Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินสงครามรัสเซีย-ยูเครน ถ้ายืดเยื้ออาจส่งผลให้ไทยเจอเงินเฟ้อหนักสุดในรอบ 14 ปี

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบ กำลังกลายเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย

อย่างที่หลายคนติดตามข่าว ตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครน หลายประเทศตะวันตกตอบโต้รัสเซียด้วยมาตรการคว่ำบาตร

ซึ่งเบื้องต้นมุ่งไปที่การยึดอายัดทรัพย์สินของคนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย, อายัดทรัพย์สินของธนาคารบางแห่ง, ตัดสิทธิการซื้อขายตราสารหนี้ของธนาคารดังกล่าวในตลาดการเงินสหรัฐฯ และยุโรป

มาตรการคว่ำบาตรยังรวมไปถึงการตัดธนาคารบางแห่งออกจากระบบ SWIFT และตัดธนาคารกลางของรัสเซียไม่ให้ทำธุรกรรมสกุลเงินดอลลาร์

การคว่ำบาตรเหล่านั้นทำให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าอย่างรุนแรง และจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยและอาจเจอความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อและการผิดนัดชำระหนี้

แต่ถึงอย่างนั้น มาตรการเหล่านี้อาจยังไม่พอที่จะทำให้รัสเซียหยุดรุกราน เพราะเศรษฐกิจประเทศตะวันตกต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอย่างมาก

ซึ่ง KKP Research มองว่า ถ้าจะคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม ก็มีความเป็นไปได้ที่ประเทศตะวันตกจะนำมาตรการคว่ำบาตรทางพลังงานมาใช้

โดยตอนนี้ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษก็ประกาศแบนน้ำมันจากรัสเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ถามว่าการคว่ำบาตรทางพลังงานจะส่งผลอย่างไร?

หลักๆ เลยคือทำให้ราคาพลังงานทั้งในยุโรปและโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก หากรัสเซียตัดสินใจตอบโต้ด้วยการลดอุปทานของน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ

Bank of America ประเมินว่า ทุกๆ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันที่หายไป อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ดังนั้น ถ้าหากน้ำมันดิบจากรัสเซียถูดตัดขาดจากตลาดโลก อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 100 ดอลลาร์เป็น 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

และนั่นก็จะกระทบเศรษฐกิจโลกค่อนข้างรุนแรงจาก ทั้งปัจจัยด้านราคา และอาจเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบในระยะสั้น กระทบภาคการผลิตที่อาจหยุดชะงัก

แล้วไทยกระทบไหม?

KKP Research ประเมินว่าสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนจะมีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นแรงที่สุดในรอบมากกว่า 10 ปี

โดยผลกระทบจากสงครามจะกระทบเศรษฐกิจไทยใน 3 ช่องทางหลัก คือ

1.การส่งออกของไทยอาจขยายตัวได้น้อยกว่าที่ประเมินไว้

แม้ไทยจะส่งออกไปรัสเซียและยูเครนในสัดส่วนที่น้อยมาก คือ รวมกันประมาณ 0.7% ของการส่งออกทั้งหมด

แต่การส่งออกไปยังยุโรปที่มีสัดส่วนกว่า 10% จะได้รับผลกระทบหากเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว

นอกจากนี้ ผลกระทบที่น่ากังวลมากที่สุดจะเกิดจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ จากการหยุดชะงักของการค้าระหว่างไทยกับรัสเซียและยูเครน

ส่งผลให้บางภาคการผลิตต้องหยุดกิจการ โดยกลุ่มสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและธัญพืช

2.อัตราเงินเฟ้อในปี 2022 อาจปรับตัวสูงขึ้นเกิน 4% ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับสูงขึ้นจากความขัดแย้งครั้งนี้

KKP Research ประเมินว่า ในช่วงที่เหลือของปี ราคาน้ำมันดิบจะสูงเกิน 110 ดอลลาร์สหรัฐ บนสมมติฐานที่ว่าประเทศตะวันตกจะมีการลดการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์จากรัสเซียลงบางส่วน

และคาดว่ายังมีโอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยจะสูงเกิน 130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ในสถานการณ์ที่สงครามมีความรุนแรงและยืดเยื้อกว่าคาด

ยิ่งเมื่อนับรวมกับปัญหาราคาอาหารสดและอาหารนอกบ้านที่แพงขึ้นก่อนหน้านี้ จะทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2022 ของไทยสูงขึ้นเกิน 4%

เป็นตัวเลขที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2008 หรือสูงที่สุดในรอบ 14 ปี และจะส่งผลกลับมากระทบการบริโภคให้ชะลอตัวลง

3.นักท่องเที่ยวอาจเดินทางมาน้อยกว่าที่ประเมินไว้ เกิดจากนักท่องเที่ยวรัสเซียที่จะเดินทางมาได้น้อยลง

โดยในช่วงที่ต้นปี 2022 นักท่องเที่ยวรัสเซียเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาไทยมากที่สุด คิดเป็นประมาณเกือบ 10% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด

ยิ่งไปกว่านั้น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะเพิ่มต้นทุนการเดินทางระหว่างประเทศ และทำให้อุปสงค์ต่อการท่องเที่ยวลดลงด้วย

ผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง คือ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีโอกาสขาดดุลอีกครั้งในปีนี้

จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และไทยนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูง รวมถึงนักท่องเที่ยวที่จะกลับมาได้น้อยกว่าที่คาดไว้ ก็ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีโอกาสขาดดุลเพิ่มเติมนั่นเอง

แต่ถึงอย่างนั้น สงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ยังมีหลายทางออกที่เป็นไปได้

ซึ่ง KKP Research ประเมินว่าในปัจจุบัน มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่สถานการณ์จะเข้าสู่กรณีที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยได้

และเหตุการณ์นี้นับเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะ Stagflation อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า