Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.แจงเหตุเสียชีวิตอย่างกะทันหัน จากโรคหัวใจ Sudden cardiac death (SCD) ไม่มีสัญญาณเตือน ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 35 ปี พบการเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากโรคหัวใจอยู่ระหว่าง 0.5 – 8 ต่อ 100,000 คนต่อปี

วันที่ 25 มี.ค. 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากโรคหัวใจที่เกิดภายในหนึ่งชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการจากการทำงานของระบบไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติทำให้หัวใจห้องล่างมีการเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรงหรือ เต้นพลิ้ว (ventricular tachycardia/ ventricular fibrillation หรือVT/VF) ซึ่งเกิดขึ้นทันที โดยไม่มีสัญญาณเตือน ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติผู้ป่วยจะเกิดอาการวูบหมดสติ

เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง อาจจะมีอาการชักเกร็งกระตุกร่วมด้วย ผู้ป่วยไม่หายใจ และคลำชีพจรไม่ได้ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องมีการกู้ชีพ (CPR) ทันที เพื่อให้มีออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอจนกว่าการทำงานของหัวใจจะกลับมาเต้นปกติ โดยใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) การปล่อยให้ล่าช้านานเท่าไหร่โอกาสการรอดชีวิตจะลดลงและถ้าสมองขาดเลือดนานเกินไปผู้ป่วย อาจจะฟื้นแต่มีความพิการทางสมองตามมา

นพ.เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า Sudden cardiac death เป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตนอกโรงพยาบาล โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ และสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยมีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ส่วนผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 35 ปี พบการเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากโรคหัวใจอยู่ระหว่าง 0.5 – 8 ต่อ 100,000 คนต่อปี สาเหตุของการเกิด ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดแฝง เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (Hypertrophic cardiomyopathy) โรคกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนแรง (Dilated cardiomyopathy) โรคไหลตาย (Brugada syndrome) ผู้ที่มีประวัติของการเสียชีวิตกระทันหันในครอบครัว ความผิดปกติในทางเดินกระแสไฟฟ้าของหัวใจความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดเลือดโคโรนารีที่เลี้ยงหัวใจ (Abnormalities of coronary arteries) ซึ่งเป็นโรคหัวใจแฝงในบางครั้งไม่แสดงอาการและดูภายนอกเหมือนปกติคนทั่วไป

โรคไหลตาย (Brugada Syndrome) เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรค Cardiac channelopathy เป็นโรคทางพันธุกรรมที่โครงสร้างหัวใจปกติ(normal structural heart) มีการเปลี่ยนแปลงของยีน(SCN5A)ของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้ Ion channel ของ Sodium ทำงานผิดปกติผู้ป่วยจะมีกราฟไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ มีลักษณะจำเพาะ (Coved-type ST-segment elevation V1-V3) ทำให้ง่ายต่อการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติชนิดรุนแรง (polymorphic VT , ventricular fibrillation) ซึ่งทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลวหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน

กรณีการเสียชีวิตของดาราชายหนุ่มที่เป็นข่าว ซึ่งดาราหนุ่มมีร่างกายแข็งแรง อายุน้อยไม่มีประวัติโรคประจำตัว หรืออาการของโรคหัวใจมาก่อน โดยรายงานข่าวกล่าวถึง โรค “ไหลตาย” (Brugada Syndrome) ซึ่งไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นโรคนี้จริง ต้องมีผลการตรวจกราฟไฟฟ้าหัวใจก่อนเสียชีวิตว่ามีลักษณะจำเพาะที่บ่งบอกได้ว่าเป็น Brugada pattern และรอผลการพิสูจน์จากสถาบันนิติเวชว่าไม่มีโรคหัวใจชนิดแฝงอื่น หรือโดยวิธี ถอดรหัสพันธุกรรม การรักษาผู้ป่วย Brugada Syndrome ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่การรักษาที่สำคัญได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาโดยการผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ และการรักษาอาการ โ ดยการใช้ยา

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สำคัญ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการได้รับยาที่ทำให้เกิดกราฟไฟฟ้าหัวใจผิดปกติมากขึ้น ได้แก่ ยารักษาหัวใจเต้นผิดปกติ (Class Ia ,Ic) ยารักษาจิตเวชบางกลุ่ม ยาชายาสลบบางกลุ่ม งดการดื่มแอลกอฮอล์ ถ้ามีอาการไข้สูงต้องรีบทำการรักษาลดอาการไข้สูง

2. การรักษาโดยวิธีผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (AICD implantation )ในผู้ป่วย Brugada syndrome ที่รอดจากการเสียชีวิตกะทันหัน หรือตรวจพบภาวะหัวเต้นผิดปกติชนิดร้ายแรง

3. การรักษาโดยการให้ยา Quinidine (ไม่มียาในประเทศไทย) ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะรับการรักษาโดยวิธีผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุกไฟฟ้า หรือเพื่อลดการกระตุกของเครื่องกระตุกไฟฟ้าลดอาการและภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุกรักษาของเครื่อง

ซึ่งการรักษาโดยวิธีการศึกษาสรีระไฟฟ้าหัวใจและการรักษาโดยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุไฟฟ้าในผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะรับการรักษาโดยวิธีผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุกไฟฟ้า หรือเพื่อลดการกระตุกของเครื่องกระตุกไฟฟ้าลดอาการและภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุกรักษาของเครื่อง เป็นการรักษาที่ซับซ้อนต้องใช้เครื่องมือเทคโนโลยีชั้นสูง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์หัวใจอนุสาขาสรีระไฟฟ้าหัวใจ ยังไม่แพร่หลายและยังอยู่ระหว่างการศึกษาต่อเนื่อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า