Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

1 กรกฎาคม วันที่เด็กหลายคนตั้งตารอ เพื่อกลับไปเรียน หลังปิดเทอมยาวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็มีเด็กอีกจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ได้กลับไปเรียนเหมือนคนอื่นเพราะครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

นางสาวทิพาวัลย์ ไกรษรวงษ์ หรือ ตอง อายุ 15 ปี ชาว จ.สุพรรณบุรี คือหนึ่งในนักเรียนที่ไม่ได้กลับไปเรียนต่อชั้น ม.4 แม้จะไปสมัครเรียนโรงเรียนใหม่มาแล้ว แต่ก็ไม่สามารถเข้าเรียนได้เหมือนคนอื่น เธอเล่าว่า มีแผนไปต่อสายวิทย์-คณิต เพื่อจะไปเรียนพยาบาล แต่ยังไม่มีทุนที่จะเรียน อาจจะได้เรียนหรือไม่ได้เรียนก็ยังไม่รู้ เพราะว่าไม่รู้ว่าเงินเดือนแม่จะพอให้จ่ายค่าธรรมเนียม ค่าชุดนักเรียนใหม่หรือไม่ เพราะลำพังรายได้จากงานรับจ้างในโรงงานของแม่ก็แทบไม่พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสำหรับ 2 ชีวิตแล้ว

นางสาวธัญญารัตน์ มณีวงษ์ แม่ของทิพาวัลย์ ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานแห่งหนึ่ง ปกติรับค่าจ้างทุก ๆ 15 วัน จะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 บาท แต่ช่วงที่โควิด-19 ระบาด งานที่เคยไปทำทุกวันก็กลับทำวันเว้นสองวัน รายได้ครึ่งเดือนเหลืออยู่เพียงแค่ประมาณ 1,000 เท่านั้น เธอบอกว่าอยากให้ลูกได้เรียนต่อ ได้ทำตามความฝัน เพื่ออนาคตจะไม่ลำบากแต่ครั้งนี้ไม่มีเงินให้ลูกเลยจริง ๆ แต่ก็จะพยายามจนถึงที่สุด เพื่อให้ลูกได้กลับไปเรียน

ความกังวลใจของสองแม่ลูกที่เล่าให้ทีมข่าว workpointTODAY ฟัง คือเรื่องค่าธรรมเนียมแรกเข้าชั้น ม.4 ค่าชุดนักเรียน ชุดพละ ชุดเนตรนารี ที่เปลี่ยนใหม่ทั้งหมด รวมแล้วน่าจะต้องมีเงินมากกว่า 3,000 บาท

ปัญหาแบบนี้ไม่ได้เกิดกับเฉพาะทิพาวัลย์ แต่จากการสำรวจข้อมูลเด็กนักเรียนรอยต่อ จบ ป.6 และ ม.3 ร้อยละ 60 (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มิ.ย.63) โดยสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. พบว่า มีเด็กไม่ไปสมัครเรียนต่อ 3,180 คน เพราะต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน ร้อยละ 57 รองลงมาคือ มีปัญหา ทางการเรียน ครอบครัว สุขภาพ ขาดแคลนทุนทรัพย์ ร้อยละ 31 , ไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ร้อยละ 10 ,ไม่มีค่าเดินทางไปสมัครเรียน ร้อยละ 2 ซึ่งเด็กเหล่านี้ เสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดเผยว่า ผลสำรวจนี้เพิ่งเข้ามาแค่ ร้อยละ 60 อาจจะมีจำนวนมากกว่านี้อาจจะถึง 10,000 คนก็ได้ และนี่ก็ยังไม่ได้รวมถึงเด็ก ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 หรือว่า ม.2 หรือว่า ม.1 ด้วยซ้ หากรวมแล้วอาจจะมีเกือบถึง 10,000 คน ซึ่งสถานการณ์นี้ เรียกว่า เป็นสถานการณ์ปัญหาเชิงระบบ การสื่อสารระหว่างโรงเรียนที่อาจจะยังทำได้ไม่เต็มที่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อีกกลุ่มก็คือเด็ก ม.3 ที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้ว แต่ใจก็ยังอยากเรียนอาชีวะ อยากเรียน ม.4 ข้อมูลตรงนี้โรงเรียนต้นทางก็ไม่ทราบโรงเรียนปลายทางก็ไม่ทราบว่าเด็กจะไปเรียนที่ไหน ทำให้เกิดช่องว่างทำให้เด็กมีโอกาสหลุดจากระบบการศึกษา

ดร.ไกรยส ระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลมีนโยบายให้เรียนฟรี 15 ปี แต่ผู้ปกครองยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย “ยกตัวอย่างแค่ค่าเครื่องแบบก็ไม่ใช่ทั้ง 5 วัน ค่าอุปกรณ์การเรียนก็ไม่ใช่ทุกสิ่งอันที่เด็กจะใช้ในแต่ละวัน แล้วผู้ปกครองจะต้องดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือ อันนี้มันทำให้เห็นช่องว่างระหว่างรายได้และรายจ่ายของผู้ปกครอง อันนี้แค่การศึกษาอย่างเดียวนะ ไม่ได้รวมรายจ่ายอื่น ๆ ของครอบครัว ค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเช่าบ้าน หนี้สิน หรือว่าอะไรเหล่านี้ เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายเหล่านี้มันจึงมีสูงกว่ารายได้ ค่าใช้จ่ายที่สูงอาจจะนำไปสู่การเกิดหนี้สินเพิ่มเติม”

นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้หลายธุรกิจหยุดชะงัก มีเด็กนักเรียนส่วนหนึ่ง ติดตามพ่อแม่ที่ตกงานกลับภูมิลำเนา และยังไม่มีแผนเดินทางกลับมาทำงาน ก็ทำให้เกิดความไม่แน่นอนว่าเด็กจะได้เรียนที่เดิม หรือย้ายไปเรียนที่ใหม่หรือไม่

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา กสศ.

หากวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ การปล่อยให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ก็เท่ากับสร้างความเสียหายให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา กสศ. กล่าวว่า ถ้าหากไม่ได้มีการแก้ไขที่มากพอ ก็น่าจะรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาก็มีงานวิเคราะห์ของยูเนสโก ที่บอกว่าสถานการณ์ที่เด็กออกนอกระบบในประเทศไทย มันทำให้เกิดความเสียหายกับระบบเศรษฐกิจกี่เปอร์เซ็นต์ ก็มีการวิเคราะห์เป็นตัวเลขพบว่าถึงแสนล้านเหมือนกัน หรือคิดเป็น 1-2 เปอร์เซ็นต์ของ GDP  เมื่อเกิดโควิด-19 ความน่าจะเป็นที่จะหลุดออกนอกระบบก็เพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศแน่นอน และการลงทุนกับการศึกษาตั้งแต่ต้น การที่เราป้องกันไม่ให้เด็กออกนอกระบบ ย่อมถูกกว่าการที่เมื่อเขาออกไปนอกระบบแล้ว แล้วเราไปคอยติดตาม ซึ่งพบว่าเป็นเรื่องยากมาก และถ้าเรามองในแง่ของความเจริญทางเศรษฐกิจ เรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องที่ทั่วโลกทำกันในการศึกษา ซึ่งการลงทุนเพื่อนการศึกษาถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่ควรจะลงทุน ควรจะเป็นความสำคัญอันดันต้นๆ ที่จะเกิดหลังมีการเปิดภาคเรียนครั้งใหม่นี้ จะเป็นภาคเรียนที่จะมีเด็กออกนอกระบบมากที่สุด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า