Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สุทิน’ ตั้งกระทู้ถามสด ครม.ออกกฎหมายขายที่ดินให้ต่างชาติ มีความจำเป็นอะไร ด้าน ‘อนุพงษ์’ ลั่นกลางสภาฯ ไม่มีเจตนาขายชาติ ล้มกม.ขายที่ดินให้ต่างชาติได้ ถ้าปชช.ไม่สบายใจ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมในวันนี้ (3 พ.ย. 65)  ทั้งนี้ในการพิจารณากระทู้ถามสดของนายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้ถามสดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กรณีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกกฎกระทรวงให้ชาวต่างชาติที่นำเงินมาลงทุนในประเทศไทย 40 ล้านบาทขึ้นไป เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี สามารถซื้อที่ดินในประเทศไทยได้ 1 ไร่

โดยนายสุทิน กล่าวว่า ตรงนี้เป็นการสร้างความวิตก ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของที่ดิน ถึงขั้นถูกมองเป็น “กฎหมายขายชาติ” ดังนั้นอยากทราบว่า มีความจำเป็นอย่างไรจึงต้องมีมตินี้ออกมา รัฐบาลก่อนที่ทำมาตรการนี้ เพราะมีความจำเป็นต้องทำ เนื่องจากต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ไอเอ็มเอฟ (IMF) ปี พ.ศ. 2542 ที่ไปกู้เงินมา ทำให้รัฐบาล ปี 2545 ออกมาตรการให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินได้ แต่เป็นการทำด้วยความรอบคอบ มีมาตรฐาน ทำให้มีชาวต่างชาติมาซื้อดินแค่ 7-8 ราย ควบคุมได้ผล

“แต่ขณะนี้มีความจำเป็นบีบบังคับอะไร ต้องออกมาตรการนี้ ถ้าอ้างเรื่องปัญหาเศรษฐกิจแสดงว่า รัฐบาลจนมุมทางเศรษฐกิจ การเงินการคลังลำบาก ต้องพึ่งเงินต่างชาติ ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ เกรงจะเกิดความไม่มั่นคงในชาติ เนื่องจากโครงสร้างเราอ่อนแอกว่าต่างประเทศ คนไทยยอมเป็นนอมินีให้ต่างชาติ เชื่อว่า ไม่มีใครคิดขายชาติ แต่หลายคนกังวลเป็นการขายชาติโดยไม่เจตนา” นายสุทิน กล่าว

ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เป็นตัวแทนมาชี้แจงกระทู้แทนนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า การออกมาตรการนี้มาจากคณะกรรมการเศรษฐกิจเชิงรุก ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ เพราะวิกฤติเศรษฐกิจจากโควิด-19 จำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติมาลงทุน โดยมีแรงดึงดูดเรื่องที่อยู่อาศัย เพื่อให้เข้ามาลงทุนระยะยาว และมีเงื่อนไขรัดกุมกว่าเดิม

“ไม่มีเจตนาจะไปขายชาติ ไม่มีใครทำเช่นนั้นหรอกครับ ผมเชื่อมั่นว่าคนในรัฐสภาแห่งนี้ ไม่ว่าจะฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน คงไม่มีใครมีเจตนาจะทำเช่นนั้น ก็ต้องเจตนา การจะไปพูดว่าขายชาติ ไม่มี ไม่มีใครคิดเช่นนั้น และก็ไม่มีใครคิดจะให้เขามาครอบครองที่ดินอย่างที่กลัว”

ส่วนที่เกรงคนต่างชาติจะซื้อที่ดินจำนวนมากเป็นผืนใหญ่นั้น เตรียมจะออกกฎเกณฑ์รองรับ ไม่ให้ซื้อที่ดินแปลงติดกัน ทำเป็นหมู่บ้านได้ อีกทั้งขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา ต้องนำเรื่องนี้ไปรับฟังความเห็นประชาชนก่อน เราอาจจะกำหนดให้เข้มงวดหรือยากกว่านี้ เช่น เพิ่มการลงทุนเป็น 100 ล้านบาท หรือกว่า 100 ล้านบาท หรือเพิ่มเวลาลงทุนจาก 3 ปี เป็น 10 ปี แล้วส่งให้ ครม. พิจารณาใหม่ หรืออาจจะล้มก็ได้ ตนก็เป็นหนึ่งในครม. ถ้าประชาชนอาจไม่สบายใจ มีความกังวลมาก ถ้าทักท้วงมาเราก็ทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการเสียหน้า

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวด้วยว่า  ส่วนที่มองเป็นการจนมุมทางเศรษฐกิจนั้น การแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ว่ารัฐบาลใด ไม่มีใครทำมาตรการเดียว ต้องทำทุกทาง ถ้าอยากได้นักท่องเที่ยว นักลงทุน ก็ต้องหาทางให้คนกลุ่มนี้เข้ามา ต้องใช้มาตรการผสมกันไปหลายอย่าง อย่าไปคิดเชิงกังวล ให้มองโลกแง่ดีบ้าง ส่วนเรื่องนอมินีนั้น ไม่เกี่ยวกับการให้คนต่างชาติซื้อที่ดิน ต้องไปแก้กฎหมายอื่น

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า