Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมสงขลา เขต 6 พรรคก้าวไกล ร้อง กกต. จี้ตรวจสอบ ‘ธรรมนัส-พลังประชารัฐ’ หลังปราศรัยบนเวทีหาเสียง พบมีเนื้อหาสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ เข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง

วันที่ 12 ม.ค. 2565 นายธิวัชร์ ดำแก้ว ผู้สมัครลงเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 จ.สงขลา ในนามพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยทีมงาน เข้ายื่นเอกสารคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำ จ.สงขลา เพื่อให้ตรวจสอบการกระทำของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ปราศรัยเข้าข่ายผิดกฎหมาย

โดย นายธิวัชร์ ได้นำคลิปวิดีโอการปราศรัยหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐมาเปิดเผยให้สื่อมวสวลชนได้ดู มีเนื้อหาใจความการปราศรัยของ ร.อ.ธรรมนัส ที่ช่วยหาเสียงให้ผู้สมัครในนามพรรคพลังประชารัฐว่า

“ในนามพรรคพลังประชารัฐและเขาตั้งใจในฐานะของคนรุ่นใหม่ไฟแรงและมีตังค์ พี่น้อง เราเลือก ส.ส. เราเลือกตัวแทนของพวกเรา เราต้องเลือกคนที่มีความพร้อม ถูกต้องไหมพี่น้อง หนึ่ง ชาติตระกูลต้องดี นั่นคือ ศรีตรัง ใช่รึเปล่าก็ไม่รู้ สอง ต้องมีตังค์ ไม่มีตังค์หรอ เวลาไปช่วยชาวบ้าน สวัสดีครับพี่น้องครับ โบ๊ตไม่มีตังค์ครับ(พร้อมกับทำท่ายกมือไหว้ แล้วล้วงมือขวาเข้าไปในกระเป๋ากางเกง) พี่น้องเอาไหม เอาไหม (เสียงผู้ฟังปราศรัยหาเสียง ตอบว่า ไม่เอา)  แต่ สวัสดีครับพี่น้อง (พร้อมกับทำท่ายกมือไหว้ แล้วล้วงมือขวาเข้าไปในกระเป๋ากางเกง) อ๋อพี่น้องเดือดร้อนหรอครับ เดี๋ยวโบ๊ตเอานี้ไปใช้ก่อน (พร้อมกับใช้มือขวาที่ล้วงเข้าไปในกระเป๋ากางเกงทำท่ายื่นของให้)  อย่างนี้ชอบไหม เอาไหม (เสียงผู้ฟังปราศรัยหาเสียง ตอบว่า เอา) เอาไหม ข้างหลังไม่ช่วยทำมาหากินเลยเนี่ย อย่างนี้เอาไหมพี่น้อง (เสียงผู้ฟังปราศรัยหาเสียง ตอบว่า เอา) เอาไหม (เสียงผู้ฟังปราศรัยหาเสียง ตอบว่า เอา)”

จากกรณีข้างต้น นายธิวัชร์ ดำแก้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคก้าวไกล ขอให้ กกต. ดำเนินการดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบว่าเนื้อหาของการปราศรัยหาเสียงดังกล่าวโดย ร.อ.ธรรมนัส ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 73 (1) ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวิธีการ (1) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด หรือไม่ ตลอดจนมีการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือการกระทำอันอาจเป็นเหตุให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมหรือเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

  1. ตรวจสอบว่าคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ มีการกระทำอันอาจฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 22 ที่กำหนดให้ คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลมิให้สมาชิกกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการ ประกอบกับเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลมิให้สมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการในลักษณะที่อาจทำให้การเลือกตั้งหรือการเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากการปราศรัยหาเสียงในวัน เวลา ข้างต้น กระทำโดย ร.อ.ธรรมนัส ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ โดยในเวทีปราศรัยหาเสียงข้างต้น ปรากฏกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐร่วมรับฟังการปราศรัยหาเสียงอยู่ด้วย จึงเป็นกรณีที่ปรากฏพฤติการณ์อันอาจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการ ปรากฎต่อกรรมการบริหารพรรค ซึ่งคณะกรรมการบริหารพรรคต้องมีมติหรือสั่งการให้สมาชิกยุติการกระทำนั้นโดยพลัน จึงขอให้ท่านดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน ว่าคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐมีการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 22 ข้างต้นหรือไม่

ด้าน นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ให้ความเห็นต่อไปว่า เนื้อหาการปราศรัยนี้แสดงให้เห็นทัศนะทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐอย่างชัดเจน การรณรงค์ให้ประชาชนเลือกผู้สมัครที่เป็นคนใหญ่คนโต เป็นคนร่ำรวยมีเงิน มากกว่าจะเลือกผู้สมัครที่เป็นคนธรรมดา ด้วยเหตุผลว่า คนที่มีเงิน มีอำนาจ มีอิทธิพล จะสามารถดูแลพี่น้องประชาชนได้ดีมากกว่า กลายเป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบผู้มีอิทธิพลที่กีดกันคนธรรมดาออกจากพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง และมองว่าประชาชนคนธรรมดาเป็นกลุ่มคนที่ต้องคอยมีผู้มีอิทธิพลมาคอยดูแลตลอดเวลา กล่าวได้ว่านี่คือการเมืองที่ผู้มีอิทธิพลมองว่าตัวเองคือผู้ปกครองประชาชน

สำหรับพรรคก้าวไกลเราเชื่อมั่นว่าการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของคนร่ำรวย ผู้ดีมีชาติตระกูล หรือผู้มีอิทธิพลเท่านั้น แต่การเมืองคือเรื่องของประชาชนทุกคน ดังนั้นเองคนธรรมดาสามัญก็สามารถเป็นผู้แทนประชาชนในสภาได้เช่นกัน เพราะหัวใจสำคัญของการเป็นผู้แทนราษฎรคือการเป็นผู้รับใช้ประชาชนและมุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีกว่า ไม่ทรยศประชาชน และพร้อมต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ยอมรับสิ่งที่ผิดบิดเบี้ยวในสังคม นี่คือความแตกต่างของทัศนะและจุดยืนทางการเมืองระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคก้าวไกลอย่างชัดเจน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า