Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เลขาฯ กฤษฎีกา ยันที่ประชุมบอร์ด ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ไม่มี ‘กู้เงิน ธ.ก.ส.’ ใช้ ม.28 ต้องทำรายละเอียดโครงการ เสนอครม.

นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันนี้ (18 เม.ย. 67)กรณี มติคณะกรรมการนโยบาย โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (ดิจิทัลวอลเล็ต) เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา เห็นชอบแหล่งเงิน ซึ่ง 1 ใน 3 คือ ใช้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) วงเงิน 172,300 ล้านบาท สำหรับเกษตรกร กว่า 17 ล้านคนเศษว่า ข้อเท็จจริงในการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตครั้งสุดท้ายที่ผ่านมา สิ่งที่คณะกรรมการดูกันคือมีแหล่งเงินจากไหนบ้าง คือ จะใช้งบประมาณ ปี 67 จะใช้งบประมาณ ปี 68 และอีกส่วนหนึ่ง ฝ่ายเลขานุการเสนอว่า เป็นการดำเนินโครงการตามมาตรา 28 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลัง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร แล้วก็บอกว่าจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ของหน่วยรับงบประมาณ

“ไม่มีการพูดถึงเรื่องการกู้เงินจาก ธ.ก.ส. ในวันนั้น ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าได้คำว่ากู้เงิน ไปเอามาจากไหนกันนะ วันนั้นที่ประชุมมีแค่นี้จริงๆ เพราะฉะนั้้นสิ่งที่จะทำโครงการตามมาตรา 28 เวลาจะทำโครงการก็ต้องมีกำหนดรายละเอียด เอามาเข้าคณะรัฐมนตรีอีกทีหนึ่ง ซึ่งเงินยังไม่มีเลย ก็เลยไม่รู้ว่าข่าวกู้เงิน ธ.ก.ส. เอามาจากไหนกัน ไม่รู้” นายปกรณ์ กล่าว

นายปกรณ์ ยืนยันว่า ไม่มีการพูดในรายละเอียดตรงนี้ มีการพูดหลังจากการแถลงข่าว ในสื่อมวลชน ซึ่งในประชุมไม่มีการพูดเรื่องนี้ ตนยืนยันได้

ผู้สื่อข่าวถามย้ำถึงแหล่งเงินจำนวน 172,300 ล้านบาท จะใช้วิธีอะไร นายปกรณ์ กล่าวว่า ฝ่ายเลขาฯ คือกระทรวงการคลัง บอกว่าจะดำเนินโครงการตามมาตรา 28 แค่นั้นเอง ซึ่งโดยหลักการถามว่าทำได้ไหม ทำได้แต่ว่าต้องทำรายละเอียดโครงการมาเสนออีกที เหมือนโครงการโคแสนล้าน ที่ดำเนินการตามมาตรา 28

“สิ่งที่ประชุมไปในวันนั้นมีเท่านี้เอง แต่ที่พูดกันมาผมว่าคนละเรื่องเลยไปกันใหญ่” เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าว

ทั้งนี้ นายปกรณ์ ยืนยันว่า การดำเนินการตามมาตรา 28 เงินดังกล่าวจะต้องให้กับเกษตรกรเท่านั้น ส่วนรายละเอียดเรื่องการดำเนินโครงการ และการตรวจสอบว่าเป็นเกษตรกรตัวจริงหรือไม่ เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ที่จะต้องไปดูแลเหมือนกับทุกโครงการที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีสหภาพ ธ.ก.ส. อยากให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบข้อกฎหมายก่อนอีกครั้ง จะส่งผลให้การดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ตล่าช้าไปจากไทม์ไลน์ของรัฐบาลไปอีกหรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า หากมีการนำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สามารถเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาได้ แต่ถ้าเป็นการส่งเรื่องเพื่อขอหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา กระบวนการจะต้องผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาว่า มีประเด็นปัญหาข้อกฏหมายตรงไหน และต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน แต่ถ้ายังหาข้อยุติไม่ได้ถึงจะไปคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งก็จะต้องมีการนัดประชุมอย่างน้อย 2-3 ครั้ง

ทั้งนี้ การใช้เงินตาม มาตรา 28 กับการใช้เงินของ ธ.ก.ส. เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า เป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งการใช้เงินตาม มาตรา 28 จะมีการกำหนดโครงการเพื่อจัดสรรงบประมาณ และประเมินข้อดีข้อเสียข้อเสีย

นายปกรณ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่รู้สึกหนักใจที่ต้องดำเนินการเรื่องนี้ เพราะถือเป็นหน้าที่ของกฤษฎีกาอยู่แล้ว ในการดูแลให้รัฐบาลดำเนินการชอบด้วยกฎหมาย อย่าไปคิดมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธ.ก.ส. ประกาศชี้แจง ปมรัฐบาล เตรียมใช้เงินธนาคาร ทำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ แจกเงินหมื่น

นายกฯ จะให้ ‘กฤษฎีกา’ เช็กข้อกฎหมาย ปมใช้เงิน ธ.ก.ส. ทำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ แจกเงินหมื่น

‘ศิริกัญญา’ บี้รบ. แจงแผนงาน ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ทั้งหมดให้ชัด ปมเงิน ธ.ก.ส. แนะถามกฤษฎีกาก่อน

3 ช่องทางแหล่งเงิน ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ แจกเงินหมื่นคนไทย 50 ล้านคน ปลายปีนี้

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า