Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มติสภาฯ  ไม่เห็นด้วย ‘ก้าวไกล’ เสนอญัตติประชามติ จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เช้าวันนี้ (25 ต.ค. 66) ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม มีการเสนอญัตติ เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอโดย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล

โดยสรุปนายพริษฐ์ แถลงเหตุผลว่า แน่นอนความเห็นของญัตตินี้ไม่สามารถรับรองความสำเร็จของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ความสำเร็จของญัตตินี้จะเป็นกระดุมเม็ดแรกที่สำคัญ ในการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

แม้วันหนึ่งในอนาคต หลายพรรคการเมืองอาจจะเห็นตรงกันว่าเราต้องเดินหน้าด้วยการจัดทำประชามติ แต่ปีศาจอยู่ในรายละเอียดเสมอ และรายละเอียดสำคัญคือคำถามที่จะถูกถามในประชามติ สิ่งที่เสนอวันนี้ ควรใช้คำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า ประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ฉบับปัจจุบัน โดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน?”

ตนเข้าใจว่ารัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาการทำประชามติ มีกรรมการกว่า 30 คน มารับฟังความเห็นที่หลากหลาย แต่อย่าลืมว่า สภาฯ แห่งนี้ต่างหาก ไม่ใช่คณะกรรมการศึกษาฯ ที่มีตัวแทนของประชาชน ที่เข้ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และเข้ามาตามสัดส่วนของชุดความคิดต่างๆ ของสังคมจริงๆ

หากคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะใช้วิธีออกมติครม. ด้วยตนเอง เพื่อจัดประชามติ ท้ายสุดแล้วรัฐบาลจะฟังหรือไม่ฟังเรา จะทำตามหรือไม่ทำตามความเห็นเราก็เป็นสิทธิของรัฐบาล หรือหากจะหวังพึ่งกลไกจากภาคประชาชนเสนอไปยัง ครม. แต่กลไกนี้ครม.ก็ยังมีอำนาจชี้ขาดว่าจะอนุมัติข้อเสนอจากภาคประชาชนหรือไม่ แต่หากเป็นกลไกสภาฯ แล้ว 2 สภาฯ เห็นตรงกันจนเป็นฉันทานุมัติจาก 2 สภาฯ แม้เป็นเรื่องยาก แต่หากเกิดขึ้นจริง พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 9 (4) ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ครม. จะต้องดำเนินการจัดประชามติ ตามข้อเสนอของตัวคำถามที่ได้รับความเห็นชอบจาก 2 สภาฯ ไม่ว่าครม.จะเห็นด้วยหรือไม่ กับข้อเสนอและตัวคำถามดังกล่าว

นายพริษฐ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า เพื่อให้เราเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชน ที่เริ่มต้นจากการให้ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจโดยตรง ผ่านคูหาประชามติว่าพวกเขาเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ตนจึงจำเป็นขอแรงสนับสนุนจากเพื่อนๆ สมาชิกทุกพรรคในการลงมติเห็นชอบกับญัตตินี้ เพื่อยืนยันร่วมกันว่าผู้แทนราษฎรทุกคน ในสภาฯ แห่งนี้พร้อมแล้ว ที่จะติดกระดุมเม็ดแรกในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เราพร้อมแล้วที่จะนับหนึ่งสู่การฟื้นฟูประชาธิปไตย และเราพร้อมแล้วที่จะสร้างฉันทามติใหม่ของประเทศที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โอบรับความฝันของประชาชน

จากนั้น ประธานได้เปิดให้ สส.ฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายค้าน อภิปราย โดย สส.ฝ่ายรัฐบาล ได้ลุกขึ้นอภิปรายญัตตินี้ 15 คน ย้ำการแก้รัฐธรรมนูญ ไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 ซึ่งคำถามประชามติตามญัตติที่เสนอยังมีข้อกังขา อีกทั้งรัฐบาลก็กำลังดำเนินการ มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว อาทิ

นายทรงยศ รามสูต สส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายโดยสรุปว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่เป็นประชาธิปไตย สมควรจะต้องมีการแก้ไข แต่ยังถกเถียงกันคือจะแก้หมวดไหนบ้าง ตอนนี้ยังเถียงกันอยู่โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 ความเห็นยังต่าง ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่เสนอให้แก้ทั้งฉบับ รวมถึงที่มาของ สสร. ว่ามาจากไหนบ้าง อีกทั้งการทำประชามติ ต้องใช้งบประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท ดังนั้นเราต้องรอบคอบ เงินภาษีของประเทศ เพราะการทำประชามติต้องไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้ตั้งคณะกรรมการมาศึกษาอย่างรอบคอบ

น.ส.จิราพร สินธุไพร สส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย อภิปรายโดยสรุปว่า ในหลักการใหญ่เห็นด้วยกับการจัดทำประชามติ และและเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 ให้เป็นประชามติ แต่คำถามประชามติในญัตตินี้คือ คำว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ มีข้อสังเกตว่าอาจขัดต่อคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ซึ่งพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล อีกทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้มีเรื่องต้องถกว่า การทำประชามติต้องทำกี่รอบกี่ครั้ง การทำประชามติจึงต้องการความรอบคอบและรัดกุม และการจัดทำประชามติครั้งนี้ไม่ได้ง่ายเหมือนปี 40 เพราะการทำประชามติ รัฐธรรมนูญ 60 ต้องทำแบบ เสียงข้างมาก 2 ระดับ ระดับที่ 1 ประชาชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ และระดับที่ 2 ต้องได้เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ แต่ว่าบรรยากาศการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปีนี้กับเมื่อหลายปีก่อน มันไม่เหมือนกัน ดังนั้นการกำหนดคำถาม ส่งผลอย่างยิ่งต่อการทำประชามติ ต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้การทำประชามติไม่ผ่าน

“ตั้งแต่มีการอภิปรายมา ดิฉันยังไม่เห็นว่ามีสมาชิกท่านไหนไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ และถ้าถามว่า มีพรรคการเมืองไหนต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 60 มากที่สุด ดิฉันมั่นว่า พรรคเพื่อไทยจะเป็นพรรคอันดับต้นๆ ที่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้อย่างแน่นอน แต่เมื่อพิจารณาคำถามประชามติตามญัตตินี้เห็นว่ายังมีข้อคิดที่ต่างกันอยู่มาก หากมีมติออกมาว่าดิฉันไม่เห็นด้วยกับญัตติฉบับนี้ก็ไม่ได้หมายความดิฉันไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ หรือไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ดิฉันไม่เห็นด้วยเพราะว่ามีข้อกังขากับ คำถามการทำประชามติที่ระบุไว้… ” น.ส.จิราพร กล่าว

หลังการอภิปรายนานกว่า 3 ชั่วโมง ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้ให้สมาชิกลงมติ ญัตติ เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอโดย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในเวลา 15.29 น. วันนี้ (25 ต.ค. 66)

ผลการลงมติ เห็นด้วย 162 เสียง ไม่เห็นด้วย 261 (+1) = 262 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง จากจำนวนผู้ลงมติ 429 คน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า