Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการแพทย์ ให้ความรู้เรื่องอาการปวดหัว ชี้ ‘สายรัดศีรษะ’  ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้เล็กน้อยเท่านั้น

วันที่ 11 ก.พ. 2565 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงอาการปวดหัวว่า สิ่งสำคัญคือการสังเกตอาการปวดหัวของตัวท่านและคนในครอบครัวเองว่า ลักษณะอาการปวดหัวนั้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบไปรับการตรวจรักษามากน้อยเพียงใด โดยอาการที่ถือเป็นสัญญาณเตือนอาการปวดหัวที่ต้องรีบไปรับการตรวจรักษา ได้แก่ อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในผู้สูงอายุ หรืออายุเกิน 50 ปี โดยไม่เคยปวดลักษณะนี้มาก่อน อาการปวดที่เกิดขึ้นทันทีทันใดและรุนแรงมาก อาการปวดหัวร่วมกับความผิดปกติทางระบบประสาท อาทิ เห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด แขนขาชาหรืออ่อนแรง หน้าเบี้ยว มุมปากตก เดินเซ ทรงตัวไม่ได้ พูดลำบาก พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจหรือพูดไม่ออก มีอาการชักเกร็ง มีไข้ คอแข็ง ก้มเงยคอไม่ได้ เนื่องจากเจ็บหรือปวดมากๆ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย อาการปวดหัวในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งที่อวัยวะอื่นๆ มีอาการปวดหัวร่วมกับตาแดง ตามัว หรือมองเห็นภาพแคบลงหรือเปลี่ยนแปลงไป อาการปวดหัวเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งความถี่ และความรุนแรง รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น อาการปวดหัวเฉพาะที่ ไม่มีการย้ายตำแหน่ง ปวดที่เดิมตลอด เป็นต้น

นายแพทย์ธนินทร์  เวชชาภินันท์  ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าอาการปวดหัวนั้นเกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อาทิ ภาวะเครียดจากงานหรือสภาพจิตใจ อุณภูมิร้อนหรือเย็นเกินไป สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังหรือวุ่นวาย การทำกิจกรรมที่มากหรือหนักเกินไป หรือปวดหัวจากโรคกลุ่มไมเกรน ซึ่งอาการปวดหัวจากโรคในกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยรุนแรง แต่อาจรบกวนการทำกิจวัตประจำวันเป็นแต่ละครั้งอาจจะหายเร็วหรือช้าแตกต่างกันไป ตำแหน่งมักจะกินพื้นที่ของบริเวณศีรษะค่อนข้างมาก หรือมีการเปลี่ยนย้ายตำแหน่งของอาการปวดไปตามส่วนต่างๆ ของศีรษะ บางครั้งซ้าย บางครั้งขวา เป็นต้น

หากท่านหรือคนในครอบครัวมีอาการปวดหัวร่วมกับสัญญาณเตือน ควรรีบไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลทันที แต่หากมีอาการปวดโดยปราศจากสัญญาณอันตรายข้างต้น แต่เข้าได้กับอาการปวดที่มีเหตุและปัจจัยกระตุ้นชัดเจน อาจจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงเหตุดังกล่าว และสามารถรับประทานยาแก้ปวด รอสังเกตอาการ หรือบางท่านอาจจะเลือกใช้วิธีการบีบนวดศีรษะ ฝังเข็ม ฟังดนตรีผ่อนคลาย ก็อาจจะช่วยลดหรือบรรเทาอาการได้ในบางสาเหตุของอาการปวด

ส่วนกรณีการใช้ สายรัดศีรษะ อาจจะบรรเทาอาการปวดเล็กน้อย จากการปวดหัวในกลุ่มที่ปวดจากความเครียดได้ คล้ายการบีบนวดศีรษะเบาเทาอาการ โดยไม่ได้อาศัยกลไกในการออกฤทธิ์ใดๆ แต่ปัจจุบัน มีวิธีการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 โดยใช้แผ่นคาดศีรษะที่มีการใช้ไฟฟ้าขนาดน้อยๆ กระตุ้นเส้นประสาทดังกล่าว เพื่อลดการทำงานที่มากเกินไปหรือผิดปกติ เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวจากไมเกรนได้

แต่ยังไม่ได้มีประสิทธิภาพที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอื่นๆ และราคายังค่อนข้างสูง หากจะเลือกใช้วิธีการรักษาใด ควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนรวมถึงความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา แต่ดีที่สุดคือการเข้ารับการตรวจรักษาและข้อรับคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า