Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทย์เผยโอมิครอน BA.2 พบสัดส่วนเกิน 51.8% เหตุแพร่เร็วกว่า BA.1 ถึง 1.4 เท่า แต่ความรุนแรงยังไม่แตกต่าง เผยยอดคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เป็นไปตามจำนวนผู้ติดเชื้อ

วันที่ 7 มี.ค. 2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์เชื้อโควิด -19 ในไทย ว่า จากการติดตามสถานการณ์เชื้อโควิด พบว่าจากการเก็บตัวอย่างเชื้อโควิดสัปดาห์ที่ผ่านมารวม 1,900 ตัวอย่าง พบเป็นสายพันธุ์โอไมครอน 99.6% ที่เหลือเป็นสายพันธุ์เดลตา 7 ตัวอย่าง ส่วนคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ตรวจพบติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นโอไมครอนทั้งหมด และหากจำแนกสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอน พบว่าสัดส่วน BA.2 ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้น และเชื่อว่าไม่นานจะเข้ามาแทนที่ BA.1 โดย BA.2 อยู่ที่ 51.8% ส่วน BA.1 อยู่ที่ 48.2%

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า อำนาจการแพร่กระจายของโรค พบว่า BA.2 มีมากกว่า BA.1 ถึง 1.4 เท่า โดยพบว่า BA.2 สามารถแพร่กระจายในครัวเรือนสูงถึง 39% ขณะที่ BA.1 อยู่ที่ 29% ส่วนความรุนแรงของโรคยังใกล้เคียงกันทั้ง 2 สายพันธุ์ย่อย แต่พบว่า BA.2 มีการดื้อยา Monoclonol AB (ยาที่ทำมาจากภูมิคุ้มกันมารักษา) แต่ยังสามารถใช้ยาอื่น ๆ รักษาได้ตามปกติ และเมื่อดูผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำจากโควิด พบมีถึง 28.57% ซึ่งส่วนใหญ่เคยติดเชื้อเดลตา และต่อมาภายหลังพบมีการติดเชื้อโอไมครอน

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า แม้ขณะนี้จะมีเทคโนโลยีการตรวจหาสารพันธุกรรมไวรัสจะมีมากขึ้นทั้ง Lamp , Crispr ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ คือ การตรวจหาสายพันธุ์ใน 2 ตำแหน่ง และต้องผ่านการรับรองจาก อย. แต่ขณะนี้ยืนยันการตรวจด้วย RT-PCR, ATK มีความแม่นยำ และเมื่อมีการตรวจ ATK แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำอีก เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมาการตรวจ RT-PCR ประเทศไทย เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจมากถึง 10,000 ล้านบาท

พร้อมอธิบายสาเหตุที่พบจำนวนผู้เสียชีวิตมากขึ้น แม้ทางการจะบอกว่าเชื้อโอไมครอนไม่รุนแรงว่า เป็นตามหลักคณิตศาสตร์ ที่เมื่อพบจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด และสมมติเมื่อมีการเปรียบสัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่ตรวจ RT-PCR 22,000 คน ตรวจ ATK 10,000 คน รวม เป็น 32,000 คน หากเสียชีวิต 50 คน คิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 1,000 คน ไม่ถึง 1% ในอดีตไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า และเสียชีวิตรายวันมากกว่าปัจจุบันด้วยซ้ำ และหากเมื่อดูอัตราการเสียชีวิตจะพบว่า ผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม มีโรคประจำตัว ทั้งมะเร็ง ตับ และติดเตียง ดังนั้น หากครบกำหนดรับวัคซีนเข็มกระตุ้นก็ขอให้รีบมารับ แม้วัคซีนจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่ลดความรุนแรงและเสียชีวิตได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า