 ข้อ ดังนี้

1. จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วย ส.ส.ร. 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 100 คนแบบแบ่งเขต โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และอีก 100 คน แบบบัญชีรายชื่อ โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง

2. กำหนดให้ ส.ส.ร. มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ

3. กำหนดให้ ส.ส.ร. มีกรอบเวลาไม่เกิน 360 วัน ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้รับฟังความเห็นอย่างรอบด้านและทำงานอย่างรอบคอบ ในขณะที่ไม่ทำให้กระบวนการมีความยืดเยื้อจนทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างล่าช้าจนเกินไป

4. กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สมัคร ส.ส.ร. ไว้ที่ 18 ปี
5. กำหนดให้ ส.ส.ร. มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประกอบไปด้วย ส.ส.ร. ไม่น้อยกว่า 2/3 ของจำนวนกรรมาธิการ เพื่อให้ กมธ. มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่ และเปิดพื้นที่ให้กับคนนอกที่ ส.ส.ร. คัดเลือกและอนุมติ เพื่อให้ กมธ. มีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ ที่อาจไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง

6. กำหนดให้มีการจัดทำประชามติ หลังจากที่ ส.ส.ร. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ เพื่อสอบถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

7. กำหนดให้ ส.ส.ร. มีอำนาจจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) และส่งให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ หากรัฐสภาไม่เห็นชอบ พ.ร.ป.ฉบับไหนของ ส.ส.ร. รัฐสภาจะมีอำนาจรับไปทำต่อเอง

8. กำหนดให้ ส.ส.ร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ โดยไม่ถูกกระทบจากการยุบสภาฯ หรือจากการที่สภาฯหมดวาระ เพื่อความต่อเนื่องของ ส.ส.ร.ในการทำงาน และของกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

9. กำหนดให้ ส.ส.ร. ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง ภายใน 5 ปีแรก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

10. ปรับเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256) โดยกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้ หากได้รับความเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ได้รับความเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร เฉพาะในกรณีที่เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนผ่านประชามติ

“เราเข้าใจว่าประธานรัฐสภาได้ตัดสินใจไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง ส.ส.ร. ที่เสนอโดย สส. เพื่อไทย เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา โดยให้เหตุผลว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 กำหนดให้ต้องมีการจัดทำประชามติก่อนเสนอร่างดังกล่าวเข้าสู่รัฐสภาในมุมมองของพรรคก้าวไกล การกระทำดังกล่าวของประธานรัฐสภา เป็นการตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและการตัดสินใจที่เราไม่เห็นด้วย ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประธานรัฐสภาจะทบทวนการตัดสินใจดังกล่าวและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง ส.ส.ร. ของทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากการเสนอร่างทั้ง 2 ร่างดังกล่าวเข้าสู่รัฐสภา ไม่ได้เป็นขั้นตอนหรือมีเนื้อหาสาระส่วนไหนที่ขัดกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ที่เพียงกำหนดไว้ว่าให้มีประชามติ 1 ครั้ง ก่อนมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประชามติ 1 ครั้งหลังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า